ศิลปะสำหรับการบำบัดผู้สูงอายุ กรณีศึกษา กลุ่มประเทศนอร์ดิกส์ เอสโตเนีย สวีเดน และฟินแลนด์

ผู้แต่ง

  • สมชาย สุพิสาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • ชัยชาญ วงศ์กระจ่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • สิริโสภา องคณานุวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ 225 ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

คำสำคัญ:

ศิลปะบำบัด,ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ศิลปะเป็นกิจกรรมที่สร้างความสุขและสมดุลในชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาของประเทศกลุ่มนอร์ดิกส์ พบว่ามีการนำเสนอกิจกรรมทางศิลปะที่หลากหลาย เช่น การวาดรูป การประดิษฐ์งานศิลปะ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเรียนรู้และมีประสบการณ์ใหม่ ๆ การใช้ศิลปะในการบำบัดยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุคคลอื่น ๆ โดยหลักการแนวคิดของ Handmade Wellbeing Handbook เป็นศิลปะบำบัดของผู้สูงอายุกับผู้ดูแลที่สามารถมีประสบการณ์ที่ดีร่วมกันในการใช้ศิลปะบำบัดผู้สูงอายุที่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพทางจิตและร่างกายอีกด้วย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ศิลปะบำบัดโรคซึมเศร้าหรือโรคเกี่ยวกับการสมองเสื่อม 2) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ศิลปะกับการดูแลและการส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการของผู้สูงอายุในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ ในประเทศ เอสโตเนีย สวีเดน และฟินแลนด์ โดยมีกลุ่มประชากร ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 2) ศิลปินผู้เป็นผู้สอนศิลปะด้วยมือ 3) นักกิจกรรมผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุ 4) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมและนำมาวิเคราะห์ถึงแนวคิดและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมผู้สูงอายุที่ให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดเพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

สรุปผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุโดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลาง 2) สภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวนของผู้สูงอายุเกิดจากประสบการณ์การรับรู้ที่สะท้อนความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ดูงานศิลปะ 3) การปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดของศิลปะบำบัดเป็นการแสดงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้สูงอายุและเป็นสิ่งสำคัญ การรับรู้ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคลสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกผู้สูงอายุว่ากิจกรรมทางศิลปะมีความหมายสำหรับผู้สูงอายุในการสร้างสรรค์ทำให้ชีวิตและจิตใจของผู้สูงอายุได้รับความสุข ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมผู้สูงอายุในการใช้ชีวิต

TRANSLATE with x English Arabic Hebrew Polish Bulgarian Hindi Portuguese Catalan Hmong Daw Romanian Chinese Simplified Hungarian Russian Chinese Traditional Indonesian Slovak Czech Italian Slovenian Danish Japanese Spanish Dutch Klingon Swedish English Korean Thai Estonian Latvian Turkish Finnish Lithuanian Ukrainian French Malay Urdu German Maltese Vietnamese Greek Norwegian Welsh Haitian Creole Persian     TRANSLATE with COPY THE URL BELOW Back EMBED THE SNIPPET BELOW IN YOUR SITE Enable collaborative features and customize widget: Bing Webmaster Portal Back

References

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นรินทรา เกโส, ปิติวรรธน์ สมไทย, ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์. (2566). สุนทรียจิต: สัมพันธ์ภาพระหว่างการรับรู้ทางจิตวิทยาและความงามสู่กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะบำบัด. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(1), 163-168.

ยุพาธร เสือเฒ่า. (2561). ผลของโปรแกรมศิลปะบําบัดแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าและความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/7750/1/Fulltext.pdf

de Botton, A. and Armstrong, J. (2013). Art as therapy. Phaidon Press.

Draxl, E., Fischer, A., Kokko, S., Kästik, H. Salovaara, M. and Stedman, J. (2017). Handmade Wellbeing Handbook, University of Helsinki. https://helda.helsinki.fi/items/9250c303-31dd-4bb5-a951-53bc4317d9aa

Salovaara, M. & Kokko, S. (2019). Developing craft pedagogy for older adults in care settings. In C. Vilhena & M. H. Gregório (eds), The contributions of education and learning for older adults’ well-being: Proceedings of the 9th Conference of the ESREA-Research Network on Education and Learning of Older Adults (ELOA). University of Algarve, Gambelas, pp. 214-231. http://hdl.handle.net/10138/313928

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25