การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเศษเหลือต้นครามจากกระบวนการหมักสีธรรมชาติมาผลิตเป็นกระดาษหัตถกรรม
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v12.2023.392คำสำคัญ:
เศษเหลือต้นคราม, องค์ประกอบเคมี, กระดาษหัตถกรรมบทคัดย่อ
ต้นครามจัดเป็นพืชตระกูลถั่ว มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ชอบน้ำน้อยและแดดจัด นิยมปลูกทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้า เนื่องจากให้สีสวยงามและคงทน หลังกระบวนการผลิตครามจะก่อให้เกิดเศษเหลือทิ้งของต้นครามหลังการหมัก(สกัดสี) งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเศษเหลือต้นครามหลังกระบวนการหมักสีธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษหัตถกรรม เพื่อลดปริมาณและเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือต้นคราม โดยมีขั้นตอนดังนี้ เริ่มจากศึกษาองค์ประกอบเคมีของเศษต้นครามหลังการหมัก นำไปผลิตเป็นเยื่อครามด้วยกระบวนการผลิตเยื่อวิธีโซดา และปรับปรุงคุณภาพเยื่อด้วยการบด เพื่อให้เหมาะสมสำหรับขึ้นรูปแผ่นกระดาษหัตถกรรม จากนั้นนำไปทดสอบคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และทัศนศาสตร์ ตลอดจนทดลองแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ จากการศึกษาพบว่าต้นครามมีปริมาณโฮโลเซลลูโลสร้อยละ 28.6 และลิกนินร้อยละ 12.1 หลังผ่านกระบวนการผลิตเยื่อแบบโซดามีปริมาณผลผลิตเยื่อครามอยู่ที่ร้อยละ 58.3 และมีค่าความเป็นอิสระของน้ำเยื่อ 190 ml (CSF) ที่ระดับการบดเยื่อ 3 นาที สามารถขึ้นแผ่นกระดาษหัตถกรรมจากเยื่อเศษเหลือต้นครามโดยไม่ต้องผสมเยื่อชนิดอื่นหรือสารเติมแต่ง แผ่นกระดาษที่เตรียมได้จากส่วนผสมลำต้นและใบมีดัชนีความต้านแรงดึง 9.63 Nm/g ดัชนีความต้านแรงฉีกขาด 8.28 mN.m2/g ดัชนีความต้านแรงดันทะลุ 0.69 kPa.m2/g และสามารถแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสิ่งของน้ำหนักเบาได้
References
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักวิทยบริการ งานข้อมูลท้องถิ่น. คราม: ไม้ย้อมสีธรรมชาติ [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ป.] [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/tint/?page_id=59
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประชาชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, คู่มือการผลิตผ้าย้อมคราม [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทมูฟเม้นท์ เจน ทรี จำกัด; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rdpb.go.th/UploadNew/Documents/ผ้าย้อมคราม.pdf
กรมส่งเสริมการเกษตร. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร สมุนไพรและเครื่องเทศ (คราม) ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://production.doae.go.th
เกษตรอินเทรน. ปลูกครามแซมสวนหม่อน หนึ่งช่องทางเสริมรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม [อินเทอร์เน็ต] 2560 [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_37502
ครองใจ โสมรักษ์, พิจิกา ทิมสุกใส, สุจินต์ เจนวีรวัฒน์. อิทธิพลของอายุเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์คราม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 2563;38:426-33
Henriksson G, Brannvall E, Lennholm H. The Trees. In Ek M, Gellerstedt G, Henriksson G, editors. Pulp and paper chemistry and technology volume 1 wood chemistry and wood biotechnology. Stockholm: School of Chemical Science and Engineering Royal Institute of Technology; 2009 p.13-44.
Ferdous T, Ni Y, Quaiyyum MA, Uddin MN, Jahan MS. Non-wood fibers: Relationships of fiber properties with pulp properties. ACS Omega 2021;6:21613-22.
Kawase K. Chemical components of wood decayed under natural condition and their properties. J Fac Agric Hokkaido Univ.1962;52:186-245.
Shakhes J, Zeinaly F, Marandi M, Saghafi T. The Effects of processing variables on the soda and soda-AQ pulping of kenaf bast fiber. BioResources 2011;6:4626-39.
Leponiemi A. Non-wood pulping possibilities – a challenge for the chemical pulping industry. Appita J. 2008;61:234-43.
Sehaqui H, Zhou Q, Berglund L.A. Nanofibrillated cellulose for enhancement of strength in high- density paper structures. Nord Pulp Pap Res J. 2013;28:182-89.
Ardsamang T, Puthson P, Somboon P. Effect of long-fiber hardwood kraft pulp from Baccaurea ramiflora Lour. on handsheet properties of pulp blends. Agric Nat Resour. 2020;54:287-94.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระดาษเหนียว. มอก.170-2550. กรุงเทพฯ: สมอ.; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.