การสกัดสีจากธรรมชาติ : กรณีศึกษา จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

ผู้แต่ง

  • รวินันท์ ลอยเมฆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • ถิร รุ่งเลิศศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • ชัยชาญ วงศ์กระจ่าง 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • สิริโสภา องคณานุวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

สี, การสกัดสี, สีจากธรรมชาติ, วัฒนธรรม, ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

            มนุษย์รู้จักนำสีจากธรรมชาติมาใช้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากวัสดุธรรมชาติที่อยู่ในท้องถิ่น สีเป็นปัจจัยที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ทั้งการประกอบอาหาร การย้อมผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม และการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบันมีการพัฒนาสีสังเคราะห์ขึ้นใช้แทนสีธรรมชาติ และได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก และใช้ปริมาณมากได้ แต่สีสังเคราะห์เป็นสีที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้
หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการศึกษาการสกัดสีจากธรรมชาติ : กรณีศึกษา จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสีจากธรรมชาติ และองค์ความรู้การสกัดสีจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมของคนโบราณ จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ได้รวบรวมภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ให้ได้ศึกษา รวมถึงนักปราชญ์ชาวบ้านที่มาเป็นวิทยากรส่งต่อความรู้ จากการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์พบว่า การสกัดสีจากธรรมชาติมีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งชุมชนคูบัวเป็นชุมชนตั้งแต่สมัยทวารวดี มีการทอผ้าจกไท-ยวน ราชบุรี ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และใช้สีธรรมชาติมาย้อมเส้นใยเป็นสีสันต่าง ๆ ได้อย่างสวยงาม แต่จากการสัมภาษณ์นักปราชญ์ชาวบ้านพบว่า ปัจจุบันผ้าที่นำมาทอเป็นผ้าที่ผลิตสำเร็จมาจากโรงงานทั้งสิ้นซึ่งเป็นสีสังเคราะห์และแฝงด้วยสารเคมี ดังนั้นการนำสีจากธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมาจากกระบวนการธรรมชาติ ปลอดภัย และไม่อันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญที่จะสามารถทดแทนการใช้สีสังเคราะห์ และเป็นการสืบสานภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมการสกัดสีจากธรรมชาติ อนุรักษ์ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สืบต่อไป

References

เก่งกาจ ต้นทองคํา และ จิดาภา ศรีสวัสดิ์. (2563). การศึกษาวัตถุจากธรรมชาติที่ให้สีเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทย. หน้า 3626-3634. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

โกสุม สายใจ. (2536). สีและการใช้สี. ภาควิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พรพิมล ม่วงไทย. (2555). การเตรียมผงสีจากพืช. ภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์ และคณะ. (2557). การพัฒนาการเตรียมสีผงจากสีย้ อมธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มธุรส เงินทอง และคณะ. (2553). การสำรวจสถานการณ์การใช้สีสังเคราะห์ในอาหารของผู้ประกอบการร้านค้าเพื่อจำหน่ายในร้านลูกชิ้นทอด และร้านก๋วยเตี๋ยว บริเวณรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. [รายงานการศึกษารายวิชาการวิจัยทางสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยอดชาย พรหมอินทร์. (2562). ตำรา จิตรกรรมไทยประเพณี. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศิวาพร ศิวเวชช. (2535). วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิวาพร ศิวเวชช. (2546). วัตถุเจือบนอาหาร เล่ม 1. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cooksey, C. (2013). Tyrian purple: the first four thousand years. Science Progress, 96(2), 171-186.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25