การพัฒนาชุดทดสอบโคลิฟอร์มเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำทางจุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • ธีระ ปานทิพย์อำพร กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.163

คำสำคัญ:

ชุดทดสอบ, โคลิฟอร์ม, น้ำ

บทคัดย่อ

แบคทีเรียโคลิฟอร์มเป็นจุลินทรีย์ดัชนีบ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำ การทดสอบคุณภาพน้ำทางด้านจุลชีววิทยา จำเป็นต้องรีบทดสอบหลังจากเก็บตัวอย่าง ทำให้บางครั้งไม่สามารถส่งตัวอย่างทดสอบให้ห้องปฏิบัติการได้ทันเวลา จึงได้พัฒนาชุดทดสอบเชื้อโคลิฟอร์มเบื้องต้นในลักษณะการตรวจแบบพบหรือไม่พบ โดยอาศัยสมบัติของโคลิฟอร์มที่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตสเป็นกรดและแก๊สภายใน 24-48 ชั่วโมง การศึกษา สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อและปริมาตรตัวอย่างที่เหมาะสม พบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อลอริลซัลเฟตบรอท ที่ความเข้มข้น 3 เท่า เติมอินดิเคเตอร์ บรอมครีซอลเพอร์เพิล ปริมาตร 0.01 กรัมต่อลิตร ให้ผลดีที่สุด เมื่อใช้ตัวอย่างน้ำปริมาตร 20 มิลลิลิตร อาหารเลี้ยงเชื้อเปลี่ยนสีจากสีม่วงใสเป็นสีเหลืองขุ่น การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับวิธีมาตรฐานและชุดทดสอบของกรมอนามัยโดยใช้ตัวอย่างน้ำ 49 ตัวอย่าง (น้ำอุปโภค 29 ตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำบริโภค 20 ตัวอย่าง) พบว่าชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับชุดทดสอบของกรมอนามัยและ วิธีมาตรฐาน (AWWA, 2012) โดยจะแสดงผลเป็นบวกเมื่อมีปริมาณโคลิฟอร์มเท่ากับ 2.2 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร ดังนั้นชุดทดสอบที่ พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการตรวจคุณภาพน้ำเบื้องต้นได้

References

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524. เรื่อง น้ำบริโภคใน ภาชนะบรรจุปิดสนิท. ราชกิจจานุเบกษา, 2524, 98(157), 52-56.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 พ.ศ. 2534. เรื่อง น้ำบริโภคใน ภาชนะบรรจุปิดสนิท, ราชกิจจานุเบกษา 2534, 107(61), 3401-3042.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549.

แบคทีเรียโคลิฟอร์ม. [ออนไลน์]. 2556. เข้าถึงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/แบคทีเรียโคลิฟอร์ม

FOOD AND DRUG ADMINISTRATION. Bacteriological Analytical Manual Chapter 4: Enumeration of Escherichia coli and the Coliform Bacteria. (online). 2002. [viewed 23 October 2013]. Available from: http://www.fda.gov/Food/ FoodScienceResearch/Laboratory Methods/ucm064948.htm.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO/IEC 9308-2. Water quality - Enumeration of Escherichia coli and coliform bacteria -- Part 2: Most probable number method. 2012.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO/IEC 11133. Microbiology of food, animal feed and water – Preparation, production, storage and performance testing of culture media. 2014.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO/IEC 16140. Microbiology of food and animal feeding stuffs – Protocol for the validation of alternative methods. 2003.

INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION. ISO/IEC 17381. Water quality -- Selection and application of ready to-use test kit methods in water analysis. 2003.

MELITA, S., A. NICHOLAS and C. DAVID. Review of coliform as microbial indicators of drinking water quality. Australia: NHMRC Publications. 2003.

SAHIFA. ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI Medium. (ออนไลน์). 2010. เข้าถึงจาก: http://www.highents.com/blog/2010/02/ชุดตรวจสอบเชื้อโคลิฟอร์ม.

ODONKOR, Stephen T., and AMPOFO, Joseph K. Escherichia coli as an indicator of bacteriological quality of water: an overview. Microbiology Research. 2013, 4(2), pp. 5-11.

ZAKIR, H.S.M., et al. Standard methods for the examination of water and wastewater, APHA, AWWA & WEF, 22nd ed. 2012, part 9221.

อาหารเลี้ยงเชื้อเปลี่ยนสีจากสีม่วง A (ไม่เติมเชื้อ) เป็นสีเหลือง B (เติมเชื้อ)

เผยแพร่แล้ว

01-08-2016

How to Cite

ปานทิพย์อำพร ธ. (2016). การพัฒนาชุดทดสอบโคลิฟอร์มเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำทางจุลชีววิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 5(5), 79–88. https://doi.org/10.60136/bas.v5.2016.163