การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ในน้ำธรรมชาติโดยเทคนิคเฟรมอะตอมมิคแอบซอร์พชั่นสเปคโตรเมทรี

ผู้แต่ง

  • อังค์วรา พูลเกษม โครงการเคมี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • นีระนาถ แจ้งทอง โครงการเคมี กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.173

คำสำคัญ:

แคดเมียม, ตะกั่ว, น้ำธรรมชาติ

บทคัดย่อ

การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วและแคดเมียมในน้ำธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำบาดาล น้ำฝนน้ำแม่น้ำ ดำเนินการตามวิธีที่ปรับจากวิธีมาตรฐาน AWWA 21st Ed. (2005) โดยใช้เทคนิค เฟรมอะตอมมิคแอบซอร์พชั่นสเปคโตรเมทตรี เพื่อนำมาใช้ในการทดสอบตัวอย่างน้ำต่อไปจากการศึกษาช่วงความเป็นเส้นตรงของวิธีวิเคราะห์ตะกั่ว พบว่า มีความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 1.5-0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนแคดเมียมอยู่ในช่วง 0.5-0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่าขีดจำกัดการตรวจวัดเท่ากับ 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนค่าขีดจำกัดการตรวจหาปริมาณสำหรับตะกั่วและแคดเมียมเท่ากับ 0.1มิลลิกรัมต่อลิตร และ 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในการศึกษาความลำเอียงและความเที่ยง ของวิธีสำหรับตะกั่วและแคดเมียม โดยใช้ตัวอย่างที่เติมสารละลายมาตรฐาน 3 ระดับความเข้มข้น พบว่า มีค่าคืนกลับอยู่ในช่วง ร้อยละ 110-91 และ 105-98 และมีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 3.2-0.8 ตามลำดับ ค่าคืนกลับและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่ได้มีค่าอยู่ในเกณฑ์การยอมรับ และเมื่อคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัดที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของตะกั่วและแคดเมียม พบว่า มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 15 ซึ่งเป็นค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าวิธีการวิเคราะห์นี้เหมาะกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์

References

Soisungwan, S., Jason, R.B., Supanee, U., Melissa, H.E., Paul, E.B.R., David, J.W. and Michael, R.M. “A global perspective on cadmium pollution and toxicity in non-occupationally exposed population.” Toxicology Letters, 2003, 137(1-2): 65-83.

Eduardo, C., Jussara, W.T. and Mauro S. “A new method of microvolume back-extraction procedure for enrichment of Pb and Cd and determination by flame atomic absorption spectrometry.” Talanta, 2002, 56(1): 185-191.

Mehmet, Y., Yusuf, D. and Seref, G. “Speciation of lead in soils and relation with its concentration in fruits.” Analytica Chimica Acta, 2000, 410(1–2): 119.

Yusuf, A.A., Arowolo T.A. and Bamgbose, O. “Cadmium, copper and nickel levels in vegetables from industrial and residential areas of Lagos City Nigeria.” Food and Chemical Toxicology, 2003, 41(3): 375-378.

McLaughlin, M.J., Parker, D.R. and Clarke, J.M. “Metals and micronutrients – food safety issues." Field Crops Research, 1999, 60(1–2): 143-163.

EURACHEM Working Group. 1998. “The Fitness for Purpose of Analytical Methods A Laboratory Guide to Method Validation and Related Topics", LGC (Teddington) Ltd.

American Public Health Association. 3111 metals by flame atomic absorption spectrometry. Standard methods for the examination of water and waste water. APHA, 21st ed., Washington DC:APHP, 2005, 3-13.

International Organization for Standardization, “Guide to Expression of Uncertainty in measurement”, ISO, Geneva, 1995, ISBN 92-67-10188-9.

Notification of the National Environmental Board, No. 8, B.E. 2537 (1994), issued under the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E.2535 (1992), published in the Royal Government Gazette, Vol. 111, Part 16, dated February 24, B.E.2537 (1994).

Cause and effect diagram for the determination of lead and cadmium in natural water

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

พูลเกษม อ., & แจ้งทอง น. (2022). การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ในน้ำธรรมชาติโดยเทคนิคเฟรมอะตอมมิคแอบซอร์พชั่นสเปคโตรเมทรี. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 1(1), 30–36. https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.173