การศึกษาเปรียบเทียบวิธีเตรียมตัวอย่างข้าวเพื่อทดสอบสารหนูอนินทรีย์
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.186คำสำคัญ:
ข้าว, สารหนูอนินทรีย์, สารหนูอินทรีย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อหาปริมาณสารหนูอนินทรีย์ ในข้าว การวัดปริมาณสารหนูอนินทรีย์จะใช้เทคนิค speciation ด้วยเครื่อง HPLC-ICP-MS วิธีดังกล่าว ใช้คอลัมน์แบบ ion exchange และสารเคลื่อนที่เป็นสารละลายบัฟเฟอร์แอมโมเนียมฟอสเฟต ความเป็นกรด-ด่าง 6.3 เตรียมตัวอย่างโดยนำข้าวหอมมะลิมา สกัดสารหนูด้วย 2 วิธี คือ วิธีสกัดด้วยกรดไตรฟลูออโรอะซิตริกกับกรดไนตริก (Trifluoroacetic acid, TFA) และวิธีการสกัดด้วย เครื่องแยกสารด้วยเสียงที่มีความถี่สูง (Solvent extraction with sonication) พบว่า การเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีสกัดด้วยเครื่อง แยกสารด้วยเสียงที่มีความถี่สูงให้ผลการวิเคราะห์มีระดับความเที่ยงของการวิเคราะห์ตัวอย่างสูงกว่าวิธีสกัดด้วยกรดไตรฟลูออ โรอะซิตริก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโครมาโตแกรมของสารหนูอนินทรีย์ (as As+5) ด้วยวิธีดังกล่าวมีสิ่งรบกวน (Interference) มาก จึงใช้วิธีเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีสกัดด้วยเครื่องแยกสารด้วยเสียงที่มีความถี่สูงสำหรับการศึกษาหาปริมาณสารหนูในข้าว และจาก การศึกษาหาปริมาณสารหนูในข้าวหอมมะลิเบื้องต้น พบว่า ตัวอย่างข้าวหอมมะลิมีปริมาณสารหนูทั้งหมดอยู่ช่วง 0.072-0.075 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และปริมาณสารหนูอนินทรีย์ อยู่ในช่วง 0.032-0.039 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
References
Douglas T. Heitkemper, Nohora P. Vela, Kristen R. Stewart and Craig S. Westphal. 2001. Determination of total and speciated arsenic in rice by ion chromatography and inductively coupled plasma mass spectrometry. Journal Anal. At. Spectrom. 16, 299-306.
Kohnhorst, Andrew; Laird, Allan; Prayad, Pokethitiyoke; Suthida, Anyapo. 2002. “Groundwater arsenic in central Thailand”. 28th WEDC Conference Calcutta. http://wedc.lboro.ac.uk/conferences/pdfs/28/Kohnhorst. pdf. Retrieved 2009-01-29.
Williams P.N., A.H. Price, A. Raab, S.A. Hossain, J. Feldmann and A.A. MeHarg. 2005. Variation in Arsenic Speciation and concentration in paddy rice related to dietary exposure. Environmental Science and Technology. Vol.39, 5531-5540.
Williams P.N., M.R. Islam, E.E. Adomako, A. Raab, S.A. Hossain, Y.G. Zhu, J. Feldmann and A.A. MeHarg. 2006. Increase in rice grain arsenic for regions of Bangladesh irrigating paddies with elevated arsenic in groundwaters. Environmental Science and Technology. Vol.40, 4903-4908.
Tomohiro Narukawa, Kazumi Inagaki, Takayoshi Kuroiwa, Koichi Chiba. 2008. The extraction and speciation of arsenic in rice flour by HPLC-ICP-MS. Talanta, Vol. 77, 427-432.
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. 2549. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.