https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2024-06-30T19:58:14+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรชนก จันทร์สว่าง jset@rmu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม</strong> ISSN : 2821-9066 (Print), ISSN : XXXX-XXXX (Online) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อนำเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและบุคคลทั่วไป โดยทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านต่อบทความในลักษณะปกปิดรายชื่อ <strong>(Double blind peer-reviewed) : </strong><strong>ซึ่งกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2</strong><strong> ฉบับ</strong> คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3067 สารบัญ 2024-06-30T19:53:44+07:00 Editorial JSET-RMU jset@rmu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp;</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/630 ผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากาแฟอราบิก้าที่ปลูกในกระถาง 2023-06-16T13:24:23+07:00 ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด siri.k@rsu.ac.th ประณต มณีอินทร์ pranot.m@rsu.ac.th กษิดิ์เดช อ่อนศรี kasideth.o@rsu.ac.th ผกามาศ สินสมบัติ pphakamas.s1@gmail.com กัญตนา หลอดทองหลาง kantana060735@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่ การใส่เชื้อราไมคอร์ไรซาในกระถางปลูกจำนวน 10, 20 และ 30 กรัมต่อกระถาง เปรียบเทียบกับไม่ใส่เชื้อราไมคอร์ไรซา บันทึกผลการเจริญเติบโตของกาแฟหลังย้ายปลูกทุก 2 สัปดาห์ จนครบ 10 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า การผสมไมคอร์ไรซาในดินปลูกไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูงต้น (P&gt;0.05) ความกว้างทรงพุ่ม (P&gt;0.05) และจำนวนกิ่ง (P&gt;0.05) แต่การใส่ไมคอร์ไรซา ทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง (P&lt;0.05) เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่ากาแฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 6 โดยการใส่ไมคอร์ไรซาปริมาณ 10 20 และ 30 กรัม มีขนาดใหญ่สุดไม่แตกต่างกันเท่ากับ 5.70, 6.09, และ 6.15 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขณะที่ชุดควบคุมมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเล็กที่สุด คือ 5.32 มิลลิเมตร และมีการเข้าอาศัยของเชื้อราไมคอร์ไรซาในราก 24.03, 51.67 และ 61.17 และ 1.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นที่ความเข้มข้นของเชื้อราไมคอร์ไรซาที่ 10 กรัมต่อกระถาง จึงเป็นความเข้มข้นที่ดีที่สุดในการแนะนำให้ใช้ต่อไป</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/1217 การพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2024-06-12T11:40:09+07:00 รัษษาภร ฉลวย rspch2406@gmail.com ดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์ drusawin.vp@bru.ac.th <p>การพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สำหรับใช้ในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย สร้างตารางนัดหมายให้กับผู้ป่วยกับแพทย์ผู้ตรวจ จัดลำดับคิวในการตรวจรักษา ผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยของข้อมูล โดยอาศัยรูปแบบการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ร่วมกับ Microsoft Power Platform Office 365 ประกอบไปด้วย Power App, SharePoint, Power Automate และ Power BI ภายใต้แนวคิดการพัฒนาระบบแบบโลว์โค้ด (Low-Code) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้งานระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ จากผู้ใช้งานของหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 20 คน และญาติผู้ป่วย จำนวน 20 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Form</p> <p>ผลการพัฒนาระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษา โรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบว่า สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและจัดตารางนัดหมาย บันทึกข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ ระบบมีการส่งข้อความแจ้งเตือนคิวนัดหมายผ่านไลน์แจ้งเตือน (Line Notify) มีการสรุปรายงานต่าง ๆ ในรูปแบบแดชบอร์ด และความพึงพอใจของการใช้งาน พบว่า ผู้ใช้งานระบบตารางนัดหมายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรูปแบบออนไลน์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุรีรัมย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/1239 การวิเคราะห์อภิมานประสิทธิผลของความเป็นจริงเสมือนในการศึกษาวิทยาศาสตร์ 2024-06-05T16:48:39+07:00 กฤษฎาภรณ์ จันตะคุณ jansri.kp@gmail.com ธิติ จันตะคุณ thiti100@gmail.com ธาดา จันตะคุณ thada.phd@gmail.com <p>เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) เป็นกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมที่ถูกนําไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ รวมถึงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม และความเข้าใจของนักเรียนในบริบทของการศึกษาวิทยาศาสตร์ แนวทางความเป็นจริงเสมือนเกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างกระบวนการสอนและการเรียนรู้แบบดั้งเดิม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของ VR ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในด้านความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจ โดยทำการวิเคราะห์อภิมานของประสิทธิผลของ VR ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ การค้นหาวรรณกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ ERIC และดัชนี Scopus ตั้งแต่เดือนมกราคม 2018 ถึงพฤศจิกายน 2023 ได้ดําเนินงานเพื่อระบุการศึกษาที่รายงานประสิทธิภาพของ VR ในการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจ ผู้ทบทวนอิสระสองคน ดําเนินงานคัดเลือกการศึกษา และการดึงข้อมูล คุณภาพของระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาที่เลือกถูกกําหนดค่าโดยใช้ Fail-Safe N for Publication Bias Assessment การศึกษาทั้งหมด 7 รายการ รวมถึงผู้เข้าร่วม 574 คน ได้รับการคัดเลือกสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย เราพบว่า VR มีประสิทธิภาพมากกว่าเงื่อนไขการควบคุมในการปรับปรุงผลโดยรวม (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมาตรฐาน [SMD] = 0.87, 95% CI 0.35-1.39, <em>P</em>&lt;.001, <em>I<sup>2</sup></em>=87.36%) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า VR สามารถปรับปรุงการศึกษา วิทยาศาสตร์ความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาอย่างเข้มงวดเพิ่มเติมที่มีขนาดตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้นรับประกันเพื่อยืนยันผลลัพธ์เหล่านี้</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3068 ภาคผนวก 2024-06-30T19:58:14+07:00 Editorial JSET-RMU jset@rmu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;</p> 2024-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024