แผนที่ออนไลน์เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินถล่มในตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • นันทน์นภัส หาญยุทธ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • จุฑาศินี ธัญประณีตกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • บัณฑิต อนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ปัณฑิตา ตันวัฒนะ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภัยพิบัติดินถล่ม, การเตรียมความพร้อม, ความเปราะบางรายครัวเรือน, แผนที่ออนไลน์

บทคัดย่อ

ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มสูง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจึงมีความสำคัญอย่างมาก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดท าแผนที่ออนไลน์เพื่อเป็น ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินถล่มและเพื่อให้ประชาชนในชุมชน จิตอาสา และ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลน าแผนที่ออนไลน์ ไปใช้ประโยชน์ มีการแสดงข้อมูลความเปราะบาง รายครัวเรือน และจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น จุดรวมพล ศูนย์พักพิงชั่วคราว จุดแจ้งเตือนภัย จุดวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น โดยแผนที่ออนไลน์นี้ สามารถเข้าถึงได้จาก QR code ผลจากการน าแผนที่ออนไลน์ ไปให้กลุ่มตัวอย่างใช้งาน และ ประเมินความสามารถทั้งก่อนและหลังใช้งาน ก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับ ความมั่นใจ 95% และความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,488 คน จาก 2,591 คน (ประชาชนที่มีอายุ มากกว่า 12 ปี) พบว่า ประชาชนในชุมชนสามารถใช้งานแผนที่ออนไลน์ก่อนใช้อยู่ในระดับน้อย (x̅ =1.62, S.D.= 1.18) ในขณะที่หลังใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.74, S.D. = 0.49) จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่สามารถ ใช้แผนที่และรู้ตำแหน่งต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลในแผนที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับจิตอาสาที่ผลการประเมินความสามารถ ในการใช้งานแผนที่ออนไลน์ก่อนใช้ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.48, S.D. = 1.19) และหลังใช้อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̅ = 4.81, S.D. = 0.28) ส่วนเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่า ผลการประเมินความ คิดเห็นในการใช้งานแผนที่ออนไลน์ ก่อนใช้อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.25, S.D.= 0.48) และหลังใช้อยู่ในระดับ มาก (x̅ = 4.08, S.D.= 0.82) โดยยังพบว่าหลังใช้แผนที่ออนไลน์เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความ คิดเห็นต่อการนำแผนที่ออนไลน์ไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.50, S.D. = 0.50) แสดงให้เห็นว่าจ้า หน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของแผนที่ออนไลน์ และงานวิจัยนี้ได้แผนที่ออนไลน์ที่ สามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินถล่มในตำบลบ่อเกลือเหนือต่อไป

References

ข่าวสด.2561.บ่อเกลือวุ่น! สั่งอพยพชาวบ้านหลังดินถล่มทับชาวบ้าน 7 ศพ ยังไม่พบร่างอีก 1 ราย. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2562. จาก https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1383945

สำนักปลัด. (2562). แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเกลือเหนือ. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. น่าน

กรมป่าไม้. หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้บ่อเกลือ. 2562. เลขที่ 126. หนังสืออนุญาตให้เข้าท าประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ.

สมศักดิ์ ใจปิง, ผู้ให้สัมภาษณ์, 15 ตุลาคม 2562.

สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2556. แนวทางการดำเนินงานรับนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร. กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2553. ก าหนดเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ

พ.ศ. 2546 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร.

วัชรี ศิริ. ความหมายคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จาก: http://www.satun.m-society.go.th/

ดือรามัน บินสะมะแอ และคณะ. ระบบข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จาก http://k4ds.psu.ac.th/dhssouth/download/files/DHIS/DHIS_3/

อรพิน จิตคุณธรรมกุล และคณะ. การก าหนดอายุครรภ์, 2557 สืบค้นจาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.)

ภูษณิศา มีนาเขตร. (2562). การประเมินคุณภาพของการประยุกต์ใช้ Google My Maps ในการเยี่ยมบ้านของนักษาศึกพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาณี, ม.ป.ป. 51 – 63.

สายฝน แสงหิรัญ ทองประเสริฐและขนิษฏา ชูสุข. (2558). การจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วน

กันต์ เอี่ยมอินทรา. (2558). แผนรับมือภัยพิบัติ เทศบาลนครเกาะสมุย, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

นรเทพ ศักดิ์เพชร และคณะ (2559). การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยพิบัติน้ำท่วม เมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 11(2). 102 – 116.

รณณภัทร พันโกฏิ. (2560). การจัดการภัยพิบัติสินามิในเมืองท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน : ศึกษาเปรียบเทียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยภัย, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ธนาภรณ์ ปานรังศรี. (2561). การจัดการข้อมูลภัยพิบัติด้วยระบบธุรกิจอัจฉริยะ : กรณีศึกษาผลกระทบระดับความรุนแรงจากภัยแล้ง อุทกภัย และดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อนุสรา โพธิ์ศรี และผกามาศ ถิ่นพังงาน. (ม.ป.ป.). ความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จาก http://www.tei.or.th/ thaicityclimate/public/research-45.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). ทิศทางและพื้นที่ของการประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. วีพริ้นท์.กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

[1]
หาญยุทธ น., ธัญประณีตกุล จ., อนุรักษ์ บ., และ ตันวัฒนะ ป., “แผนที่ออนไลน์เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินถล่มในตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 46–59, มี.ค. 2021.