ผลกระทบของการสั่นสะเทือนต่อเครื่องชั่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการที่มีความละเอียดและน้ำหนักซึ่งแตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • จิตตกานต์ อินเที่ยง กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วีระชัย วาริยาตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สมโภชน์ บุญสนิท กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • พลับพลึง นาคเกิด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.199

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาผลกระทบการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านค่าของเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการที่มีค่าความละเอียดและน้ำหนักที่ ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อจัดทําเป็นแนวทาง (guideline) สําหรับการติดตั้งเครื่องชั่งในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือน ส่งผลให้ใช้งานเครื่องชั่งได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยทําการทดลองกับเครื่องชั่งที่มีค่าความละเอียด 0.01 g, 0.001 g, 0.0001 g, 0.00001 g และ 0.000001 g และที่ค่าน้ำหนักที่ชั่งแตก ต่างกัน ระบบที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยโต๊ะลดการสั่นสะเทือนสําหรับวางเครื่องชั่งเพื่อใช้ลดผลกระทบของการสั่นสะเทือนที่มาตามพื้นผิวห้อง ตัวสร้างการสั่น สะเทือน (Exciter) ใช้ป้อนสัญญาณการสั่นสะเทือน และหัว probe วัดความเร่ง (Accelerometer) เพื่อใช้วัดระดับการสั่นสะเทือน โดยทําการวิเคราะห์หาค่าความถี่ ธรรมชาติของระบบเครื่องชั่ง (Hz) และค่าแอมปลิจูดการสั่น ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการอ่านค่าของเครื่องชั่ง สําหรับเครื่องชั่งที่มีค่าความละเอียดแตกต่างกัน พบว่าส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในย่านความถี่สูง (มากกว่า 400 Hz) ยกเว้นเครื่องชั่งความละเอียด 0.01 g ที่ได้รับผลกระทบที่ค่าความถี่ 30 Hz ซึ่งอยู่ในช่วงเดียว กับแหล่งกําเนิดแรงสั่นสะเทือนส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการ เช่น มอเตอร์เครื่องปรับอากาศ ที่มีค่าความถี่อยู่ในช่วงประมาณ 30 Hz ถึง 50 Hz และในส่วนของ ค่าแอมปลิจูดของการสั่นมีค่าอยู่ที่ 0.3 m/s ถึง 0.7 m/s ในส่วนของเครื่องชั่งที่มีค่าน้ำหนักที่ชั่งแตกต่างกันพบว่าเครื่องชั่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบที่ค่าความถี่ เท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มาก ณ น้ำหนักชั่งใด ๆ ในช่วงค่าความสามารถในการชั่งสูงสุดของเครื่องชั่ง ดังนั้นค่าน้ำหนักไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อค่าความถี่ธรรมชาติของระบบเครื่องชั่ง

References

STANESCU, M. and CA. MICU. Influencing factors for the measuring results. Error sources and some possibilities to reduce for those errors. Fascicle of Management and Technological Engineering. 2008, VII(XVII), 1077-1084.

WEYHE, S. Weighing Technology in the Laboratory: Technology and Applications. Goettingen: Sartorius, 1997, pp. 12-13.

SCHWARTZ, R., M. BORYS and F. SCHOLZ. PTB-MA-80e: Guide to mass determination with high accuracy. Braunschweig: PTB, 2007, pp. 25, 34-35.

MORRIS, EC. and KMK, FEN. The Calibration of Weights and Balances. Sydney: CSIRO, 2003, pp. 115.

GLÄSER, M. PTB-MA-52: Advices for the calibration of mass standards. Braunschweig: PTB, 1997, pp. 22.

BRITISH STANDARDS INSTITUTION. Metallic materials - Vickers hardness test: Calibration of reference blocks. BS 6507 Part 3. 2005, pp. 4.

SANPONPUTE, T. and A. MEESAPLAK. Vibration effect on Vickers hardness measurement. IMEKO 2010 TC3, TC5 and TC22 Conferences Metrology in Modern Context, November, 2010, pp. 145-149.

SANPONPUTE, T. and A. MEESAPLAK. Vibration effect on Rockwell scale hardness measurement. XIX IMEKO World Congress Fundamental and Applied Metrology, September, 2009, pp. 1006-1010.

UNITED KINGDOM ACCREDITATION SERVICE. Calibration of Weighing Machines. UKAS LAB14. 2015.

Non- automatic weighing instrument, Part 1: Metrology and technical requirements - Test, ОIML R 76-1.

ระบบทดสอบผลกระทบของการสั่นสะเทือนต่อประสิทธิภาพของเครื่องชั่ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

อินเที่ยง จ., วาริยาตร์ ว., บุญสนิท ส., & นาคเกิด พ. (2022). ผลกระทบของการสั่นสะเทือนต่อเครื่องชั่งที่ใช้ในห้องปฏิบัติการที่มีความละเอียดและน้ำหนักซึ่งแตกต่างกัน . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 6(6), 24–31. https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.199