ผลกระทบของการหมุนและการเยื้องศูนย์กลางแนวแรงของ โหลดเซลล์มาตรฐานต่อการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง/แรงกด

ผู้แต่ง

  • ไกรศักดิ์ ยืนยั่ง กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • พิสิฐ หอมเชย กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • วิชัย กาญจนพัฒน์ กองสอบเทียบเครื่องมือวัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.682

คำสำคัญ:

เครื่องทดสอบแรงดึง/แรงกด, การสอบเทียบ, โหลดเซลล์มาตรฐาน, การหมุน, การเยื้องศูนย์กลางแนวแรง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอผลกระทบของการหมุนโหลดเซลล์และการเยื้องศูนย์กลางแนวแรงในระหว่าง การสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง แรงกด ตามมาตรฐาน ISO 7500-1:2018 (E) ในงานวิจัยได้ทําการสอบเทียบ เครื่องทดสอบขนาด 1000 kN ค่าความละเอียด 0.5 kN คลาส 0.5 ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน 3 กรณี ได้แก่ กรณี A ไม่หมุนโหลดเซลล์มาตรฐานและไม่เยื้องศูนย์กลางแนวแรง กรณี B หมุนโหลดเซลล์มาตรฐานเป็นมุม 0 องศา, 120 องศา และ 240 องศา ตามลําดับ และไม่เยื้องศูนย์กลางแนวแรง กรณี C ไม่หมุนโหลดเซลล์มาตรฐาน แต่เลื่อนตําแหน่งของ โหลดเซลล์มาตรฐานให้เยื้องศูนย์กลางแนวแรงเป็นระยะ 10 มม. เมื่อทวนสอบผลการสอบเทียบของทั้งสามกรณีได้คลาส 0.5 เท่ากัน ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลการสอบเทียบกรณี A และ B ได้ผลไม่แตกต่างกัน ส่วนกรณี A และ C พบค่า ความผิดพลาดในการลดแรงกระทําของเครื่องทดสอบจากค่าแรงสูงสุดกลับมายังตําแหน่งเดิม (Relative error of reversibility) เพิ่มขึ้นถึง -0.45% และค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีค่าเพิ่มขึ้นถึง ±0.53% โดยพารามิเตอร์ทั้งสองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามขนาดของแรงกระทํา เมื่อนํามาเปรียบเทียบด้วยสถิติ (En number) พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.05 - 0.89 ซึ่งความแตกต่างนั้นไม่มีนัยสําคัญ และถ้าหากเพิ่มแรงกระทํามากขึ้น En number มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เมื่อเครื่องทดสอบแรงดึงแรงกด และโหลดเซลล์มีคลาสที่ดี การหมุน โหลดเซลล์ไม่ส่งผลต่อการสอบเทียบ แต่การเยื้องศูนย์กลางแนวแรงจะส่งผลต่อการสอบเทียบ

References

สํานักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบปูนซีเมนต์ เล่ม 12 วิธี ทดสอบความต้านแรงอัดของมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก. มอก. 2752 เล่ม 12-2562. กรุงเทพฯ: สมอ.; 2562

สํานักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบความต้านแรงอัดของ แท่งทดสอบคอนกรีต, มอก.409-2562. กรุงเทพฯ: สมอ.; 2562

International Organization for Standardization (ISO). Metallic materials-calibration and verification of static uniaxial testing machines- Part 1: Tension/compression testing machines-calibration and verification of the force-measuring system. ISO 7500-1:2018(E). Geneva, Switzerland: ISO; 2018.

International Organization for Standardization (ISO). Metallic materials-calibration of force-proving instruments used for the verification of uniaxial testing machines. ISO 376:2011(E). Geneva, Switzerland: ISO; 2011.

Shimadzu. Instruction manual computer-controlled, hydraulic-servo UH-1 Series 2000KN-1000KN model.

International Organization for Standardization and International Electrotechnical Commission (ISO/IEC). Conformity assessment-general requirements for proficiency testing. ISO/IEC 17043:2010(E). Geneva, Switzerland: ISO; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-06-2024

How to Cite

ยืนยั่ง ไ., หอมเชย พ., & กาญจนพัฒน์ ว. (2024). ผลกระทบของการหมุนและการเยื้องศูนย์กลางแนวแรงของ โหลดเซลล์มาตรฐานต่อการสอบเทียบเครื่องทดสอบแรงดึง/แรงกด . วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 13(1), 12–26. https://doi.org/10.60136/bas.v13.2024.682