จริยธรรมการรับตีพิมพ์

วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีความมุ่งมั่นในการเป็นสื่อกลางในการผสานงานระหว่างผู้แต่ง และผู้ประเมิน ตลอดจนเผยแพร่งานวิจัยสู่สังคมภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปรงใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ จึงได้กำหนดมาตราฐานของมาตรฐานทางจริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และผู้แต่ง (Author) ดังนี้

หน้าที่ของบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบบทความที่เข้ามาใหม่ร่วมกับกองบรรณาธิการ โดยพิจารณาจากความทันสมัย ความชัดเจน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร อีกทั้งยังเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารอื่นมาก่อน เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินตลอดกระบวนการพิจารณาบทความ
  3.  บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือแหล่งอื่นมาแล้ว
  4. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากตรวจพบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ บรรณาธิการ จะติดต่อผู้ประเมินให้ชี้แจง เพื่อตัดสินใจให้บทความนั้นยังอยู่ในระบบการพิจารณาต่อไป หรือ ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
  5. บรรณาธิการต้องมีกระบวนการและขั้นตอนในการพิจารณาตลอดจนตีพิมพ์ที่รัดกุมเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลงานวิชาการเผยแพร่ในวารสาร
  6. บรรณาธิการจะไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในบทความของผู้นิพนธ์และผลประเมินของผู้ประเมินบทความ
  7. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ ตลอดจนไม่นำบทความไปใช้ในเชิงธุรกิจ

หน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ รวมทั้งไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาหรือส่งเพื่อตีพิมพ์ที่อื่นซ้ำในเรื่องเดียวกัน และไม่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
  2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงาน ไม่ว่าจะเป็นผลงานส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด จากผลงานทางวิชาการของบุคคลอื่น
  3. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่รายงานผลงานวิจัยหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ
  4. ผู้นิพนธ์จะต้องปรับรูปแบบของบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่ทางวารสารกำหนด ตลอดจนการอ้างอิงในบทความต้องถูกต้องตามรูปแบบและมีอยู่จริงในฐานข้อมูล
  5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน จะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยจริง
  6. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบเนื้อหาของบทความต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำงานวิจัยหรือระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินบทความจะพิจารณาบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ และจะประเมินบทความนั้น ภายใต้หลักเกณฑ์ทางวิชาการ ตลอดจนไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
  2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ถูกส่งมาพิจารณาแก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดการพิจารณา
  3. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และควรแจ้งปฏิเสธการพิจารณาบทความต่อบรรณาธิการทราบ
  4. หากผู้ประเมินบทความตรวจพบว่าบทความมีการคัดลอกมาจากผลงานอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ พร้อมแสดงหลักฐานการคัดลอกที่ตรวจพบแก่กองบรรณาธิการทันที
  5. ผู้ประเมินบทความควรดำเนินการประเมินตามกรอบระยะเวลาการประเมินที่ตกลงร่วมกันกับกองบรรณาธิการ