การศึกษาความทนทานต่อสารละลายของผิวแก้วภายในของขวดแก้วสําหรับเครื่องดื่มบํารุงกําลัง

ผู้แต่ง

  • อุสุมา นาคนิคาม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • โสรดา ขุนโหน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.182

คำสำคัญ:

ความทนทานต่อสารเคมี, บรรจุภัณฑ์แก้ว, การทดสอบความทนทานต่อน้ำ

บทคัดย่อ

ตลาดเครื่องดื่มบํารุงกําลังมีการเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นจึงความปลอดภัยของการใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว ซึ่งอาจจะเกิดการปนเปื้อนของธาตุโลหะหนักและธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแก้วเมื่อถูกทําละลายโดยเครื่องดื่มที่บรรจุอยู่ภายใน การทําให้เนื้อแก้วมีความทนทานต่อสารละลายเพิ่มขึ้นสามารถลดการปนเปื้อนเนื่องจากธาตุดัง กล่าวได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความทนทานต่อสารละลายของขวดแก้วสําหรับเครื่องดื่มบํารุงกําลังโดยการปรับปรุงผิวภายในด้วยสารละลายกรดอะซิติก ความเข้มข้นร้อยละ 1 2 3 และ 5 ที่เวลา 30 60 และ 120 วินาที ทดสอบความทนทานต่อน้ำตามมาตรฐาน ISO 4802-1 พบว่าความทนทานต่อน้ำเพิ่มขึ้นหลังจากล้างผิวภายในขวดแก้วสีชาด้วยกรดอะซิติก สภาวะที่เหมาะสมในการล้างผิวภายในขวดแก้วสีชาคือใช้กรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 3 เป็นเวลา 30 วินาที นําขวดที่ผ่านการปรับปรุงและไม่ผ่านการปรับปรุงผิวบรรจุบรรจุด้วยกรดซิตริกที่มีค่า pH 3.5 (ใกล้เคียงกับค่า pH ของเครื่องดื่มบํารุงกําลัง) เก็บภายใต้อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส)และอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 7 14 21 และ 28 วัน จากการตรวจสอบธาตุที่ถูกทําละลายออกมาด้วยเทคนิค Inductively Coupled Pharma Mass Spectrometry (ICP-MS) ไม่พบธาตุโลหะหนัก ได้แก่ As Cd Cr Pb Hg Se และ Sb และธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแก้ว ได้แก่ Ca และ K พบเฉพาะธาตุ Na ขวตทั้งสองแบบมีปริมาณธาตุโซเดียม (Na) ที่ถูกทําละลายออกมาไม่แตกต่างเมื่อเก็บภายใต้อุณหภูมิเดียวกัน แต่ขวดที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าขวด เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสและมีปริมาณสูงสุดในวันที่ 21 ประมาณ 0.5 ppm แสดงว่าค่าความทนทานต่อสารละลายของผิวขวดลดลงกับอุณหภูมิและเวลาที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงผิวภายในขวดแก้วโดยการล้างด้วยกรดอะซิติกไม่มีผลต่อการใช้งาน

References

SHELBY, J. E. Introduction to glass science and technology. 2nd ed., UK: The Royal Society of Chemistry, 2005

เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล. สาเหตุและการ ป้องกันสนิมแก้วในอุตสาหกรรมแก้ว. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เทคโนโลยีวัสดุ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ถ่ายสําเนา. (2539)

REIMANN, C., M. BIRKE and P. FILZMOSER. Bottled drinking water: water contamination from bottle materials (Glass, Hard PET, Soft PET), the Influence of colour and acidification (Online) (Viewed 12 July 2012). Available from: http://www.statistik.tuwien.ac.at/public/filz/papers/10APGEO.pdf.

ธีรศักดิ์ ตั้งกิจติมศักดิ์. การเพิ่มความทนทาน ต่อสารเคมีของบรรจุภัณฑ์แก้วสําหรับเครื่องดื่ม โครงงานวิศวกรรมวัสดุ, วศ.บ. (วิศวกรรมวัสด), กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO 4802-1: 2010, Glassware-Hydrolytic resistance of the Interior surfaces of glass containers – Part 1: Determination by titration method and classification.

CONRADT, R. Chemical durability of glass (Online). (Viewed 8 April 2013). Available from: http://lib3.dss.go.th/fulltext/glass/WEB/web_ dr_kanit/CU_GLASS_COURSE_DURABIUTY.pdf

การทดสอบความทนทานต่อนํ้าของผิวภายในของขวดแก้วสีชา ตามมาตรฐาน ISO 4802-1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2014

How to Cite

นาคนิคาม อ., ขุนโหน โ., & จิตรวัชรโกมล เ. (2014). การศึกษาความทนทานต่อสารละลายของผิวแก้วภายในของขวดแก้วสําหรับเครื่องดื่มบํารุงกําลัง . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 3(3), 24–31. https://doi.org/10.60136/bas.v3.2014.182