ประวัติของวารสาร

วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ส่งเสริมความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ และการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี จากจุดเริ่มต้นในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2564 และได้มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบวารสาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565

นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์

วารสาร ฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน

ประเภทของบทความ

ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ

ภาษาที่รับตีพิมพ์

ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

กำหนดออก

วารสาร ฯ ตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้

ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน

ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

นโยบายการลอกเลียนแบบ

วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ซึ่งมีระบบ CopyCatch สำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงานต้นฉบับทั้งหมดที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ โดยจะได้รับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานภายใน 24 ชั่วโมง หากมีการระบุการลอกเลียนแบบโดยกองบรรณาธิการ บรรณาธิการ และผู้ประเมินบทความ ฯลฯ ในขั้นตอนใด ๆ ของบทความก่อนหรือหลังกระบวนการตรวจสอบโดยผู้ประเมินบทความในกรณีนั้น เราจะแจ้งผู้ประพันธ์ให้รับทราบเพื่อขอให้เรียบเรียงเนื้อหาในบทความหรือการอ้างอิงจากที่คัดลอกมา หากมีการคัดลอกเนื้อหามากกว่า 10% บทความอาจถูกแนะนำให้เขียนใหม่หรือปฏิเสธ และแจ้งให้ผู้เขียนทราบทันที

นโยบายการการประเมินบทความ

บทความวิจัยและบทความทุกประเภทที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจะได้รับพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องในแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blinded) กระบวนการกลั่นกรองจะใช้แบบปกปิดสองทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความอย่างน้อยสองในสามคน การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิมีความสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์ซึ่งจะพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง ผลประโยชน์ทับซ้อน และผลงานที่ผ่านมา ความรวดเร็ว ความละเอียดถี่ถ้วน การใช้ดุลพินิจผลอย่างมีเหตุผล และความเป็นกัลยาณมิตร กระบวนการประเมินจะไม่ควรมีการติดต่อกันโดยตรงระหว่างผู้เขียนและผู้ประเมินบทความซึ่งบรรณาธิการจะเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร

กระบวนการพิจารณาบทความ

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) กระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.การตรวจสอบบทความเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการ (1 สัปดาห์):

บทความที่ถูกส่งเข้ามาจะได้รับการตรวจสอบความสมบูรณ์โดยกองบรรณาธิการ ดังนี้รูปแบบการจัดหน้า การใช้ภาษา การคัดลอกเลียนแบบ (ไม่เกินร้อยละ 10) ความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง รูปแบบการเขียนอ้างอิง ความซ้ำซ้อน หากบทความดังกล่าวมีรูปแบบไม่เป็นไปตามที่วารสารฯ กำหนด หรือมีอัตราการซ้ำซ้อนสูงกว่าที่วารสารฯ กำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับบทความดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาซึ่งจะแจ้งผู้ประพันธ์ให้รับทราบต่อไป

2.การพิจารณาความถูกต้อง-เหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (1-2 สัปดาห์): 

บทความที่ผ่านการพิจารณาขั้นที่ 1 แล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2-3 ท่าน เพื่อพิจารณาบทความดังกล่าวในรูปแบบ Double-Blind ก่อนดำเนินการทาบทาม และจัดส่งบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป โดยระดับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจะประกอบด้วย

2.1 สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Accept)

2.2 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย (Accept with minor revision)

2.3 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมาก (Accept with major revision)

2.4ไม่สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Reject)

 3.การพิจารณาผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (1 สัปดาห์):

เมื่อกองบรรณาธิการได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการพิจารณาและสรุปผลอีกครั้ง โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับผลเป็น Accept หรือ Accept with minor revision ส่วนบทความที่ได้รับผลเป็น Accept with major revision บรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด และบทความที่ได้รับผลเป็น Reject จะไม่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

4.การปรับแก้ (1-3 สัปดาห์):

บทความที่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกองบรรณาธิการ (ถ้ามี) โดยผู้เขียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วน และชี้แจงการปรับแก้ แล้วส่งบทความที่ปรับแก้แล้ว และเอกสารชี้แจงการปรับแก้กลับมายังกองบรรณาธิการภายในเวลาที่กำหนด

5.การพิจารณาบทความฉบับปรับแก้ (1 สัปดาห์):

เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความที่ปรับแก้แล้ว จะดำเนินการพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง หากบทความดังกล่าวได้รับการแก้ไขครบถ้วน จะรับรองการตีพิมพ์ และนำเข้าสู่กระบวนการจัดอาร์ตเวิร์คต่อไป

คำชี้แจงการเข้าถึง

วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีความยินดีให้การเข้าถึงแบบเสรีกับผลงานทางวิชาการ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้ อ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาทั้งหมดของบทความ และนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่น ๆ บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้สามารถเข้าถึงได้ฟรีทันทีนับจากวันที่เผยแพร่ ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใด ๆ สำหรับผู้อ่านในการดาวน์โหลดบทความสำหรับใช้ทางวิชาการของตนเอง วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ดำเนินการภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License ซึ่งอนุญาตให้ทำซ้ำบทความได้ฟรี สำหรับการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เท่านั้น และมีข้อมูลการอ้างอิงที่เหมาะสม ผู้เขียนทุกคนที่ตีพิมพ์กับวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยอมรับข้อกำหนดเหล่านี้เป็นเงื่อนไขในการตีพิมพ์

ข้อมูลลิขสิทธิ์

บทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนบทความ ผู้ใดต้องการจะตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ใน วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามแล้ว จะต้องไม่ปรากฏในสิ่งพิมพ์อื่นใดก่อนที่จะปรากฏในวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กองบรรณาธิการจะส่งลิงค์วารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียน หรือหากผู้เขียนต้องการบทความที่ตีพิมพ์สามารถดาวน์โหลด หรือสั่งพิมพ์ได้ที่เว็บไซต์ของวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

การอนุญาตลิขสิทธิ์

อนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ โดยผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใด ๆ การเผยแพร่นี้อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)

อัตราค่าธรรมเนียม

ปัจจุบันวารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์