การพัฒนาเนื้อดินแดงบ้านป่าตาลให้มีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรง
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.195คำสำคัญ:
ดินแดง, เนื้อดินเบา, เครื่องปั้นดินเผาบทคัดย่อ
รายงานการศึกษาวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเนื้อดินแดงของบ้านป่าตาล ตําบลสันผักหวาน อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใช้สําหรับการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ให้ มีน้ำหนักที่เบาหรือมีความหนาแน่นที่ลดลง โดยเนื้อดินแดงยังคงมีความแข็งแรงเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส การวิจัยได้คัดเลือกวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบเป็นอินทรีย์สาร หรือมีโครงสร้างจุลภาคพรุน รวมถึงมีองค์ประกอบเคมีของธาตุที่มีสมบัติลดอุณหภูมิสุกตัวของเนื้อดิน ได้แก่ แกลบดิบ เถ้าแกลบ ถ่านไม้ และเยื่อกระดาษ เป็นสารเติมลงในดินแดง ผลการศึกษาวิจัยเมื่อใช้สารเติมชนิดแกลบดิบ เถ้าแกลบ ถ่านไม้ และเยื่อกระดาษ เติมลงในดินแดงที่ร้อยละ 5 เผาที่อุณหภูมิ 800 900 และ 1000 องศาเซลเซียส พบว่า การเพิ่มอุณหภูมิของการเผา มีผลให้ การดูดซึมน้ำลดลง การหดตัว ความหนาแน่น และความต้านแรงดัดเพิ่มขึ้น โดยชนิดของสารเติมที่ใช้ มีผลต่อสมบัติกายภาพของเนื้อดินแดงแตกต่างกัน เนื้อดินแดงที่ใช้สารเติมชนิดเถ้าแกลบและถ่านไม้มีสมบัติการหดตัวสูงกว่าดินแดงที่ไม่เติมสารและเนื้อดินแดงที่ ใช้สารเติมชนิดแกลบดิบ และเยื่อกระดาษ สารเติมมีผลให้สมบัติการดูดซึมน้ำของเนื้อดินแดงเพิ่มขึ้น โดยเนื้อดินแดงที่ใช้สารเติมชนิดเยื่อกระดาษมีค่าการดูดซึมน้ำ สูงกว่าการใช้สารเติมชนิดแกลบดิบ เถ้าแกลบ และถ่านไม้ สารเติมมีผลให้ความหนาแน่นของเนื้อดินลดลง เรียงตามลําดับของการใช้สารเติม ดังนี้ แกลบดิบและ เยื่อกระดาษ < ถ่านไม้ < เถ้าแกลบ โดยชนิดของสารเติมมีผลต่อความต้านแรงดัดของเนื้อดินเรียงตามลําดับ ดังนี้ ถ่านไม้ > แกลบดิบ เยื่อกระดาษ และดินแดง > เถ้าแกลบ และเมื่อเปรียบเทียบสมบัติความหนาแน่นหลังเผากับความต้านแรงดัด พบว่า ที่ความหนาแน่นในระดับเดียวกัน เนื้อดินแดงที่ใช้สารเติมชนิดถ่านไม้มี ค่าความต้านแรงดัดสูงสุด ผลการศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่าการใช้สารเติมชนิดถ่านไม้ ร้อยละ 5 ในดินแดงจากบ้านป่าตาล ตําบลสันผักหวาน อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่เผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส เนื้อดินแดงที่ได้มีความหนาแน่นลดลง ความต้านแรงดัดเพิ่มขึ้น ทําให้เนื้อดินแดงมีน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงมากกว่าเนื้อดินแดงใช้ในการผลิตในปัจจุบัน ทําให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย
References
ดินยิ้ม บ้านป่าตาล [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sunpukwan.go.th/index.php?mod=b3RvcA&no=1
ลดา พันธ์สุขุมธนา และคณะ. การปรับปรุงสมบัติดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามด้วยการเติมดินเชื้อ. Bulletin of Applied Science. 2015, 4(4), 9-17.
ลดา พันธ์สุขุมธนา และคณะ. การศึกษาสมบัติกายภาพของเซรามิกเนื้อพรุน เพื่อการพัฒนาเซรามิกที่มีกลิ่นหอม. Bulletin Applied Science. 2013, 2(2), 9-16.
SCHEFFER, M. and P. COLOMBO. Cellular Ceramics Structure, Manufacturing, Properties and Applications. Weinheim: Wiley, 2005.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.