การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตตู้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมระบบราง

ผู้แต่ง

  • สรายุทธ เก็มเล็ม หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พจนีย์ ศรีวิเชียร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, รอบเวลาการผลิต, การปรับสมดุลไลน์การผลิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตตู้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมระบบราง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต โดยข้อมูลการผลิตพบว่า ผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 90% และในกระบวนการผลิตมีปัญหาการเสียเวลาล่าช้าสูญเปล่าอยู่ เป็นจำนวนมาก เมื่อใช้เครื่องมือคุณภาพในการวิเคราะห์ปัญหา แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Diagram) และแผนภาพ สาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พบสาเหตุหลักคือ การสูญเสียเวลารอคอย (Waiting Time) ที่เป็นคอขวด และการเสียเวลาล่าช้าสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ด้านเทคนิควงจรควบคุม (M & E Control Design) และงานติดตั้งสายสัญญาณวงจรไฟฟ้า (Wiring & Terminations) จึงได้ท่าการวิเคราะห์เสนอวิธีการแก้ไขด้วยการ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (Revised Work Process) การปรับสมดุลไลน์การผลิต (Line Balancing) และการ ปรับปรุงรอบเวลาการผลิต (Cycle Time) ให้เป็นมาตรฐานทั้งระบบ โดยผลการปรับปรุงกระบวนการผลิต สามารถ ลดเวลาสูญเปล่าในการผลิต เฉลี่ยลดลงได้เป็น 54.7 ชั่วโมง/หน่วย โดยลดลงจากเดิม 66.3 ชั่วโมง/หน่วย คิดเป็น 17% ส่งผลให้ประสิทธิผลการผลิต (Productivity) มีอัตราผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 79% เพิ่มเป็น 97.6% การวัดผล ประสิทธิภาพการผลิตของอัตราการส่งมอบผลิตภัณฑ์ (Efficiency) สามารถเพิ่มยอดการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบมาตรฐาน จากเดิม 67% เพิ่มขึ้นเป็น 80.3% และสามารถเพิ่มอัตราการส่งมอบผลิตภัณฑ์โดยรวม จากเดิม 81.4% เพิ่มขึ้นเป็น 94% สามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตและส่งมอบสินค้าได้มากขึ้นกว่า 90% การวัดผลด้านการ ลดต้นทุนและเพิ่มรายได้รวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 26% เป็นเงิน 7,243,212 บาท และสามารถส่งมอบงานทันเวลาที่กำหนด

References

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. บีโอไอพร้อมผลักดันผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยสู่อุตสาหกรรมระบบราง, 2562. สืบค้นจาก: https://chonburi.boi.go.th/index.php/home/.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ต้นทุนการผลิต และวิธีการลดต้นทุนการผลิต, 2562. สืบค้นจาก: https://bsc.dip.go.th/th/category/sale-marketing/sm-productioncost/.

เดชา อัครศรีสวัสดิ์. การบริหารผลิตภาพและคุณภาพเบื้องต้น. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 2562.

สิริพงศ์ จึงถาวรรณ. แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) การขจัดความสูญเปล่า (Wastes) ทั้ง 8 ประการ, 2559. สืบค้นจาก: http://www.leanxacademy.com/single-post/lean-thinking-8-wastes/.

Nutvipa. เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tools), 2559. สืบค้นจาก: http://econs.co.th/index.php/2016/07/29/7-qc-tools/.

ปิยะพร บุปผาชาติ. การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

ยุทธณรงค์ จงจันทร์, ยอดนภา เกตุเมือง, นรา บุริพันธ์์. การจัดสมดุลสายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตติดตั้งดัมพ์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 2555.

มนตรี ฟังอารมณ์. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางคอมปาวด์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตยางรถยนต์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17

How to Cite

[1]
เก็มเล็ม ส., รักการ ศ., และ ศรีวิเชียร พ., “การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตตู้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมระบบราง”, JSciTech, ปี 5, น. 11–22, ส.ค. 2021.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย