การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา

ผู้แต่ง

  • สุพิชญา เขียวหวาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ธีรพิทย์ โต้ตอบ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณรงค์ ไกรเนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • จันทร์วดี ไทรทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, สื่อสังคมออนไลน์, ปริซึมและทรงกระบอก

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีจุดมุ่งหมายการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) จำนวน 11 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง  2) สื่อสังคมออนไลน์ Youtube, line  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?x\bar{}), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยใช้สถิติทดสอบที (t – test) แบบ Dependent และค่า E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ประกอบกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่า ภาพรวมของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-08