วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech th-TH jscitech@rmutsb.ac.th (-) jscitech@rmutsb.ac.th (-) Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พัฒนาเกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1225 <p> The objective of this research was to study and establish physical fitness norms for the health of male and female students of Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. A multi-stage sample of 302 people, 132 males and 170 females was sampled. The Office of Sports Science, Department of Physical Education, Ministry of Tourism and Sports consists of 5 items: Body Mass Index, sit and reach, hand grip, 60 seconds chair stand and 3 minutes step up and down. Number and percentage Establishing physical fitness norms in each report using T scores BMI test items are divided into 5 levels (thin or underweight, Proportionate body Overweight or Grade 1 obesity Obesity or Grade 2 obesity Dangerous obesity or Grade 3 obesity) The physical test determined the level of physical fitness for each of the 4 health items divided into 5 levels: Very Good, Good, Moderate, Low and Very Low.</p> <p> Female students (56.3%) had an average age of 19 years, with a BMI of mostly proportional body mass (54.1%), and a sitting test with a good level of physical fitness (41.2%).The 60-second stand-up test had a low level of physical fitness (44.1%), while standing with the knees up and down for 3 minutes had a moderate level of physical fitness (45.9%). Male students (43.7%) had an average age of 19 years and had a proportional BMI (45.5%). The 60-second stand-and-sit test had moderate physical fitness levels (36.4 percent), while standing with the knees raised for 3 minutes had low physical fitness levels (41.7 percent).</p> ธนาวรรณ รัมมะภาพ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1225 Sun, 01 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ในรายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนศรัทธาสมุทร https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2551 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ในรายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนศรัทธาสมุทร 2) หาประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนด้วยสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ทีมีต่อสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่&nbsp; 1 จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test Dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.71 , S.D. = 0.46) 2) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ มีค่าเท่ากับ 71.89/72.67&nbsp; ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.82, S.D.=0.40)</p> จรินทร อุ่มไกร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2551 Sun, 01 Sep 2024 00:00:00 +0700 ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3147 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลง เทรนการดูแลสุขภาพผิวเพื่อความงามได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากแบรนด์ที่ผลิตในประเทศไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้พฤติกรรมผู้บริโภคยังเปลี่ยนแปลงไปใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น เนื่องจากมีความคุ้นเคยและประสบการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีงานวิจัยที่สำคัญชี้ให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลและมีบทบาททางการตลาดออนไลน์เป็นอย่างมาก แนวคิดส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ได้มีการพัฒนาจากกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดแบบดั้งเดิม องค์ประกอบการตลาดแบบใหม่ (6P’s) ประกอบด้วย 4P’s เดิม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ร่วมกับ 2P’s&nbsp; ใหม่ คือ การให้บริการส่วนบุคคลและการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยลูกค้าจะต้องพิจารณาเลือกระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความสะดวกสบายในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทต่างๆ ได้มีการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กระตุ้นให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์โดยการสร้างระบบคะแนนตามอายุของการแสดงตนตลอดจนปริมาณและคุณภาพของการมีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>ส่วนประสมการตลาด; การตลาดออนไลน์; ส่วนประสมการตลาดออนไลน์; ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว&nbsp;</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p>&nbsp;</p> ศุภากร เอี่ยมอำพร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3147 Tue, 03 Sep 2024 00:00:00 +0700 แอปพลิเคชันการบริหารร่างกายลดความเมื่อยล้า https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1987 <p>อาการเมื่อยล้าเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงาน ผู้มีอาการเมื่อยล้าจะสูญเสียสมาธิ ไม่มีแรงกระตุ้น และมีพลังงานในการกระทำสิ่งใด ๆ ลดน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การบริหารร่างกายด้วยท่วงท่าที่ถูกต้องและทำอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดอาการเมื่อยล้าลง ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันการบริหารร่างกายลดความเมื่อยล้า และ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันถูกออกแบบให้แสดงท่าการบริหารร่างกายในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสามารถกำหนดเวลาเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทำการบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ แอปพลิเคชันทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ถูกพัฒนาโดยใช้ฟลัสเตอร์เฟรมเวิร์ก ภาษาดาร์ท และใช้ฐานข้อมูลไฟล์เบส ระบบที่พัฒนาถูกประเมินความเหมาะสมของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พบว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนามีความเหมาะสมในด้านเทคนิคและด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านกระบวนการในการทำงานอยู่ในระดับมาก ระบบที่พัฒนาถูกประเมินความพึงพอใจโดยผู้ใช้จำนวน 30 คน พบว่าด้านการออกแบบส่วนประสานกับผู้ใช้งานและด้านกระบวนการทำงานอยู่ระดับมาก</p> บุญญาพร บุญชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1987 Sun, 15 Sep 2024 00:00:00 +0700 CLOSED FORM EXACT SOLUTIONS TO THE COMBINED KDV-MKDV EQUATION AND THE (2+1)-DIMENSIONAL GBS EQUATION VIA THE RICCATI SUB-EQUATION METHOD https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1997 <p>The main goal of the present study is to find exact traveling wave solutions of the combined kdv-mkdv equation and the (2+1)-dimensional generalized breaking soliton equation using the Riccati sub-equation method. The obtained solutions are shown by hyperbolic and trigonometric functions, which can be transformed into kink waves and periodic waves. Their graphical representations are two-dimensional, three-dimensional graphs, and contour graphs are shown using suitable parameter values. Additionally, the results proved that the method employed in this study is a powerful analytical tool for obtaining exact traveling wave solutions to nonlinear models that are used in many different engineering and scientific disciplines.</p> jiraporn sanjun Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/1997 Sun, 15 Sep 2024 00:00:00 +0700 The การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2593 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 4) หาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสมบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.39) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD มีค่าเท่ากับ 86.67/81.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วย บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.68, S.D. = 0.58)</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>บทเรียนออนไลน์; การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD; วิทยาการคำนวณ</p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purposes of this research were as follows: 1) To develop online lessons with STAD techniques on Computational Science for Grade 7 students at Wat Phai Sam Ko School (Panya Pracha Samakkhi), 2) to find the efficiency of the developed online lessons, 3) to compare the students’ learning achievement before and after learning with the online lessons with STAD techniques, and 4) to find the students’ satisfaction towards the online lessons with STAD techniques. The sample group were 17 students in Grade 7. The tools used in the research were the online lessons with STAD techniques, academic achievement tests, and satisfaction questionnaires.</p> <p>The results of this research were as follows: 1) The&nbsp; online lessons evaluated by 3 experts had the overall appropriateness of the content and the media production techniques at the highest level (𝑥̅ = 4.80, S.D. = 0.39), 2) the efficiency level of the developed online lessons with STAD techniques was 86.67/81.57 which was higher than the set criteria of 80/80, 3) the students’ learning achievements after learning with the online lessons with STAD techniques were statistically significantly higher than before learning at .05 level, and 4) the students’ overall satisfaction towards the online lessons with STAD techniques was at the highest level (𝑥̅ = 4.68, S.D. = 0.58).</p> <p><strong>Keywords: </strong>Online Lessons; STAD Techniques; Computational Science</p> สุมาลี สุนทรา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2593 Sun, 15 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2510 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ และ (2) เปรียบเทียบผลการจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ (3) หาประสิทธิภาพของกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 54 คน ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่างและได้รับการรับรองจากแพทย์ด้านสุขภาพก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ดำเนินการการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ได้แก่ จันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง รวมเป็น 24 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการฝึก ระหว่างการฝึก หลังการฝึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (1) รูปแบบการจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น มีตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 3.38 อยู่ในเกณฑ์ เหมาะสมมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพทางกายที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05&nbsp;&nbsp; (3) จากการขยายผลโดยใช้รูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความรู้สึกที่มีต่อจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ ด้านที่ 2 กิจกรรมทางกายทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน เพิ่มความแข็งแรง และสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้นานขึ้น และด้านที่ 3 กิจกรรมทางกายทำให้ได้พบเพื่อนใหม่ มีเพื่อนเพิ่มขึ้น และมีสังคมใหม่เพิ่มขึ้น</p> สมเกียรติ คงธนจินดาสิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/2510 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700 การตรวจสอบกลุ่มตัวแปรความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ทำนายระยะทางทั้งหมดของนักกีฬาฟุตบอลสมัครเล่นชาย https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3080 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่มีผลต่อระยะทางทั้งหมดแข่งขันกีฬาฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลสมัครเล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมมีนบุรี ซิตี้ เป็นทีมสมัครเล่น เพศชาย จำนวน 15 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะทำการใส่การเคลื่อนที่โดยใช้ระบบพิกัดบนพื้นโลก (GPS) ลงทำการแข่งขันแมทช์อย่างเป็นทางการ ในรายการการแข่งขันช้างเอฟเอ คัพ 2022/23 และไทยแลนด์เซมิโปร ลีก 2023 แล้วบันทึกผลระยะทางทั้งหมด การวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด การวิ่งด้วยความเข้มข้นสูง แล้ววิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยตัวแปรความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ทำนายระยะทางทั้งหมดของนักกีฬาฟุตบอลสมัครเล่นชาย ซึ่งจัดอยู่ในระดับความสัมพันธ์ที่ระดับน้อย (.30 ≤ r ≤ .60) โดยตัวแปรทํานายที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับตัวแปรระยะทางทั้งหมดของนักฟุตบอล คือ ตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่างการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด (r = 0.364) ตัวแปรจำนวนครั้งของการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด (r = 0.451) ตัวแปรการวิ่งแบบความเข้มข้นสูง (r = 0.549) ในนักกีฬาฟุตบอลสมัครเล่น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุปการศึกษานี้ การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแบบต่างๆนั้น มีความสัมพันธ์กับระยะทางทั้งหมดของนักฟุตบอลระดับสมัครเล่น</p> ปกรณ์ ฉูตรสูงเนิน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3080 Sat, 28 Sep 2024 00:00:00 +0700