การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องต่อมุม กรณีกรณีศึกษา โรงงานผลิตขอบยางกระจกประตูรถยนต์

ผู้แต่ง

  • สมชาติ วงศ์เทพ สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • พจนีย์ ศรีวิเชียร สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบำรุงรักษาเครื่องต่อมุม, กระจกประตูรถยนต์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องต่อมุมด้วยการลดเวลาขัดข้องของ เครื่องจักรได้ 60% เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร (Machine Availability) ได้ 10% โดยใช้โรงงานตัวอย่างซึ่งผลิต ขอบยางกระจกประตูรถยนต์ในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา การศึกษาครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Diagram) ,การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค 5 ค าถาม (5 Why Analysis) ,แผนภาพสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) สำหรับการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาหาสาเหตุ การศึกษาเบื้องต้นพบว่า โรงงานตัวอย่างไม่มีระบบการจัดการการซ่อมบำรุง และคู่มือการทำงานโดยทำการซ่อมบำรุงรักษาก็ต่อเมื่อมีเครื่องจักรหยุดทำงานในหน้างานเท่านั้น การศึกษานี้จึงได้เสนอระบบการบำรุงเครื่องจักรแบบ Dynamic Pm โดยใช้โปรแกรม PLC นับ จำนวนชั่วโมงการทำงานตามรอบเวลาการทำงานจริง โดยจัดทำเอกสารการควบคุมอะไหล่ (Spare Parts Report) แยกประเภทของอะไหล่แบบ Common Part และแบบ Non Part โดยใช้ จุดสั่งซื้อ ROP (Reorder Point) เป็น สูตรคำนวณการจัดซื้อและจัดเก็บ และเก็บข้อมูลการซ่อมบำรุงและประวัติการเปลี่ยนอะไหล่ลงในฐานข้อมูล โปรแกรม Access เพื่อการวิเคราะห์การชำรุดเสียหายในภายหลัง จากการดำเนินงานได้นำระบบไปปฏิบัติและทำการเปรียบเทียบผลก่อนด าเนินการและหลังดำเนินการซึ่งสรุปผลได้ดังต่อไปนี้ โดยค่าเวลาเฉลี่ยระหว่างการขัดข้อง ของเครื่องจักร MTBF คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเท่ากับ 86.21% ค่าเวลาเฉลี่ยในการซ่อม MTTR คิดเป็นอัตราการ ลดลงเท่ากับ 75% เปอร์เซ็นต์การหยุดซ่อมของเครื่องจักร คิดเป็นอัตราการลดลงเท่ากับ 79.68% อัตราความพร้อม ของเครื่องจักร คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเท่ากับ 10.12%

References

สุพัฒน์ วงศ์จิรัฐิติกาล. การปรับปรุงระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันของโรงงานผลิตเพลารถยนต์ วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555. สืบค้นจาก https://www.thaiscience.info/journals/Article/TJKM/10963769.pdf

ดวงตา ละเอียดดี. การจัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้สอดคล้องกับแผนการผลิตที่ไม่แน่นอน กรณีศึกษาโรงงานผลิตอุปกรณ์พาวเวอร์ซัพพลาย. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12712

เกษม รุ่งเรื่อง. การวางแผนบ ารุงรักษาเชิงป้องกันเครื่องจักรในอุตสาหกรรมรีเลย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2552. สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/137806.pdf

กษิรัช สนธิเปล่งศรี. การปรับปรุงประสิทธิภาพการบ ารุงรักษาเครื่องฆ่าเชื้อ. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, 2555. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2424/1.pdf

ลลัลดา ชมโฉม. การศึกษาปัญหาและการหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านเอกสารประกอบการเดินพิธีการกรมศุลกากร (ใบขนขาออก) กรณีศึกษาบริษัทตัวแทน ส่งออกสินค้าทางอากาศแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559. สืบค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56920268.pdf

อภิชาติ นาควิมล. การพัฒนาระบบการจัดการบ ารุงรักษาเครื่องจักรเพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิผลในสายการผลิต สารนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5510037277_4058_7174.pdf

อธิป ข าวงษ์รัตนโยธิน. การวางแผนบ ารุงรักษาเครื่องขึ้นรูปผลิตภัณฑ์.กรณีศึกษา บริษัทโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิก สารนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. สืบค้นจาก http://uc.thailis.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00732884

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

[1]
วงศ์เทพ ส., รักการ ศ., และ ศรีวิเชียร พ., “การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องต่อมุม กรณีกรณีศึกษา โรงงานผลิตขอบยางกระจกประตูรถยนต์”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 113–122, มี.ค. 2021.