ผลของการเตรียมวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบ ความเข้มข้นของเอนไซม์ และระยะเวลาการสกัดต่อผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จาก เศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่ง

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ สุบการี ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (สนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
  • เรวดี มีสัตย์ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (สนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.1243

คำสำคัญ:

เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้, เศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่ง, การสกัดเส้นใยอาหารด้วยเอนไซม์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมวัตถุดิบ (อุณหภูมิและการบดเปียก) ปริมาณวัตถุดิบ ความเข้มข้น เอนไซม์ (เซลลูเลสและเฮมิเซลลูเลส) และ ระยะเวลาการสกัดต่อผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จากเศษเหลือทิ้ง หน่อไม้ฝรั่ง จากการศึกษาพบว่าการเตรียมวัตถุดิบ (อุณหภูมิและการบดเปียก) ปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณเอนไซม์ (เซลลูเลสและเฮมิเซลลูเลส) และระยะเวลาการสกัดมีผลต่อผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จากเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) สภาวะการสกัดที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ คือ การเตรียมวัตถุดิบปริมาณ 1:20 (เศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่งต่อน้ำ) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 นาที แล้วบดเปียกให้เป็นเนื้อเดียวกัน นําไปย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสปริมาณร้อยละ 2.5 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก และ เฮมิเซลลูเลสร้อยละ 2.5 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ที่พีเอช 4.6 อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง สภาวะนี้ให้ ผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ร้อยละ 11.26 + 0.63 โดยน้ำหนัก โดยเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำที่ได้จากการศึกษาใน ครั้งนี้มีปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 69.06 + 0.40 โดยน้ำหนัก แบ่งเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ร้อยละ 67.97 ± 0.92 โดยน้ำหนัก และเส้นใยอาหารไม่ละลายน้ำร้อยละ 1.09 + 0.53 โดยน้ำหนัก เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำที่ได้มี จะลายน้ำที่ได้มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำ 1.40 ± 0.07 กรัมน้ำต่อกรัม ความสามารถในการอุ้มน้ำมัน 1.64 ± 0.42 กรัมน้ำมันต่อกรัม และความสามารถ ในการละลายน้ำร้อยละ 75.45 + 0.25 โดยน้ำหนัก นอกจากนั้น เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้มีความสามารถในการกําจัด อนุมูลอิสระ (IC50เท่ากับ 2.31 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ผลนี้แสดง ผลนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อศักยภาพในการสกัดเส้นใย อาหารที่ละลายน้ำได้จากเศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่ง

References

Chitrakar B, Zhang M, Adhikari B. Asparagus (Asparagus officinalis): Processing effect on nutritional and phytochemical composition of spear and hard-stem byproducts. Trends Food Sci Technol. 2019;93:1-11.

Pegiou E, Mumm R, Acharya P, de Vos RCH, Hall RD. Green and white asparagus (Asparagus officinalis): A source of developmental, chemical and urinary intrigue. Metabolites. 2019;10(17):1-23.

Fuentes-Alventosa JM, Rodriguez-Gutirrez G, Jaramillo-Carmona S, Espejo-Calvo JA, Rodriguez-Arcos R, Fernandez-Bolanos J, Guillin-Bejarano R, Jiminez-Araujo A. Effect of extraction method on chemical composition and functional characteristics of high dietary fibre powders obtained from asparagus by- products. Food Chem. 2009;113(2):665-71.

Dhingra D, Michael M, Rajput H, Patil RT. Dietary fibre in foods: a review. J Food Sci Technol. 2012;49(3):255-66.

กมลลักษณ์ วิชาเร็ว. ผลของวิธีการสกัดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้ เศษเหลือ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563

Hu H, Zhao Q. Optimization extraction and functional properties of soluble dietary fiber from pineapple pomace obtained by shear homogenization-assisted extraction. RSC Adv. 2018;8(72):41117-30.

Chen H, He S, Sun H, Li Q, Gao K, Miao X, Xiang J, Wu X, Gao L, Zhang Y. A comparative study on extraction and physicochemical properties of soluble dietary fiber from glutinous rice bran using different methods. Separations. 2023;10(2):1-13.

Ma C, Ni L, Guo Z, Zeng H, Wu M, Zhang M, Zheng B. Principle and application of steam explosion technology in modification of food fiber. Foods. 2022;11(3370):1-19.

Prosky L, Nils-Georg ASP, Schweizer TF, Devries JW, Furda I. Determination of insoluble, soluble and total dietary fiber in foods and food products: Interlaboratory study. J Assoc Off Anal Chem. 1988;71(5):1017-24.

Cadavid ELA, Molina DAR, Valenzuela JRC. Chemical, physicochemical and functional characteristics of dietary fiber obtained from asparagus byproducts (Asparagus officinalis L.). Rev Fac Nal Agr Medellín. 2015;68(1):7533-44.

Chen GT, Zhao L, Zhao LY, Cong T, Bao SF. In vitro study on antioxidant activities of peanut protein hydrolysate. J Sci Food Agric. 2007;87(2):357-62.

Qi B, Jiang L, Li Y, Chen S, Sui X. Extract dietary fiber from the soy pods by chemistry enzymatic methods. Procedia Eng. 2011;15:4862-73.

Cheng L, Zhang X, Hong Y, Li Z, Li C, Gu Z. Characterisation of physicochemical and functional properties of soluble dietary fibre from potato pulp obtained by enzyme-assisted extraction. Int J Biol Macromol. 2017;101:1004-11.

Blending

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2024

How to Cite

สุบการี ย., & มีสัตย์ เ. (2024). ผลของการเตรียมวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบ ความเข้มข้นของเอนไซม์ และระยะเวลาการสกัดต่อผลผลิตเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จาก เศษเหลือทิ้งหน่อไม้ฝรั่ง. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 13(1), 66–78. https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.1243