การเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรไผ่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กรณีศึกษาเกษตรไผ่กิมซุง
คำสำคัญ:
การเพิ่มประสิทธิภาพ, เทคโนโลยีดิจิทัล, เกษตรไผ่กิมซุงบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ ผู้ศึกษาสนใจศึกษาปัญหาการทำสวนไผ่แบบดั้งเดิม โดยใช้สวนไผ่กิมซุงในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรีได้ศึกษาจำนวน 1 ไร่ สวนเกษตรแห่งนี้มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ ประมาณ 4 ตัน ต่อไร่ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ ปริมาณมากแต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ สวนทางกลับความต้องการ ผลิตภาพจะขึ้นอยู่กับการได้รับน้ำอย่างเหมาะสม เกษตร แบบดั้งเดิมพึ่งพาน้ำจากฝนเป็นส่วนมากทำให้สวนไผ่ประสบปัญหา ในการศึกษานี้จะนำหลักการจัดการงานวิศวกรรม ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาควบคุม รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่า สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอย่าง น้อย 50% การจัดการระบบน้ า จัดวางระบบสปริงเกอร์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี IoT มาควบคุมระบบน้ำและปุ๋ย รวมทั้งมีระบบเฝ้าติดตามผ่านสมาร์ท เข้ามาจัดการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ผลการศึกษาลงทุนวางระบบ 48,993 บาท เมื่อให้น้ำในปริมาณที่พอเหมาะและสม่ำเสมอ (10 ลิตร/กอ) ช่วงเวลา 7:00-9:00 น. ความชื้นที่ระบบท างานที่ 25% และหยุดการท างานที่ 80% ส่งผลให้ไผ่มีการออกหน่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มจาก 4 ตัน เป็น 6 ตันต่อไร่ต่อปี รวมถึงการใช้ น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เวลาคืนทุน 0.6 ปี นั่นจึงสรุปได้ว่าการลงทุนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการลงทุนที่คุ้มทุนจริงและควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
References
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. (2555). สถานการณ์เฟอร์นิเจอร์ไทย ตัวเลขการส่งออกเฟอร์นิเจอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tfa.or.th/th/new1-thailand-furniture.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 กุมภาพันธ์ 2563).
เสกสม พัฒนาพิชัย. (2555, กรกฎาคม - กันยายน). การปลูกไผ่ตงลืมแล้ง. วารสารข่าวเกษตรชลประทาน ปีที่16, 9-19.
ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก. (2558). การศึกษาการเจริญเติบโตและความต้องการน้ำของต้นไผ่ 10 พันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 22-34.
ทรงยศ พุ่มทับทิม. (2562 มิถุนายน). ไผ่ ต้องการปุ๋ยเมื่อใด? เราต้องให้ปุ๋ยไผ่ ตอนไหน? เทคโนโลยีการเกษตร [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www. technologychaoban.com/bullet-news- today/article .(วันที่ค้นข้อมูล: 15 กุมภาพันธ์ 2563).
เฉลิม เถรว่อง, ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2550). ลักษณะทางนิเวศสรีรวิทยาบางประการของไผ่ 4 ชนิด “เทคโนโลยีวนวัฒนเพื่อขจัดความยากจน” การสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา 8,121-133
เสกสม พัฒนพิชัย และคณะ. (2558). ผลของการให้น าชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 3). สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 7 (ปัตตานี)อ.เมือง จ.ยะลา.
จรัณธร บุญญานุภาพ, ดร และคณะ (2558). การประเมินความสมดุลของน าในระบบนิเวศแหล่งต้นน้ำและ
แนวทางการจัดการ ทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติจากดินถล่ม. โครงการวิจัยภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16-18
วาสนา วิรุณรัตน์ และคณะ. (2557). ศึกษาเปรียบเทียบผลจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพบางประการของดินในระบบการปลูกผักอินทรีย์ รายงานผลการวิจัย คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ, 11-13.
จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. (2559). เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ Smart Farms Technology. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 14 (2), 202-210.
สุมิท แช่มประสิทธิ์. (2559). เกษตรกรไทยยุค THAILAND 4.0. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.qmlcorp.com/content/เกษตรกรไทยยุค- thailand-4.0. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 กุมภาพันธ์ 2563).
บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด. (2019.). ปฐมบท MQTT. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://blog.thaieasyelec.com/ introduction-to-mqtt/. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 กุมภาพันธ์ 2563).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.