การปลูกฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยเทคนิคดีซีแมกนีตรอนสปัตเตอริงแบบสองขั้วไม่สมมาตร

Main Article Content

ธนชัย พลเคน
พรนภา ขัวนา
สุดารัตน์ กระแสโสม
พรชัย ชิณสา
วิเชษฐ์ พลหาญ

บทคัดย่อ

การปลูกฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์เพื่อเป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยเทคนิคดีซีแมกนีตรอนสปัตเตอริงแบบสองขั้วไม่สมมาตร เงื่อนไขที่ศักย์ไฟฟ้าลบเท่ากับ 500 โวลต์ ศักย์ไฟฟ้าบวกเท่ากับ 100 โวลต์ กระแสไฟฟ้า 80 มิลลิแอมแปร์ ภายใต้ก๊าซอาร์กอนที่อุณหภูมิห้อง ฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์ถูกเคลือบที่เวลา 10 20 30 40 และ 50 นาที ตามลำดับ นอกจากนี้ฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์ถูกปลูกที่เวลา 30 นาที โดยเจือก๊าซไนโตรเจนที่อัตราการไหล 5 10 และ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที ตามลำดับ สมบัติเชิงโครงสร้าง ทางสัณฐานวิทยา เชิงแสง และสมบัติเชิงไฟฟ้าของฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ เทคนิควิธีเข็มวัด 4 จุด แบบเชิงเส้น และการวัดปรากฏการณ์ฮอลล์ ผลการทดลองสมบัติทางโครงสร้างของฟิล์มบางมีความเป็นผลึกสูง และมีขนาดผลึกของซิงค์ออกไซด์เท่ากับ 16 นาโนเมตร ที่ระนาบ (002) ที่มุม 2q เท่ากับ 34.34 องศา สำหรับฟิล์มที่เคลือบภายใต้ก๊าซไนโตรเจนที่อัตราการไหล 5 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อนาที ลักษณะพื้นผิวของฟิล์มมีความเป็นผลึกสูง และขนาดของเกรนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 264 ถึง 358 นาโนเมตร ค่าการส่องผ่านแสงอยู่ในช่วง 67 ถึง 83 เปอร์เซ็นต์ สำหรับฟิล์มที่ไม่เจือก๊าซไนโตรเจน และ 55 ถึง 77 เปอร์เซ็นต์ สำหรับฟิล์มเจือก๊าซไนโตรเจน ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ 6.99 x 102, 5.55 x 104, 2.26 x 104 และ 6.21 x 104 โอห์ม•เซนติเมตร รวมทั้งค่าความหนาแน่นของพาหะอยู่ในช่วง 1.61 x 1014 ถึง 1.16 x 1018 ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และสภาพคล่องตัวของพาหะเท่ากับ 2.03 x 10-3 ถึง 6.96 x 10-1 ตารางเซนติเมตรต่อโวลต์ต่อวินาที ซึ่งพบว่ามีค่าความหนาแน่นของพาหะค่อนข้างสูงและมีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ดังนั้นฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์ไม่เจือก๊าซไนโตรเจนจึงเหมาะสำหรับการประยุกต์ทำเป็นขั้วไฟฟ้าชั้นโปร่งแสงสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนชัย พลเคน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พรนภา ขัวนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 

สุดารัตน์ กระแสโสม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พรชัย ชิณสา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิเชษฐ์ พลหาญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

References

เจริญชัย เหลืองอ่อน. (2554). การวัดค่าความต้านทานด้วยวิธีเข็มวัด 4 จุด. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

ฐิตินัย แก้วแดง, งามนิตย์ วงษ์เจริญ, และ ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ. (2554). การประดิษฐ์ขั้วไฟฟ้าด้านหลังชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง Cds/CdTe [รายงานการวิจัยประจำปี 2553]. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ดลลักษณ์ มานพ, สุรีย์ ทองวณิชนิยม, วิเชียร ศิริพรม, อดิศร บูรณวงศ์, สุรสิงห์ ไชยคุณ, และ นิรันดร์ วิทิตอนันต (2555). การเตรียมฟิล์มบางไททาเนียมไดออกไซต์สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการฉายแสง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(3) ฉบับพิเศษ, 259-267.

นันทนัช วัฒนสุภิญโญ. (2553). สมบัติทางกายภาพของฟิล์มบางซิงค์ออกไซต์เจือด้วยอลูมิเนียมและอินเดียมเตรียมโดยเทคนิคดีซีแมกนีตรอนสปัตเตอริง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิรันดร์ วิทิตอนันต์, สุรสิงห์ ไชยคุณ, และ อดิศร บูรณวงศ์. (2557). ผลของกระแสโครเมียมคาโทดที่มี ต่อสมบัติของฟิล์มบางไทเทเนียมโครเมียมไนไตรด์ที่เคลือบด้วยเทคนิครีแอกทีฟแมกนีตรอน โคสสปัตเตอริง [รายงานการวิจัยประจำปี 2557]. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณ แผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ ครองอารมณ์. (2556). การพัฒนาฟิล์มบางซิงค์ออกไซด์ที่เจือด้วยอะตอมบัสมัทโดยวิธีเคลือบผิวด้วยแรงเหวี่ยงสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ราชศักดิ์ ศักดานุภา. (2558). การศึกษาฟิล์มบางไททาเนียมออกซิคาร์ไบด์โดยวิธีดีซีแอคทีฟแมกนีตรอนสปัตเตอริงเพื่อความแข็งแรงและป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ [รายงานการวิจัยประจำปี 2558]. ทุนสนับสนุนงานวิจัยจากเงินรายได้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจุฬาลงกรณ์. (2555). เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันนวัฒกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสองกราด. มหาวิทยามหิดล.

สิทธิวัฒน์ อุ่นจิตร, อดิศร บูรณวงศ์ และ สุรสิงห์ ไชยคุณ. (2557). การเตรียมและศึกษาลักษณะเฉพาะของฟิล์มบางโครเมียมวาเนเดียมไนไตรด์ที่เคลือบด้วยวิธีแอคตีฟแมกนีตรอนโคสสปัตเตอริง. วิทยาศาสตร์บูรพา, 6(2), 78–86.

อรุณี หลักคำ, วิทวัช วงศ์พิศาล และ สินธุ จันทพันธ์. (2557). กระบวนการสร้างฟิล์มด้วยไอเคมีและไอกายภาพภายใต้สภาวะสุญญากาศ. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ.

Chapman, B. (1980). Glow discharge processes, Sputtering and plasma etching. John Wiley & Son.

Ding, J. J., Ma, S. Y., Chen, H. X., Shi, X. F., Zhou, T. T., & Mao, L. M. (2009). Influence of Al-doping on the structure and optical properties of ZnO films. PhysicaB: Condensed Matter, 404(16), 2439-2443.

Hartnagel, H. (1995). Semiconducting Transparent Thin Films. Institute of Physics Publishing Bristol and Philadelphia.

Milton, O. (1997). The Materials Science of Thin Film: Thin Film Technology Handbook. McGrow-Hill Companies international.

Ohmukai, M., Nakagawa, T., & Matsumoto, A. (2016). ZnO Films Deposited on Glass by Means of DC Sputtering. Journal of Materials Science and Chemical Engineering, 4, 1–7.

Pathak, K., & Purohit, L. P. (2016). Optical property and AC conductivity RF sputtered N-doped N-dopedZnOthin films. Advanced Materials proceeding, 2(1), 06-09.

Smith, D. L. (2015). Thin Film Deposition: Principle and Practice. MeGraw-Hill Companies international.

Streetman, B. G. (1995). Solid State Electronic Devices. Prentice-hall international.