ผลกระทบของการเติมโคบอลต์ออกไซด์ และพาซิโอไดเมียมออกไซด์ต่อสมบัติการดูดกลืนแสงของแก้วกรองแสง

ผู้แต่ง

  • เอกรัฐ มีชูวาศ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วนิดา แสงจันทร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • อุสุมา นาคนิคาม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • กนิษฐ์ ตะปะสา กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.201

คำสำคัญ:

แก้วกรองแสง, เลนส์, พาซิโอไดเมียม, การดูดกลืนแสง

บทคัดย่อ

แก้วกรองแสงสําหรับป้องกันสายตาจากการขึ้นรูปแก้วด้วยเปลวไฟ สามารถเตรียมได้จากการเติมธาตุที่มีคุณสมบัติการดูดกลืนแสง ในช่วงที่ตามองเห็น (Visible light) และอินฟราเรด (Infrared) จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า แก้วกรองแสงสําหรับการขึ้นรูปแก้วด้วยเปลวไฟที่จําหน่ายในท้องตลาดมีการเติม โคบอลต์ออกไซด์ (CoO) และสารประกอบของธาตุหายาก (Rare earth) ดังนั้นจึงทําการทดลองเตรียมแก้วกรองแสงจากการเตรียมแก้วใสที่มีองค์ประกอบทางเคมีเช่นเดียวกับแก้วที่ใช้ทํา เลนส์ เติมด้วย โคบอลต์ออกไซด์ (CoO) ร้อยละ 0.02 0.04 และ 0.15 โดยน้ำหนัก ร่วมกับ พาซิโอไดเมียมออกไซด์ (Pr2O3) ร้อยละ 0.5 0.8 1.2 2.4 3.6 และ 4.8 โดยน้ําหนักต่อ 100 กรัมแก้ว เมื่อนําแก้วไปทดสอบค่าการส่องผ่านแสงด้วยเครื่อง UVWis spectrophotometer พบว่าสามารถดูดกลืนแสงในช่วงอัลตราไวโอเลต/ ช่วงตามองเห็นและอินฟราเรด ได้ในตําแหน่งใกล้เคียงกับแก้วต้นแบบที่ช่วงความยาวคลื่น 250-2500 นาโนเมตร โดยแก้วที่มีโคบอลต์ออกไซด์ ร้อยละ 0.15 โดย น้ำหนัก และ พาซิโอไดเมียมออกไซด์ ร้อยละ 4.8 โดยน้ําหนัก มีค่าการส่องผ่านแสงที่ความยาวคลื่น 594 นาโนเมตร ลดลงจากเดิมเหลือเพียงร้อยละ 10.7 และที่ ความยาวคลื่น 1620 นาโนเมตร เหลือเพียงร้อยละ 59.3 ผลการทดลองนี้สามารถนําแก้วกรองแสงที่ได้มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์กรองแสงสําหรับการขึ้นรูปแก้วด้วย เปลวไฟต่อไป

References

Light Hazard [online]. [viewed 15 February 2017]. Available from: http://multimedia.3m.com/mws/mediawebserver?mwsId=SSSSSUH8gc7nZxtU5x_SmxtBevUqe17zHvTSevTSESSSSSS-&fn=Light%20Hazards%20Tech%20Bulletin%20GB.p

Eyewear [online]. [viewed 15 February 2017]. Available from: https://www.arrowsprings.com/html/eyewear.html

ORIOWO, O. M., B. R. CHOU and A. P. CULLEN. Eye exposure to optical radiation in the glassblowing industry: An investigation in Southern Ontario. Canadian Journal of Public Health. 2000, 91(6), 471 - 474.

MOSS, C. E. and N. C. BURTON. Health Hazard Evaluation Exposures During Glass Beadmaking. Health Hazard Evaluation Report No.98-0139-2769. New York: The Society of Glass Beadmakers, 1999.

Hayakawa, J. Optical properties of glass, Glass technology. Osaka international training center. Japan international cooperation agency.

DOREMUS, R. H. Glass science. 2nd ed., New York: Wiley, 1994, 339 p.

Uvex Lens Technology [online]. [viewed 15 February 2017]. Available from: https://www.scribd.com/document/295509204/Uvex-Lens-Technology-Brochure

กราฟการส่องผ่านแสงของแก้วกรองแสง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

มีชูวาศ เ., แสงจันทร์ ว., นาคนิคาม อ., & ตะปะสา ก. (2022). ผลกระทบของการเติมโคบอลต์ออกไซด์ และพาซิโอไดเมียมออกไซด์ต่อสมบัติการดูดกลืนแสงของแก้วกรองแสง . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 32–37. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.201