เตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัด
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v11.2022.141คำสำคัญ:
เตียงผู้ป่วย, ระบบนิวเมติก, แผลกดทับ, ราคาประหยัดบทคัดย่อ
เตียงพลิกผู้ป่วยมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับงานพยาบาล เนื่องจากงานของพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นมีภาระงานมาก หากไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดจะทําให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดแผลกดทับสูงอีกทั้งการพลิกผู้ป่วยซึ่งมีจำนวนมาก ส่งผลให้พยาบาลหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเจ็บหลังอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในท้องตลาดเตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติมีราคาสูงและหาซื้อได้ไม่ง่าย จึงทําให้เกิดนวัตกรรมเตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัดขึ้นมาเพื่อพลิกตัวผู้ป่วยอัตโนมัติ ลดโอกาสการเกิดแผลกดทับและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ให้การพยาบาล เตียงพลิกผู้ป่วยอัตโนมัติราคาประหยัด ทำงานด้วยระบบนิวเมติกส์ มีฟังก์ชันครบเหมือนเตียงไฟฟ้าทั่วไป พร้อมเบาะพีวีซี ซึ่งเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตเตียงดังกล่าวถูกกว่าเตียงไฟฟ้าที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปตามท้องตลาดถึงร้อยละ 45 เตียงพลิกผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเลือกการทำงานควบคุมด้วยมือและควบคุมแบบอัตโนมัติ มี 5 ฟังก์ชันการทํางาน คือ ฟังก์ชันเตียงปกติ ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนหัว ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนขา ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนซ้าย ฟังก์ชันเคลื่อนไหวส่วนขวา
References
พรทิพย์ สารีโส, ปิยะภร ไพรสนธิ์ และ อโณทัย เฉลิมศรี. ประสิทธิผลการป้องกันการเกิดแผลกดทับของที่นอนชนิดไม่มีการ เคลื่อนที่ของลมและชนิดที่มีการเคลื่อนที่ของลม : การศึกษาเบื้องต้น (Effcacy of a visco-elastic foam mattress and alternating-pressure air mattress in preventing pressure ulcers: a preliminary study). วารสารสภาการพยาบาล [ออนไลน์]. กรกฎาคม-กันยายน 2559, 31(3), 83-96. [อ้างถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/49845
สมชาย วิริภิรมย์กูล, ดลพัฒน์ ยศธร, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร และ กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์. สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ : กรณีศึกษา อำเภอท่ามะกา และ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ [ออนไลน์]. มีนาคม 2561, 11(14), 24-42. [อ้างถึงวันที่ 19 มกราคม 2564]. เข้าถึงจาก: https://rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.11/vol.11-002.php
พัทนัย แก้วแพง และโศรดา จันทเลิศ. ผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. พฤศจิกายน-ธันวาคม 2555, 30(6),331-341.
สายฝน ไทยประดิษฐ์, วิภา แซ่เซี้ย และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมควบคุมความเป็นกรดด่างของผิวหนังต่ออุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ [ออนไลน์]. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย วันที่ 10 พฤษภาคม 2556. [อ้างถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงจาก: http://www.hu.ac.th/conference/conference2013/Proceedings2013/pdf/Book1/Describe6/701_1-9.pdf
พัทนัย แก้วแพง และ โศรดา จันทเลิศ (2555) ผลของการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 30(6): 311-341
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.