https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/issue/feed วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม 2024-12-03T14:22:38+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริทิพ วะศินรัตน์ sirithip.w@chandra.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม<br /></strong><strong>Science Journal, Chandrakasem Rajabhat University</strong></p> <p>ISSN 2697-4584 (online)</p> <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จัดทำขึ้นพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งในรูปแบบบทความวิจัยและวิชาการ ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ ที่จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อลงวารสารอื่น ๆ กลุ่มเป้าหมายคือ อาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถูกพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน</p> <p>วารสารมีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ผู้ส่งผลงานตีพิมพ์บทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย</p> https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3430 บรรณาธิการแถลง 2024-12-03T14:03:54+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร. อำนาจ สวัสดิ์นะที science.cru.journal@chandra.ac.th <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (Science Journal Chandrakasem Faculty of Science Chandrakasem Rajabhat University) ซึ่งฉบับนี้เป็นปีที่ 34 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2567 <br />โดยวารสารฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัยทั้งสิ้น 7 เรื่อง บทความวิชาการ 1 เรื่อง และทุกบทความได้รับการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน</p> <p>โดยวารสารออนไลน์ใช้ระบบ ThaiJO 2.0 มีหมายเลข ISSN (Online) คือ 2697-4584 และวารสารเป็นเล่ม มี ISSN (Print) คือ 1685-0491 ซึ่งวารสารมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ จากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์มุ่งมั่นที่จะปรับระดับคุณภาพของวารสารให้พร้อมที่จะเข้าสู่การประเมินคุณภาพวารสารในฐาน TCI ต่อไป</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารขอขอบคุณผู้นิพนธ์บทความทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการส่งบทความ จำนวน<br />8 บทความ (บทความภายนอก 8 บทความ) เพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2567 กองบรรณาธิการฯ ขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่กรุณาสละเวลาในการตรวจสอบคุณภาพของบทความและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ยิ่ง สุดท้าย ขอขอบคุณ ทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำให้รูปเล่มของวารสารให้มีความสมบูรณ์</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3093 แนวทางการพัฒนามาตรฐานผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดียมืออาชีพ 2024-07-23T09:12:25+07:00 สันติ ครองยุทธ santikrongyuth@gmail.com มานิตย์ โศกค้อ s.manit28@gmail.com กิตติธร กลางประพันธ์ kittithon.kl@rmuti.ac.th <p>บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนามาตรฐานสำหรับผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดีย (Influencer) ข้อมูลที่นำเสนอเกิดจากการทบทวนและวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบมาตรฐานที่ครอบคลุมสำหรับแนวทางการพัฒนาผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดียระดับมืออาชีพ ด้วยการแนะนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมที่ดี หลักปฏิบัติในบริบทของวัฒนธรรมสำหรับผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดีย การนำเสนอเนื้อหา การมีส่วนร่วมของผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดียและผู้ชม การปฏิบัติอย่างมืออาชีพ ความสามารถในการปรับตัวและนวัตกรรม และแนวโน้มอนาคตของการตลาดแบบใช้ผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดีย เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือและเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังสนับสนุนความร่วมมือระหว่างผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดียและผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มการมองเห็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการและผลักดันการเติบโตของยอดขาย ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการนำเสนอบทความทางวิชาการนี้คือ การสร้างระบบนิเวศสำหรับผู้ส่งเสริมการขายในโซเชียลมีเดียมืออาชีพที่ชัดเจน</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2925 การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง 2024-05-24T09:03:40+07:00 อมรรัตน์ สีสุข amornrat.se@chandra.ac.th ณัฐิวุฒิ พูลสวัสดิ์ amornrat.se@chandra.ac.th เกียรติพงษ์ ยอดเยี่ยมแกร amornrat.se@chandra.ac.th ศรีอุดร แซ่อึ้ง amornrat.se@chandra.ac.th <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อโมชันกราฟิก 3) เพื่อประเมินความ<br />พึงพอใจของผู้ชมสื่อโมชันกราฟิก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาด้วยแอปพลิเคชันเอไลท์โมชัน เรื่อง ภาวะอ้วนลงพุง เเบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคคลที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง 35-60 ปี จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลปัญหาและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ การออกแบบสื่อ สร้างสตอรี่บอร์ด ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อ พัฒนาและสร้างสื่อโมชันกราฟิก ตรวจสอบความถูกต้องและทำการแก้ไข ทำการประเมินประสิทธิภาพของสื่อจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจของสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้น มีความยาว 2.12 นาที ผลการประเมินประสิทธิภาพ 3 ด้าน จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.67, S.D. = 0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.74, S.D. = 0.50)</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3017 พฤกษเคมีและประสิทธิภาพของใบเทียนบ้าน (Impatiens balsamina L.) ในการยับยั้งเชื้อแอสเปอร์จิลลัส 2024-06-11T19:12:16+07:00 รัฐพล ศรประเสริฐ ratapol.sor@gmail.com เขมจิรา โกเมศ sornprasert_r@hotmail.com ธัญญา สินเพ็ชร์ sornprasert_r@hotmail.com เบญจวรรณ ศิริหัตถ์ sornprasert_r@hotmail.com สุพัตรา พรหมเทพ sornprasert_r@hotmail.com ปิยะ บริสุทธิ์เพ็ชร์ sornprasert_r@hotmail.com ณัฐธิดา พุ่มกะเนา sornprasert_r@hotmail.com อนงคณ์ หัมพานนท์ sornprasert_r@hotmail.com อาทิตย์ ศรีประไพ sornprasert_r@hotmail.com กิตติพล กสิภาร์ sornprasert_r@hotmail.com <p>เก็บตัวอย่างเทียนบ้านจากบริเวณงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เมื่อนำไปตรวจสอบกับตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ ณ สำนักงานหอพรรณไม้ ผลปรากฏว่าสอดคล้องกับ BKF.No.14240 ชนิด <em>Impatiens balsamina</em> L. เมื่อนำใบสด 100 กรัม ไปอบจะได้น้ำหนักแห้ง 13.08 กรัม นำไปบดจะมีลักษณะเป็นผงละเอียดขนาด 100 ไมครอน มีกลิ่นสีเขียวของใบไม้ มีค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 47.09, 2.33 และ 17.11 ตามลำดับ จากนั้นนำไปสกัดโดยใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดหยาบที่ได้มีลักษณะข้นหนืด มีค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 20.43, 1.81 และ -1.51 ตามลำดับ มีกลิ่นสีเขียวของใบไม้ มีร้อยละผลผลิตสารสกัดหยาบเท่ากับ 15.53 การวิเคราะห์พฤกษเคมีของสารสกัดหยาบพบ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (cardiac glycosides) ซาโปนิน (saponins) แทนนิน (tannins) และฟิโนลิค (phenolics) แต่ไม่พบฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กับ อัลคาลอยด์ (alkaloids) ประสิทธิภาพของใบเทียนบ้านในการยับยั้งเชื้อแอสเปอร์จิลลัส (<em>Aspergillus</em>) พบว่าอาหารพีดีเอผสมใบเทียนบ้าน 10 และ 5 กรัม สามารถยับยั้ง <em>Aspergillus</em><em> flavus </em>TISTR 3130 ที่การยับยั้งร้อยละ 32.74 และ 28.38 ตามลำดับ ยับยั้ง <em>A. niger</em> TISTR 3012 ที่การยับยั้งร้อยละ 18.86 และ 12.86 ตามลำดับ และยับยั้ง <em>A. terreus</em> TISTR 3109 ที่การยับยั้งร้อยละ 20.40 และ 15.65 ตามลำดับ</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2965 ผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ 2^x-15^y=z^2 และ 3^x-15^y=z^2 2024-07-24T08:53:15+07:00 สุธน ตาดี suton.t@lawasri.tru.ac.th <p>ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาหาผลเฉลยทั้งหมดของสมการไดโอแฟนไทน์ <img title="2^{x}-15^{y}=z^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?2^{x}-15^{y}=z^{2}"> &nbsp;และ <img title="3^{x}-15^{y}=z^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?3^{x}-15^{y}=z^{2}">&nbsp; เมื่อ <img title="x,y" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?x,y">&nbsp;และ <img title="z" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?z">&nbsp;เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ โดยใช้ความรู้พื้นฐานของสมภาคและทฤษฎีบทของมิไฮเลสคู ผลการวิจัย พบว่า สมการไดโอแฟนไทน์ <img title="2^{x}-15^{y}=z^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?2^{x}-15^{y}=z^{2}"> มีผลเฉลยจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ <img title="\left ( x,y,z \right )" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\left&amp;space;(&amp;space;x,y,z&amp;space;\right&amp;space;)"> สี่ผลเฉลย คือ&nbsp;<img title="\left ( 0,0,0 \right ),\left ( 1,0,1 \right ),\left ( 4,1,1 \right )" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\left&amp;space;(&amp;space;0,0,0&amp;space;\right&amp;space;),\left&amp;space;(&amp;space;1,0,1&amp;space;\right&amp;space;),\left&amp;space;(&amp;space;4,1,1&amp;space;\right&amp;space;)">&nbsp; และ <img title="\left ( 6,1,7 \right )" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\left&amp;space;(&amp;space;6,1,7&amp;space;\right&amp;space;)">&nbsp;และสมการไดโอแฟนไทน์ <img title="3^{x}-15^{y}=z^{2}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?3^{x}-15^{y}=z^{2}"> มีผลเฉลยจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ&nbsp;<img title="\left ( x,y,z \right )" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\left&amp;space;(&amp;space;x,y,z&amp;space;\right&amp;space;)"> &nbsp;เพียงผลเฉลยเดียว คือ <img title="\left ( 0,0,0 \right )" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\left&amp;space;(&amp;space;0,0,0&amp;space;\right&amp;space;)"></p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3016 การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน Concrete-Pictorial-Abstract 2024-06-24T08:45:02+07:00 นิภาพร อินดีสี eawzii@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน Concrete-Pictorial-Abstract (CPA) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน CPA ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชลประทานสงเคราะห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิต จำนวน 24 ข้อ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน CPA จำนวน 16 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Wilcoxon Matched Paired Singed Rank Test และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน Concrete-Pictorial-Abstract เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน CPA เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2957 สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเครื่องดื่มเสริมอาหารจากผงกล้วยน้ำว้า ฟักทอง บัวบก และขมิ้นชัน ที่ผ่านการทำแห้งแบบโฟมแมท 2024-05-29T12:43:09+07:00 วนิดา โอศิริพันธุ์ vanida.o@rsu.ac.th ศศิรินทร์ แลบัว Vanida.o@rsu.ac.th ชิตสุดา ชัยศักดานุกูล Vanida.o@rsu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ บีตา-แคโรทีน โพแทสเซียม ทริปโตเฟน วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มเสริมอาหารที่มีส่วนผสมของผงกล้วยน้ำว้า ฟักทอง บัวบก และขมิ้นชันที่ทำแห้งด้วยวิธีโฟมแมท และอบแห้งที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาบดเป็นผง โดยศึกษาแปรผันปริมาณวัตถุดิบผงแตกต่างกันจำนวน 4 สูตร ผลการศึกษาพบว่าสูตรที่มีส่วนผสมของผงกล้วยน้ำว้าร้อยละ 65 ผงฟักทองร้อยละ 30 ผงบัวบกร้อยละ 3 และผงขมิ้นชันร้อยละ 2 เป็นสูตรที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเท่ากับ 1125.75 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแอสคอร์บิก/ 100 กรัม และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากที่สุด โดยในผลิตภัณฑ์ 100 กรัม มีปริมาณบีตา-แคโรทีน 0.566 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 580.3 มิลลิกรัม กรดอะมิโนทริปโตเฟน 447.91 มิลลิกรัม ปริมาณวิตามินบี 1 เท่ากับ 126.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 เท่ากับ 1192.46 มิลลิกรัม และวิตามินบี 12 เท่ากับ 68.34 มิลลิกรัม มีค่าสีคือ ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง/เขียว (a*) และค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 72.07, -11.07 และ 31.97 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มีค่า Aw 0.37 และมีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า เส้นใยหยาบ และคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 2.78, 19.93, 3.08, 3.64, 0.43 และ 70.14 ตามลำดับ</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3195 การศึกษาความเหมาะสมในการรับกำลังอัดของคอนกรีตที่ผสมอิฐมอญและพลาสติกเหลือทิ้ง 2024-10-28T16:33:58+07:00 อริญชย์ มิ่งโสภา arin.m64@chandra.ac.th แดน อุตรพงษ์ arin.m64@chandra.ac.th เสาวรส หะสิตะ arin.m64@chandra.ac.th ไชยนันท์ รัตนโชตินันท์ arin.m64@chandra.ac.th กฤช คำณูนธรรม arin.m64@chandra.ac.th จุฬาวัลย์ นนตะพันธ์ arin.m64@chandra.ac.th กิตติชัย รัตนโชตินันท์ arin.m64@chandra.ac.th ศรัทธา พลังทรงสถิต arin.m64@chandra.ac.th จรัล รัตนโชตินันท์ arin.m64@chandra.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาของคอนกรีตที่ทำการผสมอิฐมอญและพลาสติกเหลือทิ้ง ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยใช้แบบหล่อตัวอย่างลูกบาศก์ขนาด 15x15x15 cm (มาตรฐาน ASTM C192) ซึ่งอิฐมอญที่ใช้เป็นอิฐมอญที่ใช้เป็นเศษอิฐมอญที่เหลือทิ้งจากการก่อสร้างหรือแตกหักไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้นำไปบด ให้ได้ขนาดตามต้องการและนำไปเป็นส่วนผสมเพิ่มปริมาณเริ่มต้นตั้งแต่ ร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ15 โดยมีตัวอย่างคอนกรีตที่ผสมอิฐมอญ ร้อยละ 5 , ร้อยละ 10 และผสมพลาสติก 50 กรัม , ร้อยละ 15 และผสมพลาสติก 120 กรัม เพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติในการรับกำลังอัดของคอนกรีต โดยทำการเปรียบเทียบระหว่าง คอนกรีตที่ผสมวัสดุเหลือทิ้ง ที่ทำการบ่มน้ำและไม่บ่มน้ำ ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ตั้งแต่ 7 วัน , 14 วัน , และ 28 วัน ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติในการรับกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่ได้ทำการผสมวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างและจัดการปัญหาขยะได้</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3254 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำ 2024-10-24T15:29:11+07:00 อภิรดา พรปัณณวิชญ์ aear2002@hotmail.com สุพรรณิการ์ กล่อมจอหอ aear2002@hotmail.com <p>ไข่น้ำเป็นแหล่งอาหารทางเลือกจากพืชท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการแก่อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต งานวิจัยนี้ประกอบด้วยสิ่งทดลอง 7 สิ่งทดลองตามลำดับดังนี้ สิ่งทดลองที่ 1) ชุดควบคุม 2) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 5 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 3) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 10 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 4) เสริมไข่น้ำสดร้อยละ 15 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 5) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 5 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 6) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 10 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด 7) เสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 ของน้ำหนักแป้งทั้งหมด จากการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนจากไข่น้ำพบว่าการใช้ไข่น้ำสดและไข่น้ำอบแห้งส่งผลให้ค่าสี L* a* และ b* ของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เส้นก๋วยเตี๋ยวชุดควบคุม เส้นก๋วยเตี๋ยวที่เสริมไข่น้ำสด และเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เสริมไข่น้ำอบแห้งมีค่าปริมาณน้ำอิสระไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยมีค่าปริมาณน้ำอิสระ 0.60–0.62 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำสดและไข่น้ำอบแห้งมีปริมาณโปรตีนสูงกว่าชุดควบคุม โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวชุดควบคุมมีโปรตีนร้อยละ 3.90 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำสดมีโปรตีนร้อยละ 4.06-4.14 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำอบแห้งมีโปรตีนร้อยละ 4.47-4.98 เส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 มีค่าเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากเส้นก๋วยเตี๋ยวสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่มีปริมาณโปรตีนสูงกว่า ในด้านคุณค่าทางโภชนาการเส้นก๋วยเตี๋ยวเสริมโปรตีนไข่น้ำอบแห้งร้อยละ 15 ให้คุณค่าทางโภชนาการต่อตัวอย่าง 100 กรัม ดังนี้ ค่าพลังงาน 182.49 กิโลแคลอรี โปรตีน 4.38 กรัม คาร์โบไฮเดรต 26.93 กรัม ไขมัน 7.25 กรัม เส้นใย 2.29 กรัม และเถ้า 0.81 กรัม ดังนั้นการเสริมไข่น้ำในเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ผลิตภัณฑ์ เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะขาดโปรตีนและพลังงานสำหรับบุคคลในวัยต่างๆได้ และ ส่งเสริมด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน</p> 2024-12-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม