การศึกษาผลของสภาวะแวดล้อมที่มีต่อความต้านแรงกระแทกของพลาสติก
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.176คำสำคัญ:
พลาสติกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความต้านแรงกระแทกเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมของพลาสติกจำนวนสองชนิด คือ พอลิ(อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน) และพอลิคาร์บอเนต โดยใช้สภาวะแวดล้อมจริงของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระยะเวลาในการศึกษาหนึ่งปี โดยทำการทดสอบเก็บข้อมูลทุก ๆ สามเดือน พบว่า พลาสติกทั้งสองชนิดมีรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง สมบัติด้านความต้านแรงกระแทกที่แตกต่างกัน โดยค่าความต้าน แรงกระแทกของพลาสติกชนิดพอลิ(อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน) มีการเปลี่ยนแปลงลดลงด้วยอัตราที่สูงในช่วงสามเดือนแรก จากนั้นการลดลงเกิดด้วยอัตราที่ช้าลง เมื่อเวลาในการศึกษาผ่านไป 317 วัน ค่าความต้านแรงกระแทกมีค่าเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของค่าตั้งต้น ส่วนพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนตใน ช่วงหกเดือนแรกของการศึกษา การลดลงของค่าความต้านแรงกระแทกเกิดน้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าตั้งต้น เมื่อเวลาในการศึกษาผ่านไป 233 วัน ค่าความต้านแรงกระแทกมีค่าเหลือครึ่งหนึ่งของค่าตั้งต้น ตั้งแต่เดือนที่เก้าการเปลี่ยนแปลงลดลงเกิดสูงกว่าร้อยละ 80 ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้นำมาใช้ในการประเมินความสามารถในการทนสภาวะแวดล้อมของพลาสติกที่ศึกษาได้ว่า พอลิ(อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน) ทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีกว่าพอลิคาร์บอเนต
References
International Organization for Standardization. Plastics-Method of exposure to direct weathering, to weathering using glass-filtered daylight, and to intensified weathering by daylight using Fresnel mirrors. ISO 877, 1994, p.1-15.
International Organization for Standardization. Plastics-Preparation test specimens by machining. ISO 2818, 1994, p. 1-10.
International Organization for Standardization. Plastics-Determining of Charpy impact properties-Part 1: Non-instrumented impact test. ISO 179-1, p. 1-17.
Wypych, George. Handbook of material weathering. 4th edition, Toronto : Chemtec Publishing, 2008, p.11.
Getlicherman, M., Trojan, M., Daro, A. and David, C. “Degradation of polymer blends. Part VI : photo-oxidation of polyethylene containing SIS triblock copolymers.” Polym. Degrad. Stab., 1993, 39, 55-68.
Gardette, J.L. "Heterogeneous photooxidation of solid polymers.“ Angew. Makromol. Chem., 1995, 232, 85-103.
Gardette, J.L., Mailhot, B. and Lemaire, J. “Photooxidation mechanism of styrenic polymers.” Polym.Degrad. Stab., 1995, 48(3), 457-470.
Piton, M. and Rivaton, A. “Photooxidation of ABS at long wavelengths (a>300 nm)." Polym. Degrad. Stab., 1997, 55(2), 147-157.
Factor, A. “Search for the sources of color in thermally aged, weathered and r-ray irradiated bisphenol A polycarbonate.“ Angew. Makromol. Chem., 1995, 232, 27-43.
Pratt, G.J. and Smith, M.J.A. “Ultraviolet degradation and stabilization in poly(dian carbonate): dielectric measurements-Il.” Polym. Degrad. Stab., 1997, 56(2),179-183.
Motyakin, M.V., Gerlock, J.L. and Schlick, S. “Electron spin resonance imaging of degradation and stabilization processes : Behavior of a hindered amine stabilizer in UV-exposed poly(acrylonitrile-butadiene-styrene) polymers." Macromolecules., 1999, 32(16), 5463-5467.
Belofsky, Harold. Plastics: Product design and process engineering. Ohio : Hanser/Gardner, 1995, p. 178-179.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.