ครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิง

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ บุราคร สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุบงกช ทรัพย์แตง สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • จิตต์เรขา ทองมณี สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • ศรีสมพร ปรีเปรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.187

คำสำคัญ:

ขิง, เอนไซม์โปรติเอส, ครีมขัดผิว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิง โดยพบว่าเอนไซม์โปรติเอสจากขิงมีค่ากิจกรรมเอนไซม์ (enzyme activity) เท่ากับ 15 หน่วยเอนไซม์ต่อมิลลิลิตรต่อนาทีและค่ากิจกรรมจำเพาะ (Specific activity) เท่ากับ 377 หน่วยเอนไซม์ต่อมิลลิกรัมโปรตีน จากนั้นนำเอนไซม์โปรติเอสจากขิงมาผลิตเป็นเอนไซม์ผงแห้งด้วยวิธีอบแห้งแบบแช่เยือกแข็งและเพิ่มความเสถียรด้วยการเติมเคซีนและโบรอก เอนไซม์ผงแห้งจะมีค่ากิจกรรมจำเพาะเท่ากับ 1,025 หน่วยเอนไซม์ต่อมิลลิกรัมโปรตีน และเมื่อนำเอนไซม์โปรติเอสจากขิงไปเป็นส่วนผสมในครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิงโดยให้มีเอนไซม์ร้อยละ 20 ของน้ำหนักรวม จะได้ค่ากิจกรรมเอนไซม์ 9.9 หน่วยเอนไซม์ต่อมิลลิลิตรต่อนาที หลังจากนั้นนำครีมขัดผิวผสมเอนไซม์ชิงไปทดสอบการระคาย เคืองในสัตว์ทดลอง พบว่า ไม่มีการระคายเคือง โดยค่าดัชนีการระคายเคืองเบื้องต้นเท่ากับ 0.6 จากการทดสอบประสิทธิภาพครีมขัดหน้าผสมเอนไซม์จากขิงเปรียบเทียบกับครีมขัดผิวหน้าตัวอย่างควบคุมในอาสาสมัครผู้หญิงที่มีสุขภาพดี จำนวน 20 คน เป็นเวลา 14 วัน พบว่าครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิงและครีมขัดผิวตัวอย่างควบคุมมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง นอกจากนั้นยังพบว่าเม็ดสีเข้มที่กระจายเป็นจุดด่างดำบนผิวหน้าลดลงอย่างชัดเจน และผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครจากการใช้ครีมขัดผิวด้านกลิ่นหอม เนื้อผลิตภัณฑ์ ความกระจ่าง ใส ความเรียบเนียน ความชุ่มชื่น การลดริ้วรอย และความพึงพอใจโดยรวม พบว่า อาสาสมัครมีความพึงพอใจครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิงมากกว่าครีมขัดผิวหน้าตัวอย่างควบคุมในทุกด้าน โดยมีความพึงพอใจโดยรวมครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิงและครีมขัดผิวหน้าตัวอย่างควบคุมเท่ากับร้อยละ 90 และ 64 ตามลำดับ

References

ฐานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์] สามารถเข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/ pubhealth/zinoff.html. 2555, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 9 เมษายน 2555.

Mascolo N, Jain R, Jain SC, Capasso F. Ethnopharmacologic investigation of ginger (Zingiber officinale). J Ethnopharmacol. 1989, 27(1/2):129-40.

Basavarajaiah CR, Lucas DS, Anadarajashekhar R, Parmesh RR. Fundamentals of ayurvedic pharmacetuicals: anti-inflammatory activity of different preparations of three medicinal plants. J. Res. Edu. Ind. Med. 1990, 9(3): 25-30.

Thompson, E. H., and Allen, C. E. Ginger rhizome: a new source of proteolytic enzyme. J. Food Sci. 1973, 38, 652-655.

Choi, K. H., Laursen, R. A. and Allen, K. N. The 2.1A Structure of a cysteine protease with proline specificity from ginger rhizome, Zingeber officinale. Biochem. 1999, 38, 11624-11633.

Ichikawa, Y., Sasa, H., and Michi, K. Purification of ginger protease. J. Jpn. Soc. Food Nutr. 1973, 26, 377-383.

Hashimoto, A., Takeuti, Y., Kawahara, Y., and Yasumoto, K. Proteinase and collagenase activities in ginger rhizome. J. Jpn. Soc. Nutr. Food Sci. 1991, 44, 127-132.

Su, H. P., Huang, M. J. and Wang, H. T. Characterization of ginger proteases and their potential as a rennin replacement J. Sci. Food. Agric. 2009, 89, 1178-1185.

นันทพร สุขกระจ่าง, การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ขิงผงที่มีกิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2548.

US Patent 6,416,769 B1. Cosmetic compositions comprising exfoliating enzymes and uses thereof. Jacob Vromen, Inventor. 2002.

US patent 4,842,758. Stabilized enzyme system for use in aqueous liquid built detergent compositions. Andre Crutzen, inventor. 1989.

Kunitz, M. Crystalline soybean Trypsin Inhibitor, II. General properties. J. Gen. Physiology. 1947, 30, no. 4, 291-310.

ครีมขัดผิวหน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

บุราคร จ., ทรัพย์แตง ส., ทองมณี จ., & ปรีเปรม ศ. (2022). ครีมขัดผิวหน้าผสมเอนไซม์จากขิง. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 1(1), 122–132. https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.187