กรณีศึกษาสถานภาพด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีแห่งหนึ่ง
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.197คำสำคัญ:
ห้องปฏิบัติการ, ความปลอดภัย, โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบทคัดย่อ
กรณีศึกษาครั้งนี้เป็นการสํารวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงงานอุตสาหกรรมเคมีเอกชนแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับสถานภาพด้านความปลอดภัย โดยเน้นไปที่การได้รับการฝึกอบรม การปฏิบัติงานของบุคลากร และระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นตัวอย่างการนําผลการสํารวจไป ประกอบการพิจารณาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงความปลอดภัยขององค์กร งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยสอบถามความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการของโรงงานานวน 205 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยก่อนการเข้าทํางานในห้องปฏิบัติการ โดยได้รับความรู้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร และยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในหน่วยงานเพื่อป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่มีการนําความรู้ด้านการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) และนําเอกสารข้อมูล ความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) มาใช้ในการทํางาน และมีความเห็นว่าองค์กรมีระบบการจัดการความปลอดภัยที่ดี อย่างไรก็ดี แม้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จะผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย และคิดว่าองค์กรมีระบบการจัดการความปลอดภัยที่ดี แต่ยังมีเจ้าหน้าที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานรักษาพยาบาล ข้อเท็จจริงนี้ สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรยังต้องมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยต่อไป โดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการคิดว่าองค์กรควรมีการอบรมทบทวนให้ความรู้ และเสริมความเข้าใจเชิงลึกด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างวัฒนธรรมและความตระหนักด้านความปลอดภัยแก่บุคลากรโดยเฉพาะเรื่องสารเคมี มีการประเมินความเสี่ยงโดยอาจทําการสํารวจในทํานองเดียวกันนี้อยู่เป็นระยะ ๆ อีกทั้ง ควรมีการปรับปรุงแนวปฏิบัติเดิมให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยดําเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และเกิดการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ หน่วยงานอื่นที่มีห้องปฏิบัติการที่มีลักษณะของการทำงานคล้ายคลึงกัน สามารถดําเนินการสํารวจในลักษณะเดียวกัน หรืออาจทําการสํารวจเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อนําผลที่ได้ไปประกอบการพิจารณาหาแนวทางการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมความปลอดภัยในการทํางานในห้องปฏิบัติการของตนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป.
References
KEMSLEY, J.N. Learning from UCLA: Details of the experiment that led to a researcher's death prompt evaluations of academic safety practices. Chemical & Engineering News. 87(31), 29-31, 33-34. [online] 3 August 2009 [viewed 27February 2016]. Available from: http://cen.acs.org/articles/87/31/Learning-UCLA.html
DEMATTEO, R., et al. Chemical exposures of women workers in the plastics industry with particular reference to breast cancer and reproductive hazards. New Solutions. 2012. 22(4), 427-448.
EYAYO, F. Evaluation of occupational health hazards among oil industry workers: a case study of refinery workers. IOSR Journal of Environmental Science, Toxicology and Food Technology. 2014. 8(12), 22-53.
วงศ์วรุตม์ บุญญานุโกมล และ จุฬาลักษณ์ บางเหลือ. คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Manual of laboratory safety) ห้องปฏิบัติการกลางสำหรับการเรียนการสอนและวิจัย โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. 2557. [อ้างถึงวันที่ 29 กันยายน 2559]. เข้าถึงจาก: http://www.am.mahidol.ac.th/web/images/research_dept/Manual%20of%20Laboratory%20Safety.pdf
ธรรมรักษ์ ศรีมารุต และคณะ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายผลิต. [ออนไลน์]. 2555. [อ้างถึงวันที่ 29 กันยายน 2559]. เข้าถึงจาก: www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruit/788/1/197-55.pdf
วารุณี พันธ์วงศ์, วารางคณา วิเศษมณี ลี, และ ภัทรพร ยุบลพันธ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณสารตะกั่วในเลือด กรณีศึกษา: โรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ จ.สมุทรปราการ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6, 422-430. [ออนไลน์]. 2558. [อ้างถึงวันที่ 29 กันยายน 2559]. เข้าถึงจาก: journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-01/article/download/137/232 [7] COCHARN, W.G. 1963. Sampling Techniques, 2nd Ed., New York: John Wiley and Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.