วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม</strong> ISSN : 2821-9066 (Print), ISSN : XXXX-XXXX (Online) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อนำเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและบุคคลทั่วไป โดยทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านต่อบทความในลักษณะปกปิดรายชื่อ <strong>(Double blind peer-reviewed) : </strong><strong>ซึ่งกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 2</strong><strong> ฉบับ</strong> คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p>
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
th-TH
วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2821-9066
-
สารบัญ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3505
<p> </p>
Editorial JSET-RMU
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-30
2024-12-30
3 2
-
แพลตฟอร์มการให้บริการตู้ล้างรถยนต์ไร้เงินสด
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3001
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตู้ล้างรถยนต์ไร้เงินสด โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 20 คน ซึ่งถูกคัดเลือกแบบเจาะจงและเป็นผู้ที่สมัครใจใช้แพลตฟอร์มฯ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มตู้ล้างรถยนต์ไร้เงินสด และ 2) การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละฟังก์ชันของตู้ล้างรถยนต์ไร้เงินสด และ แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า 1) แพลตฟอร์มฯ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักคือ (1) กล่องควบคุมตู้ล้างรถยนต์ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ภายในตู้ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ (2) แอปพลิเคชันให้บริการลูกค้า โดยมีการทำงานหลักคือ การค้นหาสถานที่ของตู้ล้างรถยนต์ การเติมเงิน รวมถึงการสั่งงานตู้ล้างรถยนต์ และ (3) เว็บแอปพลิเคชันให้บริการสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานะการทำงานของตู้ล้างรถยนต์ รวมถึงการทำรายงานสรุปยอดเงิน และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของแพลตฟอร์มฯ พบว่า มีความถูกต้อง 100% ในส่วนของการประเมินฟังก์ชันการควบคุมการทำงาน ซึ่งทดสอบโดยการสั่งเปิดและปิดการใช้ น้ำ โฟม หรือ ลม เป็นจำนวน 10 ครั้ง ผ่านหน้าตู้และแอปลิเคชัน พบว่า มีความถูกต้อง 100% และ 3) ผลการสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้แพลตฟอร์มฯ อยู่ในระดับดีมาก</p>
รมณีย์ ทุมสิทธิ์
อภิภัทร คำพุทธ
สาธิต กระเวนกิจ
จักรชัย โสอินทร์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
3 2
1
13
-
การศึกษาผลความเข้มแสงและระยะเวลาของการให้แสงไฟต่อการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3462
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการให้แสงไฟต่อการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ เพื่อทดสอบการนำระบบการเพาะเลี้ยงแบบอัตโนมัติมาใช้ในการควบคุมและติดตามผลการเจริญเติบโตของไข่น้ำ โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD, Completely Randomized Design) แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุดการทดลอง (Treatment) ชุดละ 3 ซ้ำ เพื่อศึกษา 1) การเพาะเลี้ยงด้วยสภาพแวดล้อมปกติโดยใช้แสงแดดธรรมชาติ 2) การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED ที่มีความเข้มแสงระหว่าง 9,000 - 12,000 ลักซ์ นาน 12 ชั่วโมง และ 3) การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED ที่มีความเข้มแสงระหว่าง 9,000 - 12,000 ลักซ์ นาน 24 ชั่วโมง และควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเพาะเลี้ยงด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ ระยะเวลาในการทดลอง 14 วัน บันทึกและติดตามผลการเจริญเติบโตไข่น้ำทุกวัน</p> <p>ผลการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED นาน 12 ชั่วโมง และนาน 24 ชั่วโมง กับแสงแดดธรรมชาติ มีผลทำให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดมีความแตกต่างกันทางสถิติที่อายุ 1, 7 และ 14 วัน และพบว่าการเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED นาน 24 ชั่วโมง มีผลให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดสูงสุด และการเพาะเลี้ยงด้วยแสงแดดธรรมชาติให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดต่ำสุด เมื่อนำเอาระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุม ปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ง่าย สะดวก และเพิ่มความแม่นยำในการเพาะเลี้ยงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนแรงงานในการดูแล</p>
สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์
อรรควุธ แก้วสีขาว
กัญญารัตน์ บรรลุสุข
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
3 2
14
25
-
เรือบำบัดน้ำเสียอัตโนมัติควบคุมทางไกลไร้สาย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3381
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเรือบำบัดน้ำเสียอัตโนมัติแบบควบคุมทางไกลไร้สาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 10 คน ซึ่งถูกคัดเลือกแบบเจาะจงและเป็นผู้ที่สมัครใจใช้เรือบำบัดน้ำเสีย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ เรือบำบัดน้ำเสียและการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละฟังก์ชัน รวมถึงแบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า 1) เรือบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักสำคัญคือ (1) กล่องควบคุมระบบเรือบำบัดน้ำเสีย ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ภายในเรือ (2) แอปพลิเคชันที่ใช้ในการควบคุมทิศทางและการเคลื่อนที่ของเรือผ่านสมาร์ทโฟนไร้สาย (3) การทำงานของเรือมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเรือบำบัดน้ำเสียพบว่ามีความถูกต้อง 100% ในส่วนของการประเมินฟังก์ชันการควบคุมการทำงาน ซึ่งทดสอบโดยการควบคุมการทำงานของเรือ การปักหมุดการเดินเรือ รวมถึงการปล่อยจุลินทรีย์ และ 3) ผลการสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้เรือบำบัดน้ำเสียที่อยู่ในระดับมาก</p>
ชิดชนก ประยูรชาญ
สาธิต กระเวนกิจ
จักรชัย โสอินทร์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-30
2024-12-30
3 2
26
41
-
ภาคผนวก
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3503
<p> </p>
Editorial JSET-RMU
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-29
2024-12-29
3 2