การพัฒนาร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับการสอนภาคปฏิบัติ (4 ON) ตามชีวิตปกติใหม่จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • สรชัย ชวรางกูร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • สุวุฒิ ตุ้มทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ณพงศ์ วรรณพิรุณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ชัชฎา ชวรางกูร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • อธิษฐ์ คู่เจริญถาวร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, ภาคปฏิบัติ, ชีวิตปกติวิถีใหม่, โควิด-19

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานส าหรับการสอน ภาคปฏิบัติตามชีวิตปกติใหม่จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) มีวิธีการด าเนินงานวิจัย ได้แก่ 1) ก าหนดกรอบแนวคิด 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี 3) ยกร่างรายละเอียดรูปแบบ 4) สนทนากลุ่มเพื่อวิพากษ์ ร่างรูปแบบ และ 5) ประเมินรับรองร่างรูปแบบ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลเขิงคุณภาพและปริมาณจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางด้านรูปแบบการสอน การสอนทางไกล และคอมพิวเตอร์ศึกษา จ านวน 5 คน จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานส าหรับการสอนภาคปฏิบัติตามชีวิตปกติ ใหม่จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) และแบบประเมินรับรองร่างรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการ สอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) เป้าหมายของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) บทบาทผู้สอน 3) บทบาท ผู้เรียน 4) ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน 5) วิธีการจัดการเรียนการสอน (4 ON) 6) การวัดและประเมินผล และ 7) ระบบการจัดการเรียนการสอน และผลการรับรองร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี

References

กระทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. 2560, 2560.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563), 2563.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 1, 2564.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คู่มือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์, 2563.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์, 2541.

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ.นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม และคณะ. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.พยาบาลสารปีที่ 42 ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, 2558, หน้า 129-140.

สิริพร อินทสนธิ์. โควิด -19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2563), 2563, หน้า 203.

Froilan, M. THE IMPACT OF VIDEO CONFERENCING PLATFORM IN ALL EDUCATIONAL SECTORS AMIDST COVID-19 PANDEMIC. ICONTECH INTERNATIONAL JOURNAL, 2021. 5(1), p.p. 1-4.

เฉลิมพล ท างาน และนภัส ไชยวงศ์.Google classroom นวัตกรรมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Bibliograpy Citation: Proceeding CRCI-2018 เล่ม 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (6-8 ธันวาคม 2561), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2562, หน้า 432-442.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

How to Cite

[1]
ชวรางกูร ส. ., ตุ้มทอง ส., วรรณพิรุณ ณ., ชวรางกูร ช., และ คู่เจริญถาวร อ., “การพัฒนาร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับการสอนภาคปฏิบัติ (4 ON) ตามชีวิตปกติใหม่จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)”, JSciTech, ปี 5, น. 1–12, ธ.ค. 2021.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย