การผลิตเครื่องดื่มไซเดอร์กล้วย

ผู้แต่ง

  • วรรณดี มหรรณพกุล สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ปิติ กาลธิยานันท์ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ปัญจ์ยศ มงคลชาติ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.190

คำสำคัญ:

กล้วย, เครื่องดื่มไซเดอร์

บทคัดย่อ

วิจัยการผลิตไซเดอร์จากกล้วย โดยศึกษาตัวแปร ได้แก่ สายพันธุ์กล้วยและรูปแบบการเตรียมวัตถุดิบ ในการหมักผลการหมักไซเดอร์ โดยเปรียบเทียบกล้วย 3 ชนิด ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยเล็บมือนาง การผลิตไซเดอร์ควบคุมคุณภาพในกระบวนการหมัก โดยการวิเคราะห์ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ และค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด ปริมาณน้ำตาล การหมักบ่มใช้เชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ผสม 2 สายพันธุ์ คือ Rhone 2226 และ BDX วิธีการหมักไซเดอร์กล้วย ศึกษาเปรียบเทียบ 2 รูปแบบ คือ การหมักโดยเติมหัวเชื้อในโหลแก้วที่มีน้ำกล้วย และการหมักโดยเติมหัวเชื้อในโหลแก้วที่มีเนื้อกล้วยหั่นเป็นชิ้นบางและสารละลายกรดซิตริก การหมักทั้ง 2 วิธีปรับปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นที่ค่า 22 องศาบริกซ์ (°Brix) ควบคุมอุณหภูมิการหมักที่ 22 องศาเซลเซียส เพื่อให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ และกระบวนการหมักในช่วงท้ายได้ปริมาณ แอลกอฮอล์ในระดับที่เหมาะสมก่อนนำไปปรุงแต่งรส ผลการศึกษาพบว่า สายพันธุ์กล้วยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อระยะเวลาในการหมักบ่ม ชนิดกล้วยไม่มีอิทธิพลต่อเชื้อยีสต์ในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ในระหว่างการหมัก นั่นคือ สายพันธุ์กล้วยที่ต่างกันเมื่อนำไปหมักบ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P≥0.05) ของค่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำตาล และปริมาณแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นในขณะหมักบ่ม โดยค่าความหวาน (°Brix) จะลดลงผกผันกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเวลาหมักบ่ม 8-10 วันได้ปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 12.5-14 น้ำกล้วยที่ได้จากการหมักกล้วยน้ำว้าให้สีและกลิ่นรสที่อ่อนกว่า กล้วยไข่ และกล้วยเล็บมือนาง ผู้ชิมให้การยอมรับไซเดอร์กล้วยที่ผลิตจากกล้วยไข่และกล้วยเล็บมือนางที่มีสีและกลิ่นรสดีกว่า ไซเดอร์ที่ผลิตจากกล้วยน้ำว้า การปรุงแต่งรสชาติไซเดอร์ โดยเติมน้ำกล้วยชนิดใสที่ได้จากเทคนิคแช่เยือกแข็งและน้ำแอบเปิ้ล เพื่อปรับให้ได้เครื่องดื่มไซเดอร์ที่มีแอลกอฮอล์ต่างกัน 2 ระดับ คือ ร้อยละ 6.0-6.5 และ ร้อยละ 8.0-8.5 และทำให้คะแนนการยอมรับในด้านสี กลิ่นรสดีมากขึ้น โดยยอมรับไซเดอร์ที่มีแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ (ร้อยละ 6.0-6.5) ในคะแนนที่สูงมากกว่า

References

วรรณดี มหรรณพกุล และขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์. 2555.การผลิตเครื่องดื่มไซเดอร์กล้วย วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 60 (188).

วรรณดี มหรรณพกุล, ขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์, ปิติ กาลธิยานันท์ และปัญจ์ยศ มงคลชาติ. 2552. ไซเดอร์ เครื่องดื่ม รูปแบบใหม่เพื่อสุขภาพ สาระน่ารู้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

Cider making process-Home Brewing Wiki [Online] [Cited 15 November 2009] Available from Internet:http://www.homebrewtalk.com/wiki/index.php/ Cider making Process.

Inspecting Topics for Apple Cider. [Online] [cited 2 January 2003] Available from internet: http://www.food-safety.wisc.edu/cider/inspect 5 log.html

Life is Short-Drink the Best. [Online] [cited 2 January 2003] Available from Internet: http://shop.thecidery.com.au/store/list

Prohibition: Semi-Soft Cider-. [Online][cited 3December ] Available from http://www.time.com/time/mzgazine/ article/0,9171,736347,00html

Thames America gears up for cider breakthrough. Modern Brewery Age, Feb 2, 1998 [Online][cited 16 August 2009] Available from Internet: http://findaticles.com/p/articles/mi m3469/is n5 v49/ai 20349058/

J.M. Trowbridge. 1980. The cider maker's handbook: a complete guide for making and keeping pure cider.

What is Hard Cider?. [Online] [cited 3 December 2019] Available from Internet: http://www.wisegeek.com/ what-is-hard-cider.htm

อัตราการลดลงของปริมาณน้ำตาลและอัตราการเพิ่มขึ้นของแอลกอฮอล์ในระหว่างขั้นตอนการหมักบ่มที่เวลา 0-8 วัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

มหรรณพกุล ว., อินทร์ประสิทธิ์ ข., กาลธิยานันท์ ป., & มงคลชาติ ป. (2022). การผลิตเครื่องดื่มไซเดอร์กล้วย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 1(1), 142–157. https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.190