https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/UthenJo/issue/feed วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย 2024-12-27T16:11:41+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันโชค เครือหงษ์ UthenJo@rmutto.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย</strong></p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> เป็นวารสารที่ครอบคลุมเนื้อหางานวิจัยที่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่มีคุณภาพ สำหรับนักเรียน นักศึกษา วิศวกร สถาปนิก นักออกแบบ นักวิชาการและนักวิจัย ทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โลจิสติกส์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม และสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/UthenJo/article/view/1174 การสำรวจทำแผนที่ด้วยไลดาร์ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน กรณีศึกษาพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2024-08-14T14:01:54+07:00 ภุชงค์ วงศ์เกิด kittisak.lu@western.ac.th สำเนียง สุตระ kittisak.lu@western.ac.th รณชัย อยู่เย็น kittisak.lu@western.ac.th ธนะพัฒน์ วิริต kittisak.lu@western.ac.th กิตติศักดิ์ ฤาแรง kittisak.lu@western.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) แล้วนำผลที่ได้มาสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศแบบต่างๆ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อใช้ในการออกแบบการประมาณราคาค่าก่อสร้าง รวมทั้งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก LiDAR พื้นที่ที่ทำการศึกษาคือบริเวณเขาใหญ่ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวนพื้นที่ศึกษาจำนวน 3000 ไร่ การบินสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ใช้ LiDAR ยี่ห้อ Yellow Scan รุ่น Mapper ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) ยี่ห้อ DJI รุ่น Matrice 300 RTK ด้วยโปรแกรม PILOT การทำงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่1 เป็นการทำงานของอากาศยานไร้คน (UAV) ติดตั้ง LiDAR จะทำการบินแบบอัตโนมัติตามที่ได้ออกแบบไว้ และส่วนที่2 เป็นส่วนของการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม Yellow Scan Cloud Station ผลการศึกษาพบว่า การสำรวจทำแผนที่ด้วย LiDAR ติดตั้งบนอากาศยานไร้คน (UAV) สามารถให้ข้อมูลภูมิประเทศ ที่มีความละเอียดถูกต้องแม่นยำสูง และสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ใช้คนปฏิบัติงานน้อยกว่าวิธีเดิมมาก ซึ่งข้อมูลที่ได้จำนำมาตรวจสอบความถูกต้องทางดิ่งกับจุดอ้างอิงบนพื้นดิน ณ จุดพิกัดทางราบเดียวกันได้ค่าความต่างเฉลี่ย ไม่เกิน 5 เซนติเมตร</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/UthenJo/article/view/1547 การศึกษาการใช้คอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเถ้าชานอ้อยแทนวัสดุชั้นทางเพื่อเพิ่มเสถียรภาพลาดดิน : กรณีศึกษาซอยปู่เส็งเจริญสุข 2024-07-24T14:09:29+07:00 พัฒนศักดิ์ ชัยพรรณา fit@rmuti.ac.th อรรถพล มาลัย attapole.mal@rmutr.ac.th ประชุม คำพุฒ prachoom_k@rmutt.ac.th <p>การวิจัยเพื่อศึกษาถนนแทนที่ชั้นทางด้วยคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าผสมเถ้าชานอ้อย ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ถูกแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยในสัดส่วนร้อยละ 0-40 โดยน้ำหนักของซีเมนต์และศึกษาส่วนผสม วัสดุประสาน ต่อ ทราย ในอัตรา 1:0.5, 1:1, 1:1.5 และ 1:2 จากนั้นหล่อมอร์ตาร์เพื่อทดสอบกำลังต้านทานแรงอัดและคัดเลือกสัดส่วนเหมาะสมในการขึ้นรูปคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าโดยพิจารณาจากกำลังต้านทานแรงอัดและการเตรียมวัสดุ ในการวิจัยได้จำลองเพื่อตรวจสอบเสถียรภาพถนนแปลงทดลองความสูง 1.5 เมตร การจำลองจะที่แทนที่ชั้นทางด้วยคอนกรีตมวลเบาดังกล่าวและจำลองกรณีการสูญเสียแรงดันน้ำข้างถนนฉับพลันทั้งแบบมีและไม่มีการสัญจรบนถนนขนาด 6.0 กิโลปาสคาล ประมวลผลด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์โดยใช้แบบจำลองซอฟซอยและแบบจำลองมอร์-คูลอมบ์การวิจัยพบว่าแปลงทดลองมีเสถียรภาพลาดดินต่ำหากสูญเสียน้ำด้านข้างอย่างรวดเร็วและมีน้ำหนักกดทับจากการสัญจร แต่เมื่อแทนที่ดินบดอัดด้วยคอนกรีตมวลเบาจะเพิ่มเสถียรภาพลาดดินโดยมีอัตราส่วนความปลอดภัยมากกว่า 1.3 และเป็นไปตามเกณฑ์ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/UthenJo/article/view/3011 คอนกรีตบล็อกแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านที่ได้จากการเผาไม้กระถินณรงค์ 2024-11-11T15:16:03+07:00 วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ werasaky@yahoo.com สุคม ลิปิเลิศ sukhom.l@en.rmutt.ac.th กุลยา สาริชีวิน joopkullaya@hotmail.com สมพิศ ตันตวรนาท sompit.t@en.rmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านซึ่งเป็นการใช้ผงถ่านที่เกิดจากการเผาไม้กระถินณรงค์ สำหรับการดูดซับสิ่งปนเปื้อนจากน้ำผิวดินที่มีการปนเปื้อนน้ำเสีย เนื่องจากยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนสำหรับขนาดบล็อกที่ใช้ จึงใช้การทดสอบคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58-2560 เป็นเกณฑ์มาตรฐาน โดยอัตราส่วนผสมอ้างอิงของคอนกรีตบล็อก คือ ปูนซีเมนต์ : ทราย : น้ำ เท่ากับ 1 : 0.5 : 1 โดยน้ำหนัก และนำถ่านที่ร่อนแล้วมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในอัตราส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 0.10 0.125 0.15 0.20 และ 0.25 ต่อน้ำหนักปูนซีเมนต์ การขึ้นรูปตัวอย่างทำเป็นรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 5 x 5 x 5 เซนติเมตร เพื่อทดสอบหาค่าความต้านแรงอัด ความหนาแน่น ค่าการดูดกลืนน้ำ ผลการทดสอบพบว่าทั้ง 5 อัตราส่วน มีค่าความต้านทานแรงอัดอยู่ระหว่าง 5.19-8.57 เมกะพาสคัล หลังจากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นคอนกรึตบล็อกแบบถอดประกอบ ขนาด 15 x 25 x 10 เซนติเมตร นำไปแช่ในน้ำเพื่อดูดซับสิ่งสกปรกจากน้ำเสียเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยทำการวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าซีโอดี (Chemical oxygen demand, COD) และค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total dissolved solids, TDS) ผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง มีค่าอยู่ในช่วง 7.54-8.10 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ส่วนซีโอดี และของแข็งละลายน้ำทั้งหมดมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มอัตราส่วนผสมของผงถ่านไม้กระถินณรงค์ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าคอนกรีตบล็อกแบบถอดประกอบที่มีส่วนผสมของผงถ่านไม้กระถินณรงค์มีน้ำหนักเบา และสามารถดูดซับสิ่งปนเปื้อนในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคอนกรีตบล็อกต่อไปได้</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/UthenJo/article/view/3116 การออกแบบอุปกรณ์ควบคุมการทรงตัวสำหรับช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาคลินิกกายภาพบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางการแพทย์แห่งชาติ 2024-10-11T08:22:57+07:00 ยิ่งยง รุ่งฟ้า yingyong.r@gmail.com ธนพล ก่อฐานะ tanapol.ko@ssru.ac.th จารุกิตต์ เสพศิริ -@hotmail.com พรชัย อัจฉริยเมธากร Pornchai_Ut@rmutto.ac.th ธัญญพัทธ์ วัฒนจิรพันธุ์ Thunyaphat_Va@rmutto.ac.th ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา yananda.si@ssru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุของคลินิกกายภาพบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เพื่อนำไปออกแบบชุดควบคุมการทรงตัวที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและนำไปประเมินความพึงพอใจทางด้านการใช้งาน ขอบเขตของการวิจัยทำการออกแบบอุปกรณ์ควบคุมการทรงตัวในการเดิน และชุดควบคุมการทรงตัวในการลุกนั่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุชาย และหญิงที่มีช่วงอายุ 60 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ แบบการสัมภาษณ์นักกิจกรรมบำบัดและแบบการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้งานของอุปกรณ์ ผลการวิจัยสามารถแยกออกเป็นดังนี้ ผลการออกแบบอุปกรณ์ควบคุมทรงตัวในการเดินใช้วัสดุอลูมิเนียมทำการยึดจับส่วนต่าง ๆ ด้วยข้อต่อสำเร็จรูปที่ล็อคได้และมีการติดตั้งวัสดุกันกระแทกส่วนล้อมีทั้งหมด 2 ล้อสามารถหมุนได้รอบ ด้านหน้ามีระบบเซ็นเซอร์เพื่อป้องกันอันตรายจากการเดินชน มีกระเป๋าใส่สัมภาระ ส่วนผลการออกแบบอุปกรณ์ควบคุมทรงตัวในการลุกนั่งออกแบบที่คำนึงถึงความแข็งแรงใช้วัสดุที่ผลิตจากอลูมิเนียมยึดจับด้วยข้อต่อสำเร็จรูปซึ่งการใช้งานของอุปกรณ์ที่เป็นการใช้งานร่วมกับที่นอนผู้สูงอายุโดยการสอดไว้ใต้ที่นอนสามารถให้ผู้งอายุจับเพื่อพยุงตัวในการลุกนั่ง มีอุปกรณ์กันกระแทกตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจด้านการใช้งานของชุดควบคุมการทรงตัวสำหรับช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 2 ต้นแบบพบว่าอยู่ในระดับพึงพอใจมาก</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ อุเทนถวาย