การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนักโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ชินวัตร์ ชินแสน สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ , แบบฝึกทักษะ , การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 2 แผน แบบฝึกทักษะและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 79.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาวและการวัดน้ำหนัก โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ       แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิระพันธุ์ ปากวิเศษ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการคูณ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2180.ru

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์, ผลาดร สุวรรณโพธิ์ และ วิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(3), 126-139. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/5621

ทิฆัมพร ภูมิประสาท, มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ และ นิภาพร ชุติมันต์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(2), 157-164. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/99852

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา ไร่สงวน. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยแบ่งตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ฟังก์ชัน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php

เนตรกนก วิทยเจียกขจร. (2561). การศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครพนม].

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพค์รั้งที่10). บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พัลลภ เต่าให้. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2106.ru

วทันยา กฤตติกานนท์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับเทคนิค STAD. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=36&RecId=1476&obj_id=5932&showmenu=no

วัฒนา ธรรมเที่ยง. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การคูณทศนิยมโดยใช้ชุดฝึกทักษะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไพรบึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=200&RecId=2273&obj_id=5699&showmenu=no

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2558). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลกัสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. (พิมพ์คร้ังที่2). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ (Learning management). โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สมบูรณ์ ท้าวพรม. (2559). ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณที่มีการทดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร].

Paisan Suwannoi. (2017). Research Based Learning: Research into Research Universities. Journal of Education Khonkaen University, 29(3), 16-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13