การออกแบบและนวัตกรรมในงานสถาปัตยกรรมอวกาศ

ผู้แต่ง

  • วิสิฐ กวยะปาณิก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • ศศิธร คล้ายชม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมอวกาศ, ที่พักอาศัยนอกโลก, สภาวะสิ่งแวดล้อมรุนแรง, การออกแบบอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าและนำเสนอแง่มุมในสาขาสถาปัตยกรรมอวกาศ ลักษณะการทำงานและแนวทางการพัฒนาต่อยอดวิชาชีพสู่นักสถาปัตยกรรมอวกาศซึ่งเป็นสาขาอาชีพใหม่ในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตทางด้านธุรกิจอวกาศ โดยในบทความนี้จะรวบรวมบทความงานวิจัยในอดีตจนถึงปัจจุบันในเชิงสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงสร้างจากฐานข้อมูล ScienceDirect ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสถาปัตยกรรมอวกาศซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบที่พักอาศัยนอกโลกสำหรับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในอวกาศ เช่น การแผ่รังสีสูง ความดันบรรยากาศต่ำ และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรง สถาปนิกอวกาศจะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ สถาปัตยกรรมอวกาศไม่เพียงแต่มีการประยุกต์ใช้ในการสำรวจอวกาศเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นไปได้สำหรับการนำมาพัฒนาใช้งานบนโลกได้ด้วยโดยการรวมหลักการทางนิเวศน์วิทยาและแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาปัตยกรรมอวกาศสามารถมีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์อาคารพักอาศัยที่ยั่งยืนบนโลก โดยปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการเทคนิคสถาปัตยกรรมอวกาศ (SATC) สถาบันการบินและนักบินอวกาศอเมริกัน (AIAA) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมอวกาศและแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่างๆ และยังมีคณะกรรมการย่อยที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งเน้นไปที่การสำรวจและส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักการสถาปัตยกรรมอวกาศ โดยรวมแล้วสถาปัตยกรรมอวกาศเป็นวิชาชีพที่ท้าทายสำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบที่พักอาศัยนอกโลก ภายใต้สภาพแวดล้อมที่รุนแรงและมุ่งเน้นไปที่การออกแบบอย่างยั่งยืน

References

Kalapodis, N., Kampas, G., & Ktenidou, O. (2020). A review towards the design of extraterrestrial structures: From regolith to human outposts. Acta Astronautica, 175, 540-569. https://doi.org/10.1016/j.actaastro.2020.05.038

Kawayapanik, W., Thubthun, N., Lohmeng, A., & Klaichom, S. (2024, March 29-31). Space architecture design: Stage of the art review. The 29th National Convention on Civil Engineering, Chiang Mai, Thailand.

Malott, D. (2019). AI spacefactory's MARSHA wins 1st place in the finale of NASA's 3D printed habitats. https://www.designboom.com/architecture/ai-spacefactory-marsha-wins-nasa-3d-printed-habitat-challenge-finale-05-08-2019.

Space Architecture Technical Committee. (2014). How to become a space architect. (2nd ed.). https://spacearchitect.org/how-to-become-a-space-architect.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26