การศึกษาผลความเข้มแสงและระยะเวลาของการให้แสงไฟต่อการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ

Main Article Content

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์
อรรควุธ แก้วสีขาว
กัญญารัตน์ บรรลุสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการให้แสงไฟต่อการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ เพื่อทดสอบการนำระบบการเพาะเลี้ยงแบบอัตโนมัติมาใช้ในการควบคุมและติดตามผลการเจริญเติบโตของไข่น้ำ โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD, Completely Randomized Design) แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุดการทดลอง (Treatment) ชุดละ 3 ซ้ำ เพื่อศึกษา 1) การเพาะเลี้ยงด้วยสภาพแวดล้อมปกติโดยใช้แสงแดดธรรมชาติ 2) การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED ที่มีความเข้มแสงระหว่าง 9,000 - 12,000 ลักซ์ นาน 12 ชั่วโมง  และ 3) การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED ที่มีความเข้มแสงระหว่าง 9,000 - 12,000 ลักซ์ นาน 24 ชั่วโมง และควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเพาะเลี้ยงด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ ระยะเวลาในการทดลอง 14 วัน บันทึกและติดตามผลการเจริญเติบโตไข่น้ำทุกวัน


ผลการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED นาน 12 ชั่วโมง และนาน 24 ชั่วโมง กับแสงแดดธรรมชาติ  มีผลทำให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดมีความแตกต่างกันทางสถิติที่อายุ 1, 7 และ 14 วัน และพบว่าการเพาะเลี้ยงด้วยการเปิดแสงไฟจากหลอด LED นาน 24 ชั่วโมง มีผลให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดสูงสุด และการเพาะเลี้ยงด้วยแสงแดดธรรมชาติให้ปริมาณน้ำหนักของไข่น้ำสดต่ำสุด เมื่อนำเอาระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุม ปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ง่าย สะดวก และเพิ่มความแม่นยำในการเพาะเลี้ยงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนแรงงานในการดูแล

Article Details

How to Cite
พรรค์พิทักษ์ ส., แก้วสีขาว อ., & บรรลุสุข ก. (2024). การศึกษาผลความเข้มแสงและระยะเวลาของการให้แสงไฟต่อการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 14–25. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/jsetRMU/article/view/3462
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

อรรควุธ แก้วสีขาว, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

กัญญารัตน์ บรรลุสุข, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สถาบันวิจัยและพัฒนา

References

ชนกพร จุฑาสงฆ์. (2542). การเจริญเติบโตและปริมาณโปรตีนของไข่น้ํา (Wolffia arrhiza (L.) Wimm) ที่เพาะเลี้ยงในน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลัง [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด. (2552). ตัวชี้วัดความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน. สํานักพิมพ์มูลนิธิชีววิถี.

ชนะชัย ฤทธิ์ทรงเมือง, กัมพล ไทยโส, ประภาพรณ์ ขันชัย, ประหยัด สืบเมืองซ้าย และ สมหวัง กูกขุนทด. (2566). การเพาะเลี้ยงไข่น้ําด้วยการใช้แสงไฟทดแทนแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบ Internet Of Things (IoT). วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ําโขง, 16-30.

นิศาชล ฤาแก้วมา. (2548). การศึกษาความต้องการแสงสว่างที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงไข่นํ้า. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิพัฒน์พงษ์ วงศ์ใหญ่ และ ศศิธร ชาววัลจันทึก. (2554). เภสัช มช.วิจัย “ผำ” สุดยอดแหล่งโปรตีนเพื่อ สุขภาพ. http://www.manager.co.th/campus/viewnews.aspx?NewsID= 9540000146844

วิลาสินี อดุลยานนท์ และ เดชรัตน์ สุขกําเนิด. (2556). พบความมั่นคงทางอาหารไทยวิกฤติ. www.thairath.co.th/content/edu/351337.

สมศักดิ์ สันวิลาส. (2542). การเจริญเติบโตและปริมาณโปรตีนของไข่น้ํา (Wolffia arrhiza (Linn.) Wimm)ที่เพาะเลี่ยงด้วยสูตรอาหารและระดับความเข้มของแสงต่างกันในสภาพกลางแจ้ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลยัมหาสารคาม.

สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์, กาญจนา ดงสงคราม, ศศิธร อ่อนเหลา, กฤตภาส ยุทธอาจ, และ อุดมศักดิ์ พมิ พ์ พาศรี. (2564). การพัฒนาระบบควบคุมการให้น้ําอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยคั้นน้ํา. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), น.7-17.

สุขุม เร้าใจ และ สุทิน สมบรูณ์. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ของการเพาะเลี้ยงไข่น้ํา Wolffiaarrhiza (L.) Wimm. สังกัดภาควิชาการจัดการประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ

อุมาพร นิยะนุช. (2553). การเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวขององค์ประกอบและกิจกรรมในการต้านออกซิเดชั่นของไข่น้ํา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลยัขอนแก่น.

โอภา วัชระคุปต์. (2549). ภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุลโดยอนุมูลอิสระและดัชนีชี้วัด. ใน โอภา วัชระคุปต์, ปรีชา บุญจูง, จันทนา บุณยะรัตน์ และ มาลีรักษ์ อัตต์สินทอง (บ.ก.), สารต้านอนุมลู อิสระ (น. 44-74.). พี.เอส.พริ้นท์.

Bunea, A., Andjelkovic, M., Socaciu, C., Bobis, O., Neacsu, M., Verhé, R., & Van Camp, J. (2008). Total and individual carotenoids and phenolic acids content in fresh, refrigerated and processed 1 spinach (Spinacia oleracea L.). Food chemistry, 108(2), 649-656.

Landolt, E. (1986). The Family of Lemnaceae—A Monographic Study: Vol 1: Morphology, Karyology, Ecology, Geographic Distribution, Systematic Position, Nomenclature, Descriptions. Veroffentlichungen des Geobotanischen Institutes der ETH, Stiftung Rubel, Zurich.

Suppadit, T., Jaturasitha, S., Sunthorn, N., & Poungsuk, P. (2012). Dietary Wolffia arrhiza meal as a substitute for soybean meal: its effects on the productive performance and egg quality of laying Japanese quails. Tropical Animal Health and Production, 44(7), 1479-86.

Yan, Y., Candreva, J., Shi, H., Ernst, E., Martienssen, R., Schwender, J., & Shanklin, J. (2013). Survay of the total fatty acid and triacylglycerol composition and content of 30 duckweed species and cloning 37 of a Δ6-desaturase responsible for the production of γ-linolenic and stearidonic acids in Lemna gibba. Bio Med Central Plant Biology, 13, 201.