การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการก่อสร้างฝายทดน้ำ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • เศรษฐกานต์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ, ฝายทดน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการก่อสร้างฝายทด กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จากโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำใน 4 พื้นที่ ปีพุทธศักราช 2562 โดยใช้ งบประมาณโดยประมาณ 1,370,000 บาท และมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 4,800 ไร่ ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำนั้นอาจจะไม่สามารถทราบประสิทธิภาพ เนื่องมาจากงานก่อสร้างมีการใช้ทรัพยากรวัสดุในการก่อสร้างกับผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างไร โดยใช้การวิเคราะห์รูปแบบปัญหาทางคณิตศาสตร์การวัดการประสิทธิภาพการผลิต ด้วยวิธีการวิเคราะห์กรอบข้อมูล (DEA) โดยใช้เครื่องมือ Solver ในโปรแกรม Microsoft Excel ในการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดปัจจัยการผลิต คือ ค่าวัสดุ และค่าแรงงาน ปัจจัยผลผลิต คือ พื้นที่ที่ได้รับ ประโยชน์ และขนาดของฝาย พบว่าค่า Technical Efficiency และ Allocative Efficiency ของแต่ละฝายมีค่าแตกต่างกัน

ผลการการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพทางด้านเทคนิค (TEcrs) โครงการฝายทดน้ำทั้ง 8 ฝายของ 4 รูปแบบ มีค่าประสิทธิภาพทางด้านเทคนิคเท่ากับร้อยละ 68.0, 51.5, 70.8, 48.5, 50.5, 54.3, 87.0 และ 84.0 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 64.3 ประสิทธิภาพทางด้านการจัดสรรทรัพยากร (AE) โครงการฝายทดน้ำทั้ง 8 ฝายของ 4 รูปแบบ มีค่าประสิทธิภาพทางด้านการจัดสรรทรัพยากรเท่ากับร้อยละ 67.3, 71.8, 70.8, 58.0, 58.0, 56.3, 68.0 และ 72.0 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 65.3 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โดยฝายที่มีค่าประสิทธิภาพต่ำที่สุดเท่ากับ 56.3 ฝายที่มีค่าประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่ากับ 72.0 และมูลค่าปัจจุบันของ ผลประโยชน์ (B/C) ของฝายทดน้ำใน 4 พื้นที่ เท่ากับ 36.62, 23.05, 29.94 และ 18.66 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 27.072 ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง 4 พื้นที่ คือ อำเภอแม่เปิน อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมตาบง และอำเภอแม่วงก์

References

องค์การบริหารส่วนจังหวัด. รายงานแสดงผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562, 2563 สืบค้นจาก: http://www.nakhonsawanpao.go.th/ebook/2562

เพิ่มวิทย์ วราชิต. การวัดประสิทธิภาพของนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของประเทศไทยด้วยวิธี DEA. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561

ประภัสสร วารีศรี และสุบรรณ เอี่ยมวิจารย์. ประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล กรณีศึกษาหมวดธุรกิจเกษตร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2561, 8 (1), หน้า 113-121.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2561, 5 (2), หน้า 172-184.

สำนักงานเกษตรจังหวัด. รายงานสถิติทางการเกษตร พืชอายุสั้น (รต.01) ปีเพาะปลูก 2560/61, 2563 สืบค้นจาก: http://www.nakhonsawan.doae.go.th/2016

อนุรักษ์ ปัญจกะบุตร. การประเมินการก่อสร้างฝายทดน้ำโดยใช้วิธีวิเคราะห์กรอบข้อมูล (DEA). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาการจัดการงานวิศวกรรม มหาลัยศิลปากร, 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17

How to Cite

[1]
รุ่งเรือง เ. และ รักการ ศ., “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการก่อสร้างฝายทดน้ำ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง”, JSciTech, ปี 5, น. 1–10, ส.ค. 2021.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย