ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
ตัวอย่างขนาดเล็ก, แรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น , การถดถอยแบบควอนไทล์ , การถดถอยแบบควอนไทล์บูตสแตรปบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก และหาตัวแบบการพยากรณ์ค่าระดับแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น โดยทำการเปรียบเทียบตัวแบบการวิเคราะห์การถดถอยแบบควอนไทล์ (Quantile Regression) กับตัวแบบการถดถอยควอนไทล์แบบบูตสแตรป (Bootstrapped Quantile Regression) โดยใช้ค่าความกว้างของช่วงความเชื่อมั่นของค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับ B1 ในสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และใช้การเลือกตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับ B1 รุ่นที่ 11 จำนวน 37 คน โดยใช้แบบสอบถาม แรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น และมีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น, ทัศนคติที่มีต่อคนญี่ปุ่น และภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ผลการวิจัยพบว่าวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบ ควอนไทล์ที่ระดับควอร์ไทล์ที่ 2 เป็นตัวแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น โดยมีค่าประมาณสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์สเปียร์แมน เท่ากับ 0.541
References
กนก รุ่งกีรติกุล, ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ, รุ่งฤดี เลียวกิตติกุล, วันชัย สีลพัทธ์กุล, และ หทัยวรรณ เจียมกีรติกานนท์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความอยากเรียนของผู้เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(2), 64-87.
ถวิล นิลใบ. (2562). ควอนไทล์รีเกรสชั่น (Quantile Regression) [เอกสารประกอบการบรรยาย]. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.eco.ru.ac.th/images/gallery/km/KMecon.pdf
ยุพกา ฟูกุชิม่า, กนกพร นุ่มทอง, และ สร้อยสุดา ณ ระนอง. (2556). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างไร. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(1), 27-40.
สายัณห์ กอเสถียรวงศ์. (2564). ความเชื่อและความคาดหวังของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยต่อการเรียนวิชาการเขียนภาษาญี่ปุ่น. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(1), 35-58.
ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (มปป). ประวัติความเป็นมา. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2566 ,จาก
https://sites.google.com/a/asia.tu.ac.th/languagesieas/
Furuoka, F., Nikitina, L., & Paidi R. (2019). Using bootstrapped quantile regression analysis for small sample research in applied linguistics: Some methodological considerations. PLoS ONE, 14(1), 1-19. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0210668
O.John, O. (2015). Robustness of Quantile Regression to Outliers. American Journal of Applied Mathematics and Statistics, 3(2), 86-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว