แคริโอไทป์ของปลายี่สกเทศ (Labeo rohita (Hamiton, 1822))

Main Article Content

นันทพร เกตุเลขา
จิราภรณ์ มาศพันธ์
อริสา ปราณปราชญ์
เขมิกา ศรีเบ็ญจา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแคริโอไทป์และอิดิโอแรมมาตรฐานของปลายี่สกเทศ (Labeo rohita (Hamiton, 1822)) ใช้ตัวอย่างปลาเพศผู้และเพศเมีย จำนวน 6 ตัว เตรียมโครโมโซมด้วยวิธีตรงจากไต ทำการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาโดยใช้สีจิมซ่า 20% ผลการศึกษาพบว่าปลายี่สกเทศ มีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 50 แท่ง มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน (NF) เท่ากับ 76 แคริโอไทป์ประกอบด้วย โครโมโซมชนิดเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 6 แท่ง ซับเมทาเซนทริกขนาดใหญ่ 8 แท่ง อะโครเซนทริกขนาดใหญ่ 10 แท่ง อะโครเซนทริกขนาดกลาง 2 แท่ง เทโลเซนทริกขนาดกลาง 14 แท่ง และเทโลเซนทริกขนาดเล็ก 10 แท่ง ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างของโครโมโซมในปลาทั้งสองเพศ ข้อมูลทางด้านเซลล์พันธุศาสตร์นี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการอนุรักษ์พันธุกรรมและข้อมูลสนับสนุนความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการต่อไป


            ปลายี่สกเทศมีสูตรแคริโอไทป์ ดังนี้ 2n (50) = Lm6+Lsm8+ La10+ Ma2+Mt14+St10

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นันทพร เกตุเลขา, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จิราภรณ์ มาศพันธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อริสา ปราณปราชญ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เขมิกา ศรีเบ็ญจา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

References

กันยารัตน์ ไชยสุต. (2532). เซลล์พันธุศาสตร์และเซลล์ อนุกรมวิธานของพืชสกุล Zephyranthes. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ดอนสกุล และ วิเชียร มากตุ่น. (2536). การศึกษาโครโมโซมของปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง และปลายี่สกเทศ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นณณ์ ผาณิตวงศ์. (2563). ปลาน้ำจืดไทย. ภาพพิมพ์.

ภาสกร แสนจันแดง. (2557). สารานุกรมปลาน้ำจืดของไทย. คลังนานาวิทยา.

อมรา คัมภิรานนท์. (2546). พันธุศาสตร์ของเซลล์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อลงกลด แทนออมทอง. (2554). พันธุศาสตร์เซลล์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2543). พันธุศาสตร์สัตว์น้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Denton, T. E. (1973). Fish chromosome methodology. Charles C. Thomas Publisher.

Getlekha, N., Sukchot, P., & Saleetid, K. (2022). Karyological analysis of ten freshwater fish species from Lumphachi river basin, Thailand. Science Technology and Engineering Journal (STEJ), 8(2), 76-85.

Levan, A., Fredga, K., & Sandberg, A. A. (1964). Nomenclature for centromeric position on chromosome. Hereditas, 52, 201-220.

Nelson, J. S. (2006). Fishes of the world (4th ed.) John Wiley and Sons, Inc.

Rab, P., Yiannis, K., More, R. Z., & Panos, S. E. (1996). Banded karyotype of the cyprinid fishes Leuciscus borysthenicus. Ichthyological Research, 463-468.

Sumner, A. T. (1990). Chromosome Banding. Unwin Hyman, London.

Turpin, R., & Lejeune, J. (1965). Les Chromosomes Humains. Gauthier-Pillars.

Vidthayanon, C. (2008). Field guide to fishes of the Mekong delta. Mekong River Commission.