ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดต่อการเจริญเติบโตและความเข้มสีของกุ้งขาวแวนนาไม
คำสำคัญ:
สาหร่ายสีแดงน้ำจืด, สารสี, กุ้งขาวแวนนาไมบทคัดย่อ
สาหร่ายสีแดงน้ำจืด (Caloglossa beccarii DeToni) มีรงควัตถุให้สีอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์อย่างเด่นชัด มีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารเร่งสีในสัตว์น้ำ ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงทดลองใช้สารสกัดจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดในการปรับปรุงสีของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดต่อการเจริญเติบโตและความเข้มสีของกุ้งขาวที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปผสมสารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดที่สกัดโดยใช้เอทานอลเป็นตัวท้าละลาย ที่ระดับแตกต่างกันคือ 0 (ชุดควบคุม), 50, 100, 150, 200, 250 และ 300 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (mg/kg) ทำการเลี้ยงเป็นเวลา 4 เดือน ในตู้กระจกและวัดสีผิวของกุ้งโดยใช้เครื่องวัดสีระบบ CIE (L*a*b*) พบว่า ทุกระดับของการผสมสารสกัดหยาบจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดในอาหารไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งขาวแวนนาไม (P>0.05) และกุ้งขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสารสกัดหยาบจากสาหร่าย (100-300 mg/kg) มีค่าความสว่าง ( L*) ต่ำกว่ากุ้งขาวในชุดควบคุมที่ไม่เสริมสารสกัดจากสาหร่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกุ้งขาว ชุดควบคุมมีค่าเฉลี่ยความสว่างสูงที่สุด เท่ากับ 35.71±1.14 และค่าเฉลี่ยของสีแดง (a*) มีค่าสูงสุดในชุดการ ทดลองที่ 6 (250 mg/kg) มีค่าเท่ากับ 7.86±1.72 สูงกว่ากุ้งขาวในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนค่าเฉลี่ยสีเหลือง (b*) พบว่า ทุกระดับของการผสมสารสกัดหยาบจากสาหร่ายสี แดงน้ำจืดในอาหารไม่มีผลต่อค่าสีเหลือง (P>0.05)
References
กรมประมง. สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเลประจำปี 2561. เอกสารฉบับที่ 2/2563. กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ, 2563.
วรรณิณี จันทรแกว และชยากร ภูมาศ. ปริมาณรงควัตถุในสาหรายสีแดงน้ำจืดบางชนิดจากจังหวัดนครศรี
ธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีการประมง, 2556, 7(S1), หน้า 61-70.
ชลอ ลิ้มสุวรรณ และคณะ. ผลของการแช่กุ้งขาวแวนนาไมในถังที่มีสีแตกต่างกันต่อคุณภาพสีของกุ้งต้ม. เอกสารเผยแพร่ ศูนย์วิจัยธุรกิจเพาะเลี ยงสัตว์น้ำ, คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552.
ธัชศึก พร้อมคุ้ม และคณะ. ผลของสาหร่ายสไปรูลิน่า สาหร่ายไก ต่อการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันและปรับปรุงสีของปลาทอง. การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 5, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2554.
วัฒนา วัฒนกุล และอุไรวรรณ วัฒนกุล. ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสีแดงน้ำจืดต่อสีผิวและการเจริญเติบโตของปลาทอง. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 30 ประจ้าปี 2563 และการประชุมวิชาการระดับชาติคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา, 2563, หน้า 1112-1118.
จรัญ จันทลักขณา. สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนวิจัย. ภาควิชาสัตวบาล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2540.
สุปราณี ชินบุตร และคณะ. ยาและสารเคมีเพื่อการป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำ. เอกสารเผยแพร่ กรมประมง, สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ, กรมประมง, กรุงเทพฯ, 2543.
de Quirós and Costa. Analysis of carotenoids in vegetable and plasma samples: A Review. J. Food Compos. Anal., 2006, (19), p.p. 97–111.
ชลอ ลิ มสุวรรณ และคณะ. การเพิ่มความเข้มของสีเปลือกและลดปัญหาหัวแตกหลังจากต้มกุ้งขาวแวนนาไม. เอกสารเผยแพร่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุง ป พ.ศ. 2550, ศูนย์วิจัยธุรกิจเพาะเลี ยงสัตว์น้ำ, คณะประมง,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2550.
เวียง เชื้อโพธิ์หัก. โภชนศาสตรสัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543.
กิจการ ศุภมาตย์ และคณะ. รายงานโครงการวิจัยผลของแหล่งสารสีธรรมชาติต่อการเร่งสีและความต้านทานความเครียดในกุ้งขาว. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 2549.
Pan et al. Effects of light regime, algae in the water and dietary astaxanthin on pigmentation, growth, and survival of black tiger prawn Penaeus monodon post-larvae. Zoological studies, 2001, 40(4), p.p. 371-382.
Boonyaratpalin et al. Effects of β-carotene source, Dunaliella salina, and astaxanthin on pigmentation, growth, survival and health of Penaeus monodon. Aqua Res., 2001, (31), p.p. 182-190.
ทนงศักดิ์ สัสดีแพง และสุรีวัลย์ ชุ่มแก้ว. การเสริมพริกหยวกสีแดง พริกหยวกสีเหลือง และแครอทเพื่อเพิ่มสีเปลือกกุ้งสวยงาม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ลำปาง, 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.