ผลของอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) ดัดแปลงร่วมกับปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์ RSU S1 ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกัญชา

Main Article Content

ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด
อริศรา เหง้าชัยภูมิ
ประณต มณีอินทร์
กษิดิ์เดช อ่อนศรี
เกศินี ศรีปฐมกุล

บทคัดย่อ

การดัดแปลงอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) ร่วมกับปุ๋ยไฮโดร-โปนิกส์สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกัญชา (Cannabis sativa L.subsp. indica) โดยการนำชิ้นส่วนข้อของกัญชามาเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นที่เตรียมจากอาหารสังเคราะห์สูตร MS ร่วมกับปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์ที่มีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน 4 ระดับได้แก่ ½ MS + hydroponics RSU S1 200 ppm, ½ MS + hydroponics RSU S1 300 ppm, MS + hydroponics RSU S1 200 ppm, MS + hydroponics RSU S1 300 ppm เปรียบเทียบกับอาหารสูตร MS ทำการเพาะเลี้ยงในสภาพให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าอาหารสูตร MS + hydroponics RSU S1 300 ppm และสูตร MS + hydroponics RSU S1 200 ppm เป็นสูตรอาหารที่สามารถชักนำให้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อกัญชามีจำนวนใบเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 30.875 และ 30.664 ใบ และมีค่าความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.382 และ 3.229 เซนติเมตร ซึ่งอาหารสูตร MS + hydroponics RSU S1 300 ppm สามารถชักนำให้ชิ้นส่วนเนื้อเยื่อกัญชามีความสูงยอด น้ำหนักสดต้น และน้ำหนักแห้งต้นมีค่ามากกว่าทุกชุดการทดลอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.443 เซนติเมตร 0.896 กรัม และ 0.113 กรัมตามลำดับ สำหรับอาหารสูตร ½ MS + hydroponics RSU S1 300 ppm สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 6.739 ยอด ส่วนเปอร์เซ็นต์การเกิดราก และเปอร์เซ็นต์การรอด พบว่าทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด, มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนวัตกรรมเกษตร

อริศรา เหง้าชัยภูมิ, มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนวัตกรรมเกษตร

ประณต มณีอินทร์, มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนวัตกรรมเกษตร

กษิดิ์เดช อ่อนศรี, มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนวัตกรรมเกษตร

เกศินี ศรีปฐมกุล, มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะนวัตกรรมเกษตร

References

กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. (2561). ผลของอาหารจากสารละลายสำหรับปลูกพืชโดยไม่ใช่ดินและอุณหภูมิในการเพาะเลี้ยง ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลานไพลิน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(1), 88-89.

ขวัญเดือน รัตนา, ธิดารัตน์ ผ่องแผ้ว, วิทิดา สิงห์เชื้อ, ขจรพงศ์ ดาศรี, และศุภาวีร์ แสงจันทร์จิรเดช. (2565). การขยายพันธุ์บอนสีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(3), 94-105.

จตุพร หงส์ทองคำ, นัตติยากรณ์ ผาเนตร, และจริยา สิงห์มาตร. (2565). การขยายพันธุ์เจตมูลเพลิงขาวโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร, 10(2), 43-56.

บุญยืน กิจวิจารณ์. (2544). เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. สำนักคลังนานาวิทยา: กรุงเทพฯ

รวิสสาข์ สุชาโต, ณัฐพล พจนาประเสริฐ, และอัจฉรา ปทุมนากุล. (2564). อารัมภาบท. ในสมพร อิศวิลานนท์, ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์, วรภัทร จิตรไพศาลศรี (บ.ก.), กัญชาพืชทางเลือกผลกระทบทางเศรษฐกิจ และความคุ้มค่าในการลงทุน. กรุงเทพ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ศศิธร พินภิรมย์, นงนุช เลาหะวิสุทธิ์, และอัจฉรี เรืองเดช. (2563). ผลของปริมาณธาตุอาหารในสูตรอาหารกึ่งแข็ง MS ต่อการเจริญเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระของต้นพรมมิในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(4),459-461.

สุมนทิพย์ บุนนาค. (2556). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการถ่ายยีนสู่พืช. พิมพ์ครั้งที่1. ภาควิชาชีววิทยา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์, ยี่โถ ทัพภะทัต, เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี, เกวลิน คุณาศักดากุล, รมณีย์ เจริญทรัพย์, พนมพร วรรณประเสริฐ และ เพชรรัตน์ จันทรทิณ. (2564). บาทฐานงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. ม.ป.ท..

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์, บัณฑิตา เพ็ญสุริยะ, นุชรัฐ บาลลา, และณัฐพงค์ จัน จุฬา. (2559). ชิ้นส่วนที่เหมาะสมของต้นลินเดอเนียร์เตตราพลอยด์ที่ขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ. Thai Journal of Science and Technology, 5(3), 227-232.

Chandra, S., Lata, H., & ElSohly, M. A. (2020). Propagation of Cannabis for Clinical Research: An Approach Towards a Modern Herbal Medicinal Products Development. Frontiers in Plant Science, 11(1), 1-10.

Yildiz, M. (2012). The Prerequisite of the Success in Plant Tissue Culture: High Frequency Shoot Regeneration. In A. Leva, & L. Rinaldi (Ed.), Reaent Advances in Plant in vitro Culture