การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีสําหรับวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก หลายชนิดในเวลาเดียวกัน (ปรอท แคดเมียม สารหนู และตะกั่ว) ที่ระดับความเข้มข้น ามากในใบกระท่อม

ผู้แต่ง

  • ธาริณี ศรีดารา กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สายจิต ดาวสุโข กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุบงกช ทรัพย์แตง กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วีระ สวนไธสง กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.1255

คำสำคัญ:

ปรอท , แคดเมียม , สารหนู, ตะกั่ว, กระท่อม, ICP-OES

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ประกอบด้วย ปรอท แคดเมียม สารหนู และตะกั่ว ในใบกระท่อมที่ระดับความเข้มข้นต่ำมาก (หนึ่งส่วนต่อพันล้าน, ppb) ด้วยเทคนิค อินดักทีฟลีคัพเพิลพลาสมา ออพติคอลอิมิสชั่นสเปกโทรสโกปี (ICP-OES) และกระบวนการย่อยและการเตรียมสารละลาย ตัวอย่างก่อนทําการวิเคราะห์ได้ดัดแปรวิธีของ AOAC (999.10) โดยใช้ผงใบกระท่อมแห้งผสมกับกรดไนตริกและไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ร่วมกับการย่อยด้วยวิธีไมโครเวฟ ผลการศึกษาพบว่าช่วงการใช้งานของวิธีทดสอบปรอท แคดเมียม สารหนู และตะกั่วเท่ากับ 0.25 - 1.25, 0.05 - 1.25, 0.50 - 12.50 และ 0.50 - 12.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ ค่าขีดจํากัด การตรวจหาของวิธี (LOD) เท่ากับ 0.050 (ปรอท), 0.010 (แคดเมียม), 0.15 (สารหนู) และ 0.15 (ตะกั่ว) มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ขีดจํากัดการวัดปริมาณ (LOQ) เท่ากับ 0.25 (ปรอท), 0.050 (แคดเมียม), 0.50 (สารหนู) และ 0.50 (ตะกั่ว) มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การศึกษาความโอนเอียงมีช่วงร้อยละการคืนกลับ (%Recovery) เท่ากับ 67 - 74% (ปรอท), 80 - 82% (แคดเมียม), 83 - 91% (สารหนู) และ 80 - 82% (ตะกั่ว) การศึกษาความเที่ยงมีช่วงร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) ของแคดเมียม สารหนู และตะกั่วอยู่ในช่วง 0.6 - 7.3% และปรอทอยู่ในช่วง 8.2 - 11.7% อีกทั้งค่าความไม่แน่นอนขยายของแคดเมียม สารหนู และตะกั่ว มีค่าน้อยกว่า 25% และปรอทน้อยกว่า +38% ที่ระดับ ความเชื่อมั่น 95% ซึ่งผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธีวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ และเหมาะสมสําหรับใช้ในการวิเคราะห์ เชิงปริมาณโลหะหนักในใบกระท่อม

References

วุฒิเชษฐ รุ่งเรือง, พิษวิทยาของพืชกระท่อม วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 2563 พฤษภาคม - สิงหาคม;30(2):118 - 124.

Subtaeng S, Kruatian T, Jitpreeda P, Wanitsuwan W. Method validation for determination of mitragynine in Kratom leaf extract by high performance liquid chromatography. Bull Appl Sci. 2023 July-December;12(2):10 - 22. doi:10.60136/bas.v12.2023.621.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2564) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 35 ก.

Guo C, Lv L, Liu Y, Ji M, Zang E, Liu Q, Zhang M, Li M. Applied analytical methods for detecting heavy metals in medicinal plants. Crit Rev Anal Chem. 2023;53(2):339 - 359. doi:10.1080/10408347.2021.1953371.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสําคัญต่อคุณภาพ สําหรับตํารับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้ง (พ.ศ. 2564), ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 294 ง. หน้า 6.

Ministry of Public Health, Department of Medical Sciences.Thai Herbal Pharmacopoeia 2021.Bangkok: Keawjawjom Printing & Publishing Suan Sunandha Rajabhat University; 2021.

Rashid M, Fardous Z, Chowdhury M, Alam M, Bari M, Moniruzzaman M, Gan SH. Determination of heavy metals in the soils of tea plantations and in fresh and processed tea leaves: an evaluation of six digestion methods. Chem Cent J. 2016;10(1):1-13. doi:10.1186/s13065-016-0154-3.

Mamani MCV, Aleixo LM, Abreu MF, Rath S. Simultaneous determination of cadmium and lead in medicinal plants by anodic stripping voltammetry. J Pharm Biomed Anal. 2005;37(4):709-713. doi:10.1016/j. jpba.2004.11.049.

Markandeya AG, Firke NP, Pingale SS, Salunke-Gawali S. Quantitative elemental analysis of Celociaargentea leaves by ICP-OES technique using various digestion methods. Int J Chem Anal Sci. 2013;4(4):175- 181. doi:10.1016/j.ijcas.2013.08.003.

AOAC International. Lead cadmium zinc copper iron in foods. Atomic absorption spectrophotometry after microwave digestion. AOAC official methods of analysis 999.10. 21st ed. Rockville, Maryland: AOAC International; 2023.

U.S.Environmental Protection Agency (U.S. EPA). Inductively coupled plasma-atomic emission spectrometry. Method 6010D (SW-846) revision 4: 2014. Washington, DC.: U.S. EPA; 2014.

Eurachem Method Validation Working group. Eurachem guide the fitness for purpose of analytical method-A laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. Belgium: Eurachem Secretary; 2014.

AOAC International. Appendix F: guidelines for standard method performance requirements. AOAC official methods of analysis. Rockville, Maryland: AOAC International; 2016.

Barwick VJ, Ellison SLR. VAM Project 3.2.1. Development and harmonization of measurement uncertainty principles. part (d): protocol for uncertainty evaluation from validation data. Report no. LGC/VAM/1998/088. LGC (Teddington) Limited; 2000.

ความไม่แน่นอน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2024

How to Cite

ศรีดารา ธ., ดาวสุโข ส., ทรัพย์แตง ส. ., & สวนไธสง ว. (2024). การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีสําหรับวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก หลายชนิดในเวลาเดียวกัน (ปรอท แคดเมียม สารหนู และตะกั่ว) ที่ระดับความเข้มข้น ามากในใบกระท่อม. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 13(1), 79–91. https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.1255