เรือบำบัดน้ำเสียอัตโนมัติควบคุมทางไกลไร้สาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเรือบำบัดน้ำเสียอัตโนมัติแบบควบคุมทางไกลไร้สาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 10 คน ซึ่งถูกคัดเลือกแบบเจาะจงและเป็นผู้ที่สมัครใจใช้เรือบำบัดน้ำเสีย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ เรือบำบัดน้ำเสียและการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละฟังก์ชัน รวมถึงแบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า 1) เรือบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักสำคัญคือ (1) กล่องควบคุมระบบเรือบำบัดน้ำเสีย ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ภายในเรือ (2) แอปพลิเคชันที่ใช้ในการควบคุมทิศทางและการเคลื่อนที่ของเรือผ่านสมาร์ทโฟนไร้สาย (3) การทำงานของเรือมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเรือบำบัดน้ำเสียพบว่ามีความถูกต้อง 100% ในส่วนของการประเมินฟังก์ชันการควบคุมการทำงาน ซึ่งทดสอบโดยการควบคุมการทำงานของเรือ การปักหมุดการเดินเรือ รวมถึงการปล่อยจุลินทรีย์ และ 3) ผลการสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้เรือบำบัดน้ำเสียที่อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). คู่มือการจัดการน้ำเสียชุมชนภาคประชาชน. https://www.pcd.go.th/waters/
ณัฐสุต จันทร์บุญเรือง, รัฐธรรมนูญ รวยกระบือ, และภากร นาคศรี. (2561). เรือเก็บขยะควบคุมผ่านระบบแอนดรอยด์ [โปสเตอร์นำเสนอในที่ประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ณัฏฐพล เจริญศิริ, ประชาสันต์ แว่นไธสง, และกฤษณพล เกิดทองคำ. (2563). ระบบแจ้งเตือนอุณหภูมิและความชื้นสำหรับห้องควบคุมไฟฟ้า สำหรับบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จํากัด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 2(3), 119-132.
ถนัดกิจ ชารีรัตน์, สมภพ สนองราษฎร์, ชนาธิป นาโสก, และจารวี ไชยกำบัง. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโปรยกรองด้วยคอนกรีตพรุนในการบำบัดน้ำเสีย. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย, 32(2), 33-43.
ทัศนีย์ สดใส, บุญนาค แพงชาติ, และไกรวิชญ์ เรืองฤาหาร. (2566). การศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสกลนคร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 322-324.
พรวนา รัตนชูโชค. (2562). การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารการวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล, 17(3), 45-52.
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2564, 18 ธันวาคม). ปัญหาน้ำเน่าเสียในประเทศไทย. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/6251
มงคล จงสุพรรณพงศ์ และสันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์. (2552). เครื่องบำบัดน้ำเสียด้วยโอโซนในสภาพความดันสูงสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งและชุมชน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 10(1), https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/827
รัตนกมลณ์ สันต์ฤทัยชยะกรู. (2564). แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์. วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา, 21(2), 162-187.
ฤทธี อุ่นเจริญ. (2559). การควบคุมการเคลื่อนที่ของเรือคายัคตามจุดพิกัดที่กำหนด. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. https://repository.rmutt.ac.th
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO). (2553). เรืออัตโนมัติ: ควบคุมการเคลื่อนที่ด้วย GPS สำหรับงานทางด้านสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. https://fibo.kmutt.ac.th/gps
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). กังหันชัยพัฒนา: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพน้ำ. วารสารเศรษฐกิจพัฒนา, 16(2), 45-50.
ฮากีมี สะแปอิง, รุสชีลาวาตี บินดอเลาะ, มูฮํามัดซารีฟี ซาสือรี, ฟิรดาว ลูโบะเด็ง, เปาซี วานอง, และ อิบรอฮิม สารีมาแซ. (2564). แนวทางในการจัดการน้ำเสียในชุมชนเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย, 6(1), 20-36.
Adamson University. (2019). Palencia wins DOST-NAST G.Y. Zara Award. https://www.adamson.edu.ph/v1/?page=view-news&newsid=1737