ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยใช้หลักการจัดการธุรกิจแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน

Main Article Content

กันต์ อินทุวงศ์

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับการประเมินความสำคัญของลักษณะคุณภาพของหลักการจัดการธุรกิจแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิเคราะห์การรับรู้ข่าวสารส่วนใหญ่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากสื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 96.55 และการวิเคราะห์ความเข้าใจทั่วไป มีประเด็นความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการปฏิบัติโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยเริ่มต้นจากการสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรและครอบครัวก่อน และผลการวิเคราะห์การให้ความสำคัญมากที่สุดคือ มีความซื่อสัตย์ในการประกอบการไม่เอาเปรียบผู้บริโภคแรงงาน และผู้จำหน่ายวัตถุดิบและผลของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้ ผลการทดสอบสมมติฐานของงานวิจัยได้จากการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษากับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ของกลุ่มตัวอย่างมีค่า P-Value เท่ากับ 0.246 มีค่ามากกว่า 0.05 จึงทำการยอมรับสมมติฐานหลัก (H0) สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ได้แก่ ประเภทของธุรกิจวิสาหกิจชุมชน เงินลงทุนทางธุรกิจ และระยะเวลาในการประกอบธุรกิจกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ของกลุ่มตัวอย่างมีค่า P-Value เท่ากับ 0.775 มีค่ามากกว่า 0.05 จึงทำการยอมรับสมมติฐานหลัก (H0) สมมติฐานข้อที่ 3 เป้าหมายในการประกอบธุรกิจกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ของกลุ่มตัวอย่างมีค่า.P-Value.เท่ากับ.0.362.มีค่ามากกว่า 0.05 จึงทำการยอมรับสมมติฐานหลัก (H0) สมมติฐานข้อที่ 4 สื่อในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
พอเพียงกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า การรับรู้ข่าวสารจากโทรทัศน์มีค่า P-Value เท่ากับ 0.011 มีค่าน้อยกว่า 0.05 จึงทำการยอมรับสมมติฐานรอง (H1) สมมติฐานข้อที่ 5 ความรู้ความเข้าใจที่มีต่อเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์ของกลุ่มตัวอย่างมีค่า P-Value เท่ากับ 0.015 มีค่าน้อยกว่า 0.05 จึงทำการยอมรับสมมติฐานรอง (H1) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สำนักพัฒนาเกษตรกร. (ม.ป.ป.). สาระของวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2556, จาก http://farmdev.doae.go.th/Enterprise/Enter priseDoc.html.

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์. [เอกสารอัดสำเนา]. อุตรดิตถ์: ผู้แต่ง.

สุวกิจ ศรีปัตถา. (2549). การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชน. ฐานข้อมูลโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา).

เสรี พงศ์พิศ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนายั่งยืน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

นัฐพงษ์ พรวัฒนเวทย์. (2547). การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับภาคธุรกิจค้าปลีก. ฐานข้อมูลศูนย์สารสนเทศและห้องสมุด (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์). (17863).

ลีลาภรณ์ บัวสาย, วิมลพร ใบสนธิ์, รัตนา กิติกร, สุธรรม กันดำ และลดาวัลย์ ค้ำจุน. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รังสรรค์ พยัคฆพิพัฒน์กุล, สุนันท์ สีสังข์, และพรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2555). ศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามเกณฑ์การพิจารณาการให้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (ไม่มีเลขหน้า). นนทบุรี: ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิชัย พันธเสน, ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน และสุวัจฉรา เปี่ยมญาติ. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1993). Research in Education (7th ed). Boston: Allyn & Bacon.