วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
th-TH
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
2586-8101
-
การพัฒนาเกมดิจิทัลปราสาทธาตุเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสำหรับรายวิชาเคมี1 เรื่องตารางธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนนาหนองทุ่มวิทยา
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3347
<p>การศึกษาเรื่องการพัฒนาเกมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้ 2) การประเมินคุณภาพและความพึงพอใจของเกม 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใช้เกมดิจิทัลนี้กับการเรียนการสอนแบบปกติ เกมที่พัฒนาขึ้นใช้โปรแกรม RPG Maker MZ มีชื่อว่า "ปราสาทธาตุ" ซึ่งประกอบด้วย 7 ด่านที่เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับธาตุในตารางธาตุ ผลการพัฒนาพบว่าเกม "ปราสาทธาตุ" มีคุณภาพดีและนักเรียนมีความพึงพอใจสูง โดยเฉพาะในด้านเนื้อหาเกม ( = 4.35 S.D. = 0.88) การออกแบบกราฟิก (= 4.20, S.D. = 0.90) ความสนุกสนาน ( = 4.50, S.D. = 0.85) ความสะดวกสบายต่อการใช้งาน (= 4.35, S.D. = 0.86) และ การเรียนรู้ (= 4.35, S.D. = 0.86) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังการเรียนด้วยเกมสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ซึ่งบ่งชี้ว่าเกมดิจิทัลมีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้เรื่องตารางธาตุได้ดีกว่าวิธีการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าเกมดิจิทัล "ปราสาทธาตุ" มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักเรียน และสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในระดับชั้นมัธยมศึกษา</p>
อุทัย สำรวมจิตร์ และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
KINK WAVE SOLUTIONS FOR THE (1+1)-DIMENSIONAL NONLINEAR EVOLUTION EQUATION BY THE SIMPLE METHOD WITH THE BERNOULLI EQUATION
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3392
<p>The main objective of this investigation is to fully solve the nonlinear partial differential equations (1+1)-dimensional Phi-Four and (1+1)-dimensional modified Korteweg-De Vries. Then, with the assistance of the Bernoulli equation, the simple method (SE) will solve these solutions. The solutions are in the form of generalized exponential functions. The effect of the arising graphs of both equations is in the form of kink waves, which are presented in three-dimensional graphs and contour graphs using suitable parameter values in 2 cases.</p>
Jiraporn sanjun, et al.
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
รูปแบบการสร้างเนื้อหาดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3469
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการสร้างเนื้อหาดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างสื่อมัลติมีเดีย และ 2) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของรูปแบบการสร้างเนื้อหาดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ในรูปแบบการวิจัยเชิงสืบสวน (Investigate Research) โดยมีผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า รูปแบบการสร้างเนื้อหาดิจิทัลด้วยปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างสื่อมัลติมีเดีย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน อยู่ในระดับดีมาก</p>
ศิวพร ลินทะลึก และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
การนำเสนอประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลปะดั้งเดิม เสริมด้วยศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3472
<p>การนำเสนอประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลปะดั้งเดิม เสริมด้วยศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพการนำเสนอประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลปะดั้งเดิม เสริมด้วยศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล จากการศึกษาประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลปะดั้งเดิม เสริมด้วยศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อนำเสนอประวัติศาสตร์ ผ่านงานศิลปะดั้งเดิม เสริมด้วยศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันศิลปะดิจิทัลด้วยการซ้อนภาพเคลื่อนไหวแบบพารัลแลกซ์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบทดสอบความรู้ทางประวัติศาสตร์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ และสถิติการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพสื่อ อยู่ในระดับดีมาก 2) ดัชนีประสิทธิผลอยู่ผ่านเกณฑ์ที่ระดับ 0.62 และ 3) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> </p>
อธิษฐ์ คู่เจริญถาวร และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
การสำรวจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณลักษณะบัณฑิต ของหลักสูตรอุตสาหกรรมบันเทิง : การศึกษาเชิงคุณภาพ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3706
<p>การพัฒนาหลักสูตรให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่เหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรมบันเทิงจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมบันเทิงต้องการ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ใช้บัณฑิตที่เกี่ยวข้อง มีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กำหนดคุณสมบัติ เกณฑ์คัดเข้าคือ เป็นผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมบันเทิงมากหรือเป็นอาจารย์ผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับงานในอุตสาหกรรมบันเทิง มากกว่า 2 ปี จำนวน 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของข้อมูลวิจัยดำเนินการตามเกณฑ์ของลินคอนและกูบา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่าคุณลักษณะของบัณฑิตที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมบันเทิงต้องการ 1)ความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีและทักษะวิชาชีพ 2) ความเข้าใจใน Soft Power และการสร้างคุณค่าในระดับนานาชาติ <br>3) การมีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ 4) ความสามารถในการปรับตัว</p>
สุธิดา จันทวาท และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารข้อมูลนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านก้างปลา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านก้างปลา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3761
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารข้อมูลนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านก้างปลา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาและประเมินผล โดยพัฒนาระบบในรูปแบบเว็บไซต์แบบ Responsive ที่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ทุกขนาดหน้าจอ แบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วนตามระดับสิทธิ์ผู้ใช้งาน ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ครู และนักเรียน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2566 ประชากรในการศึกษาประกอบด้วยบุคลากรครูและนักเรียนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 179 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาด้วย PHP และ MySQL และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 4.46, S.D. = 0.52) โดยด้านการออกแบบและการแสดงผลได้รับการประเมินสูงสุด (x=4.67, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก (x=4.44, S.D. = 0.52) โดยด้านความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลได้รับความพึงพอใจสูงสุด (x= 4.80, S.D. = 0.42)</p>
ณิชนันทน์ กะวิวังสกุล และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
การสร้างตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3285
<p>การวิจัยการศึกษาการสร้างตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและเพื่อหาค่าพยากรณ์จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และเป็นประโยชน์ในด้านการดำเนินการจัดจัดงบประมาณและการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาจากข้อมูลสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ปรากฏผลการศึกษาดังนี้</p> <p>ศึกษาข้อมูลจำนวนการเกิดตั้งแต่ ปี พ.ศ.2536-2548 และข้อมูลจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2566 โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel และโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจำนวนการเกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2536-2548 ข้อมูลจำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554-2566 และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ระหว่างจำนวนการเกิดกับจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา พบว่า ข้อมูลจำนวนการเกิดและข้อมูลจำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน จากผลการวิเคราะห์ถดถอยทำให้ได้สมการพยากรณ์จำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาคือ Y = 0.578X – 51,536.38 เมื่อ X แทนจำนวนการเกิด และ Y แทนจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา มีค่า = 0.947 แสดงว่าจำนวนการเกิดกับจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก และความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ R<sup>2</sup> = 0.897 แสดงว่า จำนวนการเกิดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ 89.7%</p> <p>การทดสอบสมมติฐาน พบว่า จากผลของความสัมพันธ์ของจำนวนการเกิดและจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กันสูงมาก และความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และผลการทดสอบความสัมพันธ์ (t = 9.767**) พบว่าความสัมพันธ์ของจำนวนการเกิดและจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นไปในลักษณะเชิงเส้น ดังนั้นจากสมมติฐานที่กล่าวว่าจำนวนผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาต่อไปจะลดลงเป็นจริงที่ระดับนัยสำคัญ 0.01</p>
ลลิตพัทธ์ สุขเรือน และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
การพัฒนารูปแบบระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การบริหารจัดการรายได้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3660
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยการศึกษารูปแบบระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการบริหารจัดการรายได้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบจัดการพัฒนาระบบสารสนเทศภายในมหาวิทยาลัยรวมถึงการได้รูปแบบของกระบวนการการนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์พยากรณ์แนวโน้มเพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์และการบริหารจัดการรายได้ของมหาวิทยาลัย โดยการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบนั้นได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความเหมาะสมเป็นแบบ Rating Scale Model และการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรูปแบบที่ได้ประกอบด้วย 1) การจัดการผู้ใช้ระบบ 2) ข้อมูลการจัดการรายได้ 3) ระบบการจัดการพยากรณ์รายได้ และ 4) ประเภท Dashboard ผลการประเมินความเหมาะสมของการพัฒนารูปแบบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุดมีค่าเฉลี่ยรวม 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.500</p>
ณัฐพงศ์ สนองคุณ และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1
-
ผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ 7^x+35^y=z^2
https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/3808
<p>ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาและหาผลเฉลยจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบทั้งหมดของสมการไดโอแฟนไทน์ <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?&space;7^{x}&plus;35^{y}=z^{2}" alt="equation"> เมื่อ <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?x,y" alt="equation"> และ <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?z" alt="equation"> เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ โดยใช้ความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีจำนวน เช่น การหารลงตัว จำนวนเฉพาะ และสมภาค เป็นต้น ผลการวิจัย พบว่า สมการโอแฟนไทน์ดังกล่าวมีผลเฉลยจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบเพียงผลเฉลยเดียวเท่านั้น คือ <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\left(x,y,z\right)=\left(0,1,6\right)" alt="equation"></p>
พรรษา รักษาเงิน และคณะ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-29
2025-04-29
9 1