การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ วิริขิตกุล หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • เบญจพร สว่างศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, กระบวนการกลุ่ม, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคูเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบหาค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.33/82.93 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม อยู่ในระดับดี (x̅= 4.16, S.D. = 0.64) 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับมาก (x̅ =2.90, S.D. = 0.18)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจ ากัด, 2552.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. บทความวิชาการก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ปีที่ 8(2), 2551, หน้า 29-32.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, 2547.

เขมวันต์ กระดังงา. ผลการเรียนด้วยกระบวนกลุ่มร่วมกับเว็บสนับสนุนการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการท างานกลุ่ม วิชาการพัฒนาเว็บไซต์เบื้องต้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554, หน้า 18.

ปวีณา งามประภาสม. การเพิ่มศักยภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่ม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2555, หน้า 61.

อริยาภรณ์ ขุนปักษี. การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตร, 2561.

สุพจน์ วิจิตรเวชการ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การใช้โปรแกรมสานักงานขั้นสูงระหว่างการเรียนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางกับการเรียนการสอน ด้วยเทคนิคกระบวนการกลุ่มแบบเพื่อนเป็นครูสอนเพื่อน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. วิจัยในชั้นเรียน, 2560.

ธนภรณ์ ก้องเสียง. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนปราโมทวิทยา รามอินทรา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2558, หน้า 40.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เล่มปี พ.ศ. 2562. รายงานการวิจัย, 2562, หน้า 7.

สงกรานต์ โฉมวิไล, กันยารัตน์ สอนสุภาพ, คงวิทย์ ประสิทธิ์นอก. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 9 ฉบับที่ 1, 2558, บทคัดย่อ.

ภารดี กล่อมดี. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E), 2561. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/120921/97531/

สุวธิดา ล้านสา, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, 2559, บทคัดย่อ.

ผ่องศรี เครือกลัด, สุธี พรรณหาญ, อุษา คงทอง. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง แรงและความดันของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ผสมผสานกับผังมโนทัศน์รูปตัววี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, 2558, บทคัดย่อ.

พรรณนิภา ทับทิมเมือง, อัญชลี ทองเอม. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์, 2560, บทคัดย่อ.

กับณพัฐอร บัวฉุน. การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2558, บทคัดย่อ.

ชุติมา เจริญผล. การพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์, 2560, บทคัดย่อ.

อนันต์ ช้างต่อ. การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมวิชาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีอ่างทอง, 2559, บทคัดย่อ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17

How to Cite

[1]
วิริขิตกุล อ. และ สว่างศรี เ., “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”, JSciTech, ปี 5, น. 63–75, ส.ค. 2021.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย