การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านนํ้าในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผลเน่าที่แยกได้จากผลลิ้นจี่

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี แทนธานี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จารวี สุขประเสริฐ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สายจิต ดาวสุโข กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • โสรญา รอดประเสริฐ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.194

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านน้ำ (Acorus calamus L.) ในการยับยั้งการเจริญ เติบโตของเชื้อราก่อโรคผลเน่าจํานวน 21 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์อ้างอิงจํานวน 6 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่แยกได้จาก ผลลิ้นจี่ จํานวน 15 สายพันธุ์ (ไอโซเลท) โดยการคัดแยกเชื้อราบริสุทธิ์จากเปลือกผลลิ้นจีโดยวิธี Tissue transplanting พิสูจน์การก่อโรคตามวิธีของ Koch (Koh's Postulation) และจําแนกสายพันธุ์เชื้อราด้วยวิธีทาง Molecular technique การทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดว่านน้ำด้วยตัวทําละลายเอทานอลร้อยละ 95 เปรียบเทียบกับสารยับยั้งเชื้อราคาร์ เบนดาซิมในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคผลเน่าได้ดําเนินการใน 2 รูปแบบ คือ การทดสอบบนจาน เพาะเชื้อ และการทดสอบบนผลลิ้นจี่ การทดสอบในจานเพาะเชื้อด้วยวิธี Poisoned food technique โดยการผสม สารสกัดว่านน้ำในอาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) ให้ได้ความเข้มข้น 10, 100, 1,000 10,000 20,000, และ 30,000 ppm พบว่า สารสกัดว่านน้ำที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 10,000 ppm ขึ้นไป แสดงร้อยละการยับยั้งการเจริญ ของเส้นใยเชื้อราเฉลี่ยสูงที่สุด (มากกว่า ร้อยละ 80) ในขณะที่สารยับยั้งเชื้อราคาร์เบนดาซิม ที่ความเข้มข้น 1,000 ppm แสดงร้อยละการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราเฉลี่ย 70.26 ส่วนการทดสอบบนผลลิ้นจี่ ได้เลือกสารสกัดว่าน น้ำที่ระดับความเข้มข้น 10,000 และ 20,000 ppm มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อ โรคผลเน่าบนผลลิ้นจี่ โดยนําผลลิ้นจีที่พ่นด้วยสารสกัดว่านน้ำ มาทําให้เกิดแผลและปลูกด้วยเชื้อราก่อโรคมาทดสอบ นําไปบ่มในสภาวะที่เหมาะสมเป็นเวลา 7 วันและสังเกตการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา พบว่า สารสกัดว่านน้ำที่ ระดับความเข้มข้น 10,000 และ 20,000 ppm สามารถชะลอการเจริญของเชื้อราจํานวน 15 สายพันธุ์ ในขณะที่สาร ยับยั้งเชื้อรา คาร์เบนดาซิมที่ระดับความเข้มข้น 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ทุกสายพันธุ์ จึงมี ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้สารสกัดว่านน้ำในการควบคุมเชื้อราก่อโรคผลเน่าในลิ้นจี่

References

นิพนธ์ วิสารทานนท์. โรคไม้ผลเขตกึ่งร้อนโรคทับทิม น้อยหน่า ลำไย ลิ้นจี่ ส้ม องุ่น และอะโวกาโด. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.

รัมม์พัน โกศลานันท์, บุญญวดี จิระวุฒิ และอารีรัตน์ การุณสถิตชัย. การใช้สารธรรมชาติเพื่อควบคุมโรคและยืดอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร, 2549.

JIANG, Y., et al. Postharvest biology and technology of litchi fruit. Food, Agriculture and Environment, 2003, 1(2), 76-81.

SIGMA-ALDRICH. Carbendazim. Material Safety Data Sheet [Onlinel]. 2013. [viewed 16 April 2014]. Available from: http://www.rayfull.com/UploadFiles/PDF/2013681451543.pdf

สำนักงานข้อมูลยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ว่านนํ้า [ออนไลน์]. 2553. เข้าถึงจาก: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=124

MUNGKORNASAWAKUL, P., et al. Inhibitory effect of Acorus calamus L. extract on some plant pathogenic molds. International Conference on Medicinal and Aromatic Plants Possibilities and Limitations of Medicinal and Aromatic Plant Production in the 21st century. Budapest: International Society for Horticultural Science, 2002, pp. 341-345.

AGRIOS, G.N. Plant pathology. 4th Ed. San Diego : Academic press, 1997.

WHITE, T. J., et al. Amplification and direct sequencing of fungal ribosomal RNA genes for phylogenetics. PCR protocols. USA : Academic Press, 1990, pp 315-322.

TASKEEN, Un-Nisa., et al. “In vitro inhibitory effect of fungicides and botanicals on mycelial growth and spore germination of Fusarium oxysporum.” Journal of Biopesticides, 2011, 4(1), 53-56.

KMETZ, K. T., A. F. SCHMITTHENNER., and C. W. ELLETT. Soybean seed decay: Prevalence of infection and symptom expression caused by Phomopsis sp., Diaporthe phaseolorum var. sojae, and D. phaseolorum var. caulivora.” Phytopathology, 1978, 68(6), 836-840.

EHTESHAMUL-HAQUE, S., and A. GHAFFAR. New records of root infecting fungi from Pakistan. Pakistan Journal of Phytopathology, 1994, 6(1), 50-57.

ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์, เฉลิมชัย วงษ์อารี และ ธิติมา วงษ์ชีรี. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชบางชนิดร่วมกับสารเคลือบผิวที่มีต่อโรคแอนแทรคโนส และขั้วผลเน่าของมะม่วงระหว่างการเก็บรักษา. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 2542, 22(3), 77-92.

PHONGPAICHIT, S., et al. Antimicrobial activities of the crude methanol extract of Acorus calamus Linn. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 2005, 27(2), 517-523.

พรประพา คงตระกูล และ สรัญยา ณ ลำปาง. ลักษณะของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ที่ต้านทานสารคาร์เบนดาซิม. วารสารเกษตร, 2553, 26(3), 203-212.

ณัฐพงษ์ นวลดี และคนอื่นๆ. ลักษณะของเชื้อรา Cercospora ที่ต้านทานสารคาร์เบนดาซิมสาเหตุโรคใบจุดของผักกาดหอมในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัย มข. , 255 3, 15(11), 1053-1060.

SARIAH, M. Detection of benomyl resistance in the anthracnose pathogen, Colletotrichum capsici. Islamic Academy of Sciences, 1989, 2(3),168-171.

RATTANAKREETAKUL, C., et al. Efficacy test on dipping substances to control anthracnose disease on mango cv: Chok-Anan. Proceedings of 41st Kasetsart University Annual Conference. 2003. 3-7 February; Bangkok : Kasetsart University. pp.371-378.

โคโลนีของเชื้อราก่อโรคผลเน่าสายพันธุ์อ้างอิงบนอาหาร PDA ผสมสารสกัดว่านนํ้าที่ ระดับความเข้มข้นต่างๆ และสารยับยั้งเชื้อราคาร์เบนดาซิม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

แทนธานี ส., สุขประเสริฐ จ., ดาวสุโข ส., & รอดประเสริฐ โ. (2022). การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านนํ้าในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผลเน่าที่แยกได้จากผลลิ้นจี่. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 3(3), 88–101. https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.194