วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru <p><strong>วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม<br /></strong><strong>Science Journal, Chandrakasem Rajabhat University</strong></p> <p>ISSN 2697-4584 (online)</p> <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดูแลโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จัดทำขึ้นพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งในรูปแบบบทความวิจัยและวิชาการ ทั้งภาษาไทยภาษาอังกฤษ ที่จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อลงวารสารอื่น ๆ กลุ่มเป้าหมายคือ อาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถูกพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน</p> <p>วารสารมีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ผู้ส่งผลงานตีพิมพ์บทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย</p> th-TH <p><strong>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม</strong></p> <p>ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว</p> sirithip.w@chandra.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริทิพ วะศินรัตน์) thunchanoke.r@chandra.ac.th (คุณธันชนก รัตนะคุณ) Thu, 13 Jun 2024 14:14:52 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บรรณาธิการแถลง https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3031 <p>วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (Science Journal Chandrakasem Faculty of Science Chandrakasem Rajabhat University) ซึ่งฉบับนี้เป็นปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2567 <br>โดยวารสารฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัยทั้งสิ้น 8 เรื่อง และทุกบทความได้รับการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน</p> <p>โดยวารสารออนไลน์ใช้ระบบ ThaiJO 2.0 มีหมายเลข ISSN (Online) คือ 2697-4584 และวารสารเป็นเล่ม มี ISSN (Print) คือ 1685-0491 ซึ่งวารสารมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ จากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์มุ่งมั่นที่จะปรับระดับคุณภาพของวารสารให้พร้อมที่จะเข้าสู่การประเมินคุณภาพวารสารในฐาน TCI ต่อไป</p> <p>กองบรรณาธิการวารสารขอขอบคุณผู้นิพนธ์บทความทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจในการส่งบทความ จำนวน<br>8 บทความ (บทความภายนอก 8 บทความ) เพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2567 กองบรรณาธิการฯ ขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่กรุณาสละเวลาในการตรวจสอบคุณภาพของบทความและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ยิ่ง สุดท้าย ขอขอบคุณ ทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ทำให้รูปเล่มของวารสารให้มีความสมบูรณ์</p> รองศาสตราจารย์ ดร. อำนาจ สวัสดิ์นะที Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/3031 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางในการลดปัญหาทางการยศาสตร์ กรณีศึกษาโรงงานปุ๋ยเคมีในจังหวัดปทุมธานี https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/700 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ปัญหาทางการยศาสตร์และหาแนวทางการลดปัญหาด้านการยศาสตร์ของแรงงานในขั้นตอนการบรรจุและจัดจำหน่ายของโรงงานปุ๋ยเคมีแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เนื่องจากมีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงที่สุดและจากการสำรวจท่าทางการทำงานและพฤติกรรมการยกและย้ายของพนักงานพบว่า มีปัญหาทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อสุขภาพและการลาป่วยของพนักงาน ซึ่งมีอัตราการลาป่วยเฉลี่ย 4.75 วัน/ปี ซึ่งเกิดจากการใช้ท่าทางการยกและย้ายกระสอบปุ๋ยไม่เหมาะสม และยังมีการยกย้ายด้วยน้ำหนักที่มากเกินกว่าเกณฑ์การประเมิน โดยจากการประเมินด้วยวิธี REBA พบว่า ขั้นตอนกระบวนการบรรจุ มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงมาก (12 คะแนน) และจากการประเมินด้วยตาราง Snook พบว่า น้ำหนักของปุ๋ยเคมีที่พนักงานยกและย้ายนั้นเกินจากที่กำหนด <br />10 เท่า ดังนั้นผู้วิจัยจึงออกแบบเครื่องมือให้เหมาะสมและปรับเปลี่ยนท่าทางการยกและย้ายให้ถูกหลักการยศาสตร์มากขึ้น แล้วทำการประเมินด้วยวิธี REBA ซ้ำหลังการปรับปรุงพบว่าระดับเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นระดับที่ยอมรับได้ และประเมินด้วยตาราง Snook แล้วพบว่ามีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับต่ำ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการแนะนำพนักงานเกี่ยวกับการใช้งานชุดอุปกรณ์ช่วยยก และวิธีการยกที่เหมาะสมที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน</p> ชลทิชา ใจบรรทัด, จเร เลิศสุดวิชัย Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/700 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace : กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1263 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยการศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในชุมชนท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในรูปแบบ Marketplace ของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ ชุมชนและนักท่องเที่ยว ในส่วนชุมชนโดยเลือกแบบเจาะได้แก่ ชุมชนบ้านหินเทิน ชุมชนม้าร้อง ชุมชนอ่าวน้อยและชุมชนทุ่งประดู่ และ นักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ แบบสอบถามเพื่อรวบรวมพฤติกรรมและความต้องการฟังก์ขันของแอปพลิเคชัน วิธีการวิจัยโดยพัฒนาระบบตามแนวทางทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบเป็นตามลำดับขั้นตอนตามแนวคิด (System Development Life Cycle: SDLC) ร่วมกับการใช้รูปแบบอไจล์ (Agile Methodology) ผลของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ในรูปแบบ Marketplace ประกอบไปด้วยฟังก์ชัน ค้นหากิจกรรม การระบุตำแหน่งใน GPS จัดเรียงลำดับคะแนนจากการรีวิว ฟังก์ชันรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ฟังก์ชันการจองและชำระเงิน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของระบบมีค่าเฉลี่ยรวม 4.25 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ดังนั้นแอปพลิเคชันดังกล่าว สามารถเป็นต้นแบบ เพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยรูปแบบ Marketplace จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สิทธิชัย วรโชติกำจร, พัชราภรณ์ วรโชติกำจร, ณัฐวรรธก์ ดิตถะวิโรจน์, ภูมิภัทร อภิวรรณศรี, จิรภัทร นาคสนองสกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1263 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนักโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1573 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 2 แผน แบบฝึกทักษะและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 79.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5</p> ชินวัตร์ ชินแสน, สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1573 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 ตัวแบบการใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการเพื่อตรวจหารอยร้าวคอนกรีต https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1992 <p>งานวิจัยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการใช้ปัญญาประดิษฐ์ด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ (Convolutional Neural Network: CNN) เพื่อตรวจหารอยร้าวคอนกรีตแบบอัตโนมัติของงานสิ่งก่อสร้าง ช่วยลดความจำเป็นในการตรวจสอบด้วยตนเอง ชุดข้อมูลที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์การแตกร้าวที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อฝึกฝนและทดสอบให้มั่นใจถึงความแข็งแกร่งในการตรวจจับการแตกร้าวในบริบทต่างๆ นอกจากการปรับปรุงความแม่นยำและความสม่ำเสมอแล้ว วิธีการที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยการตรวจสอบพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงหรืออันตราย นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพโดยอำนวยความสะดวกในการประเมินอย่างรวดเร็วของไซต์ขนาดใหญ่หรือหลายไซต์ วิธีการนี้ช่วยให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งสามารถป้องกันความวิบัติของโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างคอนกรีตพื้นฐาน ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าตัวโมเดลมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยจำแนกอินสแตนซ์ได้ถูกต้อง 39,482 รายการจาก 40,000 รายการ ส่งผลให้มีความแม่นยำถึง 98.705% นอกจากนี้ มาตรวัดค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เช่น True Positive Rate, False Positive Rate, Precision, Recall และ F-Measure ได้สะท้อนถึงความแม่นยำระดับสูงนี้ โดยเกณฑ์เกือบทั้งหมดอยู่ที่ 0.987 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโมเดลของ CNN มีประสิทธิภาพสูงมาก ในขณะที่ผลการวิจัยจากการใช้วิธีการแบ่งสัดส่วนข้อมูลที่ 70/30 ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยแสดงให้เห็นว่าตัวแบบของโมเดลยังคงมีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งให้ผลการทำนายอินแสตนซ์ที่ถูกต้องจำนวน 11,829 (98.575%) และผิดพลาดแค่ 171 (1.425%) รายการ</p> ประวัติ สุวรรณะดิษฐกุล, วิภาวรรณ บัวทอง, พิทา จารุพูนผล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1992 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 ระบบต้นแบบในการตรวจสอบการขึ้น-ลงโดยสารของนักเรียนโดยใช้อุปกรณ์ IoT https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1993 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบตรวจสอบการขึ้น-ลงโดยสารของนักเรียนเพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิตของเด็กนักเรียนในรถโรงเรียนจากความผิดพลาดที่เกิดจากปัจจัยมนุษย์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของนักเรียนระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน ระบบใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการติดตาม (Global Positioning System: GPS) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และแอปพลิเคชันมือถือ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมสำหรับการตรวจสอบเส้นทางรถโรงเรียน การขึ้นและลงรถของนักเรียน และสถานการณ์ฉุกเฉิน วิธีการที่ใช้ในการศึกษานี้ครอบคลุมการวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การออกแบบและการพัฒนาระบบ และการทดสอบนำร่องในเขตการศึกษาที่เลือก ประสิทธิภาพของระบบได้รับการตรวจสอบตามข้อกำหนดทั้งด้านการทำงานและที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน เพื่อให้มั่นใจถึงความน่าเชื่อถือ การใช้งาน และความปลอดภัย ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าต้นแบบตรวจสอบการขึ้น-ลงโดยสารของนักเรียน สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการลืมนักเรียนในรถโรงเรียน จากการทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่ตอบสนองความต้องการทางด้านฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น การมองเห็นตำแหน่งรถบัสแบบเรียลไทม์ การแจ้งเตือนผู้ปกครองและผู้บริหารโรงเรียนอย่างทันท่วงที และปรับปรุงช่องทางการสื่อสารเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งงานในอนาคตมีเป้าหมายเพื่อขยายการนำระบบไปใช้ในโรงเรียนต่างๆ บูรณาการกับโรงเรียนที่มีอยู่และระบบขนส่งสาธารณะ และปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ผ่านการตอบรับอย่างต่อเนื่องและการวิเคราะห์ขั้นสูง</p> สุทธิพงศ์ ประทุม, วิภาวรรณ บัวทอง, พิทา จารุพูนผล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/1993 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2281 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าคลอดทางหน้าท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการวางแผนการผ่าคลอดทางหน้าท้องแบบรอได้ (Elective case) คือผู้ป่วยที่นัดผ่าตัดไว้ล่วงหน้าตามตารางการผ่าตัดที่โรงพยาบาลหนองไผ่ ระหว่างเดือน มกราคม 2567 ถึง มีนาคม 2567 จำนวน 60 ราย โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย โดยการจับฉลาก จัดเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดสำหรับพยาบาล, แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย, แบบประเมินความปวดหลังผ่าตัด, แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลจัดการความปวด เก็บข้อมูลความปวดหลังผ่าคลอดทางหน้าท้องทุก 2 ชั่วโมง จนครบ 48 ชั่วโมง นำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลเพื่อจัดการความปวดและคะแนนเฉลี่ยความปวดของผู้ป่วยด้วยสถิติ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความปวดเฉลี่ยหลังผ่าตัดที่ 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value &lt;0.05) โดยกลุ่มทดลองมีระดับความปวดที่ 2.37 และ 1.47 กลุ่มควบคุมมีระดับความปวดที่ 7.53 และ 6.57 ตามลำดับ ความพึงพอใจของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในด้านที่ 1 ด้านการให้ข้อมูลการจัดการความปวดในระยะก่อนผ่าตัดที่ระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยกลุ่มทดลอง 3.91 และกลุ่มควบคุม 3.13 ด้านที่ 4 ด้านการได้รับการจัดการความปวดเมื่อมีความปวดหลังผ่าคลอดทางหน้าท้อง ระดับคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยกลุ่มทดลอง 4.91 และกลุ่มควบคุม 3.35, เปรียบเทียบคะแนนความรู้ด้านการจัดการความปวดของพยาบาลวิชาชีพ เพิ่มขึ้นจาก 12.10 เป็น 15.96 หลังการพัฒนาระบบ และ ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าคะแนนความพึงพอใจ 95.40</p> ประภาศิริ กัปตพล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2281 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานผลิตหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2577 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาขั้นตอนกระบวนการผลิตหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire Tube Boiler) ในโรงงานผลิตหม้อไอน้ำ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด <br />(7 QC Tools) ที่ใช้ได้แก่ ใบตรวจสอบใช้ในการรวบรวมข้อมูล แสดงผลด้วยกราฟ แผนภูมิพาเรโตเรียงลำดับปัญหาเหล่านั้นจากมากไปหาน้อย และแผนภาพก้างปลา ในการค้นหาสาเหตุและหาทางแก้ไขปัญหา จากการศึกษาพบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเกิดจากความ ความไม่สมบูรณ์ของแนวเชื่อม (Welding Defect) เมื่อนำประเภทของความไม่สมบูรณ์ของแนวเชื่อม มาวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิพาเรโต ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ปัญหาเกิดจาก ฟองอากาศ รอยเชื่อมไม่ประสาน และ การหลอมละลายไม่สมบูรณ์ ผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เสียหายสูงสุดก่อนตามลำดับ คือ ฟองอากาศ รอยเชื่อมไม่ประสาน และการหลอมละลายไม่สมบูรณ์ ปัจจัยที่ส่งผล คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานเชื่อมตามข้อกำหนด การควบคุมปรับตั้ง พารามิเตอร์การเชื่อม ผู้วิจัยทำการทดลองแบบ<br />3<sup>3</sup> แฟคทอเรียล ในการหาระดับปัจจัยที่เหมาะสมและทำการตรวจสอบระหว่างการเชื่อม ผลการดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า จากเดิมปัญหา ฟองอากาศมีจำนวนของเสีย 177 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 104 ฟิล์ม คิดเป็นร้อยละ 41 รอยเชื่อมไม่ประสานมีจำนวนของเสีย 92 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 72 ฟิล์มคิดเป็นร้อยละ 22 และการหลอมละลายไม่สมบูรณ์มีจำนวนของเสีย 69 ฟิล์ม ลดลงเหลือ 63 ฟิล์ม<br />คิดเป็นร้อยละ 9</p> องอาจ รัตนกระจ่าง, สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร, นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2577 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2563 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) แบบกลุ่มเดียวใช้การวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยการจัดอบรมให้ความรู้และวัดความรู้กับประเมินทักษะของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการอบรม เครื่องมือที่ใช้คือแบบคัดแยก ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน (trauma) ทำการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2567วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ในแบบติดตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการอบรมความรู้การคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะเจ้าหน้าที่ในคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการฝึกทักษะการคัดแยกตามระดับความเร่งด่วน และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและพยาบาลวิชาชีพที่มาปฏิบัติงานที่ห้องอุบัติเหตุนอกเวลาราชการจากหน่วยงานอื่น จำนวน 19 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความถูกต้องในการคัดแยกและความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพการคัดแยกผู้ป่วยด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ในการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ตามระดับความเร่งด่วน งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลหนองไผ่ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.49 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการอบรม พบว่าหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 17.74 ซึ่งสูงกว่าก่อนอบรมที่มีคะแนนเฉลี่ย 15.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p &lt; .05) 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะของเจ้าหน้าที่ในการคัดแยกผู้ป่วยกลุ่ม trauma ระหว่างก่อนและหลังการฝึกทักษะการคัดแยกตามระดับความเร่งด่วน พบว่า หลังการฝึกทักษะมีคะแนนเฉลี่ย 35.21 ซึ่งสูงกว่าก่อนอบรมที่มีคะแนนเฉลี่ย 24.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p &lt;.05) 4) ผลประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ต่อการใช้แบบคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน อยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.44</p> ดารา สวัสดิ์นะที Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/scicru/article/view/2563 Thu, 13 Jun 2024 00:00:00 +0700