ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
-
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
-
มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
-
บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
ข้อแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
การเตรียมต้นฉบับ
ขนาดกระดาษ B5 ระยะห่างจากขอบซ้ายและขวา ขอบบนและล่าง 2.54 เซนติเมตร การจัดคอลัมน์ ให้จัดเป็น 1 คอลัมน์ และต้องพิมพ์โดยไม่เว้นบรรทัด เว้นแต่เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้นบรรทัด 1 บรรทัด และต้องพิมพ์ให้เต็มคอลัมน์ก่อนที่จะขึ้นคอลัมน์ใหม่หรือหน้าใหม่ ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK และให้ใช้ตัวหนาสำหรับชื่อเรื่อง (ขนาด 18) และหัวข้อ (ขนาด 14) ความยาวบทความจำนวนหน้าไม่เกิน 15 หน้า
- ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การพิมพ์ชื่อเรื่องให้วางตำแหน่งกลางกระดาษแบบคอลัมน์เดี่ยวเริ่มจากชื่อเรื่องภาษาไทย ขึ้นบรรทัดใหม่เป็นชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 point พิมพ์ตัวหนา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้เขียนบทความและคณะ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องใส่คำนำหน้า ตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียน ใช้หมายเลขแบบตัวยกกำกับชื่อหน่วยงานสังกัด ขนาดตัวอักษร 14 point ขนาด 14 point จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- สังกัดของผู้เขียน มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุอีเมลล์ ขนาดตัวอักษร 12 point จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำว่า “บทคัดย่อ” และ “Abstract” พิมพ์ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 16 point จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาบทคัดย่อ ขนาดตัวอักษร 16 point ความยาวไม่เกิน 300 คำ และคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ
- เนื้อหา ประกอบด้วยหัวข้อหลักดังนี้ บทนำ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัยและอภิปรายผลสรุปผลและเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ(ถ้ามี) เอกสารอ้างอิง หัวข้อพิมพ์ตัวหนา ขนาดตัวอักษร 16 point จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาข้อความแต่ละย่อหน้า กำหนดขนาดตัวอักษร 14 point ข้อความแต่ละย่อหน้าให้กระจายแบบไทย บรรทัดแรกแต่ละย่อหน้าให้เยื้องมาทางขวา 1.27 เซนติเมตร
5.1 บทนำ กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาที่ศึกษา วัตถุประสงค์ และรวมถึงการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
5.2 วิธีดำเนินการวิจัย อธิบายวิธีการวิจัย เครื่องมือ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ควรเสนอรูปแบบและแสดงขั้นตอนอย่างกระชับและชัดเจน อาจใช้แผนภาพ หรือแผนผังเพื่อแสดงขั้นตอนการวิจัยได้ โดยรายละเอียดของภาพจะต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
5.3 ผลการวิจัยและอภิปรายผล ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยนำเสนอเป็นลำดับสอดคล้องกับที่อธิบายไว้ในส่วนวิธีดำเนินการวิจัย ควรมีการแปลและอภิปรายผลอย่างมีหลักการ นำเสนอผลการวิจัยโดยการอ้างโยงทฤษฎีหรือสอดคล้องกับผลวิจัยอื่น เพื่อนำมาสนับสนุนหรือเห็นแย้งที่สมเหตุผล อาจมีการเปรียบเทียบผลกับงานวิจัยในทำนองเดียวกันที่เผยแพร่มาก่อน
5.4 สรุปผลและเสนอแนะ สรุปประเด็นหลักของผลวิจัย ชี้ให้เห็นว่าประเด็นปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่ได้ศึกษาวิจัยมาด้วยวิธีหรือกรอบแนวความคิดที่นำเสนอ ให้ข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และให้แนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
5.5 กิตติกรรมประกาศ อาจมีหรือไม่ก็ได้ เป็นข้อความแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยลุล่วงไปด้วยดี
6. การอ้างอิงเอกสาร ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนอ้างอิงเอกสารที่มาของข้อมูล โดยใช้ระบบนาม-ปี (Name-Year System) ตามแบบ APA 7th edition และการอ้างอิงในบทความทุกรายการจะต้องระบุในเอกสารอ้างอิงท้ายบทด้วย