การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบหาปริมาณซูคราโลสในเครื่องดื่ม โดยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v11.2022.127บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการทดสอบความใช้ได้ของวิธี การทดสอบปริมาณซูคราโลสในเครื่องดื่มซึ่งดัดแปลงวิธีทดสอบจากวิธีมาตรฐาน BS EN 16155:2012 Foodstuffs - Determination of sucralose - High performance liquid chromatographic method ได้ทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี โดยมีการศึกษาช่วงความเป็นเส้นตรงของวิธีวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 0 - 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าขีดจำกัดในการตรวจพบและขีดจำกัดในการวัดเชิงปริมาณของการตรวจวัดเท่ากับ 4.0 และ 15.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ การศึกษาความแม่นและความเที่ยงของวิธีโดยใช้ตัวอย่างที่เติมสารละลายมาตรฐาน 3 ระดับความเข้มข้น (25, 250, 2000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พบว่ามีค่าร้อยละกลับคืนอยู่ในช่วงร้อยละ 92.0 – 101.6, 98.8 – 99.4 และ98.0 – 99.8 ตามลำดับ และความเที่ยงประเมินจากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่แสดงด้วยค่า %RSDr เท่ากับร้อยละ 3.799, 0.169 และ0.586 ตามลำดับ ค่า HORRAT เท่ากับ 0.824, 0.052 และ0.246 ตามลำดับ ซึ่งค่าร้อยละกลับคืน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ และค่า HORRAT อยู่ในเกณฑ์การยอมรับและเป็นไปตามข้อกำหนดของ EURACHEM/CITAC Guide: 2012 รวมทั้งได้ประเมินค่าความไม่แน่นอนขยายของการทดสอบ ซูคราโลสในเครื่องดื่ม พบว่ามีค่าความไม่แน่นอนคิดเป็นร้อยละ 3.7 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (k=2) นอกจากนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างที่ขายในท้องตลาดจำนวน 30 ตัวอย่าง มาทำการทดสอบตามวิธีที่ผ่านการทดสอบความใช้ได้แล้ว พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดนี้มีปริมาณซูคราโลสอยู่ในช่วงไม่พบหรือน้อยกว่า 4.0 ถึง 172.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการทดสอบนี้เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์
References
Sucralose สารให้ความหวานที่มีรสชาติคล้ายน้ำตาลที่สุด [ออนไลน์]. พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงจาก: https://www.tinnakorn.com/articles/sucralosesweetener [อ้างถึงวันที่ 24 มกราคม 2565].
ซูคราโลส [ออนไลน์]. 2560. เข้าถึงจาก: https://www.disthai.com/17268970/ซูคราโลส [อ้างถึงวันที่ 24 มกราคม 2565].
THE JOINT FAO/WHO EXPERT COMMITTEE ON FOOD ADDITIVE (JECFA). Sucralose [online]. 1990. Available from: https://www.fao.org/fileadmin/user_upload/jecfa_additives/docs/Monograph1/Additive-444.pdf [viewed 2021-10-21].
RODERO A.B, L.S. RODERO, and R. AZOUBEL. Toxicity of sucralose in humans: a review. International Journal of Morphology. 2009, 27(1), 239-244.
AMERICAN PREGNANCY ASSOCIATION. Artificial sweetener and pregnancy [online]. 2015. Available from: https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/is-it-safe/artificialsweeteners-and-pregnancy [viewed 2022-01-24].
กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 389 (พ.ศ.2561) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 178 ง (วันที่ 25 กรกฏาคม 2561). หน้า 521-523.
กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 418 (พ.ศ.2563) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 237 ง (วันที่ 8 ตุลาคมคม 2563). หน้า 534-536.
BRITISH STANDARD INSTITUTION (BSI). BS EN 16155:2012. Foodstuffs-Determination of sucralose-High performance liquid chromatographic method. London, UK: British Standard Institution (BSI), 2012. 16 p.
EURACHEM. The fitness for purpose of analytical methods. A laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. [online]. 2014. Available from: https://www.eurachem.org/images/stories/Guides/pdf/MV_guide_2nd_ed_EN.pdf [viewed 2021-10-21].
ASSOCIATION OF OFFICIAL ANALYTICAL CHEMISTS. Appendix F: Guidelines for standard method performance requirements. [online]. 2016. Available from: http://www.eoma.aoac.org/app_f.pdf [viewed 2021-10-29].
ELLISON S.L.R. and A. WILLIAMS. EURACHEM/CITAC Guide CG4: Quantifying uncertainty in analytical measurement. 3rd ed. [online]. 2012. Available from: https://www.eurachem.org/images/stories/Guides/pdf/QUAM2012_P1.pdf [viewed 2021-11-10].
กิตติมา โสนะมิตร์, สุธาทิพย์ วิทย์ชัยวุฒิวงศ์ และญาณิต หาญทวีทรัพท์. การทดสอบความถูกต้องของวิธี วิเคราะห์ปริมาณซูคราโลสในเครื่องดื่มโดยเทคนิค UPLC-ELSD. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2562, 61(3), 107-120.
SANG, L. Optimization of determination of sucralose in drink by HPLC. Journal of Economic Science Research [online]. 2019, 2(3), 50-54. Available from: http://doi.org/10.30564/jesr.v2i3.1023 [viewed 2021-11-10].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.