การประเมินคุณภาพวัสดุและการศึกษาการละลายของธาตุจากกระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียม
DOI:
https://doi.org/10.60136/bas.v6.2017.207คำสำคัญ:
กระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียม, คุณภาพของวัสดุ, การละลายของธาตุบทคัดย่อ
จากข้อสังเกตของประชาชนในสื่อออนไลน์และคําถามจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องการปนเปื้อนของสารอันตรายที่สามารถละลายออก มาจากการใช้กระทะไฟฟ้าขณะปรุงอาหารเนื่องจากสภาพผิวส่วนกระทะของกระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียมเปลี่ยนไปหลังใช้ปรุงอาหาร ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้สุ่มตัวอย่างกระทะไฟฟ้าประเภทอะลูมิเนียมจากตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 13 ตัวอย่าง ประกอบด้วย กระทะแบบ 1 จํานวน 9 ตัวอย่าง และกระทะแบบ 2 จํานวน 4 ตัวอย่าง เพื่อประเมินคุณภาพของอะลูมิเนียมส่วนกระทะ และศึกษาการละลายของธาตุต่าง ๆ จากกระทะไฟฟ้า โดยใช้ตัวแทนอาหาร 4 ประเภท ได้แก่ น้ำปราศจากไอออน น้ำประปา สารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น ร้อยละ 1 และสารละลายกรดซิตริก ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ในสภาวะต้มเดือด นาน 2 ชั่วโมง ผลการประเมินคุณภาพของอะลูมิเนียมส่วนกระทะพบว่าทุกตัวอย่างเป็นวัสดุประเภทอะลูมิเนียมโลหะผสม โดยร้อยละ 55 ของตัวอย่างกระทะไฟฟ้าแบบ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์กําหนดตามมาตรฐาน BS EN 602 ขณะที่กระทะแบบ 2 ผ่านเกณฑ์กําหนดทุกตัวอย่าง การศึกษาการละลายของธาตุต่างๆ จากกระทะไฟฟ้าอะลูมิเนียม ทั้ง 2 แบบ พบอะลูมิเนียม เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส และสังกะสี ละลายออกมาปนเปื้อนกับตัวแทนอาหารทั้ง 3 ประเภท (น้ำประปา สารละลายโซเดียมคลอ ไรด์ และ สารละลายกรดซิตริก) โดยอะลูมิเนียมที่ละลายจากกระทะไฟฟ้าแบบ 1 ทุกตัวอย่างมีปริมาณสูงกว่าค่า specific released limit (SRL) ขณะที่กระทะไฟฟ้าแบบ 2 พบปริมาณอะลูมิเนียม ไม่เกินเกณฑ์ สําหรับเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส และสังกะสีจากตัวอย่างทั้ง 2 แบบ มีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์กําหนด
References
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มอก.1509-2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทะไฟฟ้า.
ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด, วรรณภา ตันยืนยงค์ และจิตวิไล เวฬุวนารักษ์. เรื่องเล่าคนเข้าครัว: ภาชนะอะลูมิเนียมในบ้านเรา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 2556. 61(193), 14-17.
WEIDENHAMER JEFFREY D., et.al. Metal exposures from aluminium cookware: An unrecognized public health risk in developing countries. Science of the Total Environment. 2017, 579, 805-813.
BRITISH STANDARD INSTITUTION. BS EN 602, 2004. Aluminium and aluminium alloys - wrought products - chemical composition of semi-finished products used for the fabrication of articles for use in contact with foodstuff.
ASTM INTERNATIONAL. ASTM B209-14. Standard specification for aluminum and aluminum alloy sheet and plate.
JEFFERY G.H., J. BASSETT, J. MENDHAM and R.C. DENNEY. Vogel's textbook of quantitative chemical analysis. 5th ed. New York: Wiley, 1989, pp. 486-490.
WORLD HEALTH ORGANIZATION. Evaluations of the joint FAO/WHO Expert committee on food additives: Al [online]. [viewed 24 march 2017]. Available from: http://apps.who.int/food-additives-contaminants-jecfa-database/chemical.aspx?chemID=298
EUROPEAN DIRECTORATE FOR THE QUALITY OF MEDICINE & HEALTHCARE COUNCIL OF EUROPE. Metals and alloys used in food contact materials and article : A practical guide for manufactures and regulators. 2013.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.