การศึกษาผลของตัวทำละลายในการสกัดสมุนไพรที่มีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรีย

ผู้แต่ง

  • จารวี สุขประเสริฐ สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
  • สุบงกช ทรัพย์แตง สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ

DOI:

https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.183

คำสำคัญ:

การยับยั้งแบคทีเรีย, การสกัดสมุนไพร, ตัวทำละลาย

บทคัดย่อ

การสกัดสมุนไพรจำนวน 7 ชนิด คือ กระเจี๊ยบแดง กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง กำลังหนุมาน เจตมูลเพลิงแดง ทับทิม และฝาง โดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ น้ำ และ 95% เอทธานอล มาศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ คือ Staphylococcus aureus (S. aureus), Escherichia coli (E. coli) และ Pseudomonas aeruginosa (P. aeruginosa) ซึ่งได้ทำการทดสอบฤทธิการยับยั้งแบคทีเรียโดยวิธี agar well diffusion พบว่าสมุนไพรที่สกัดด้วย 95% เอทธานอล ให้ผลการยับยั้งจุลินทรีย์ได้ดีกว่าน้ำ ยกเว้นกระเจี๊ยบแดงที่สกัดด้วยน้ำให้ผลการยับยั้งที่ดีกว่า โดยเฉพาะสารสกัดเอทธานอล ของทับทิมสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่นำมาทดสอบได้ดีที่สุด โดยมีขนาดบริเวณใสในการยับยั้ง E. coli, P. aeruginosa และ S. aureus เท่ากับ 13.02 ± 0.87, 8.14 ± 0.80 และ 20.90 ± 0.05 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อนำมาหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อ (MIC) พบว่ามีค่า 32, 32 และ 8 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 128, 64 และ 32 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ

References

กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี. 2553, “อันตรายจากแบคทีเรียจำเพาะที่ไม่ควรพบในผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ในการควบคุมคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเภสัชภัณฑ์, จาตุรงค์ ประเทืองเดชกุล (บรรณาธิการ), พิมพ์ครั้งที่ 1 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, หน้า 79-81.

ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์. เชื้อแบคทีเรีย E. coli รอบรู้วิทย์. 2554. [ออนไลน์]. [อ้างถึงวันที่ 24 เมษายน 2555]. เข้าถึงได้จาก http://magazine.ipst.ac.th/index.php/new-magazine/.../38-new3magazine?

ธีรพรรณ ภูมิภมร และอุไม บิลหมัด. การดื้อยาของเชื้อ Staphylococcus aureus ในเนื้อสุกรจากโรงฆ่าสัตว์ในภาคใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 วารสารสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ, 2011, 6 (1), 1-8.

นิติพงษ์ ศริริวงศ์ และเอกชัย ชูเกียรติโรจน์. การดื้อยาปฏิชีวนะของ Staphylococcus aureus และแนวทางการควบคุม. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2552, 27 (4), 347-358.

รัตนา อินทรานุปกรณ์, การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร, 2550. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 83-85.

วิสาตรี คงเจริญสุนทร จินตนา จิรถาวร และวิภาพร ใจเกื้อ การศึกษาผลของสารสกัดจากสมุนไพรต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของ แบคทีเรียสายพันธุ์ดื้อยาโดยวิธี Flow cytometry. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 2550, 12 (2), 7-9.

Jeeraporn, S., Nattapon K., Weerawan, N. and Monthon L. “Anti- Candida albicans activity of active substances derived from Morinda citrifolia fruit”. Journal of Medical Technology and Physical Therapy. 2011, 23 (1), 8-18.

Parekh J., Jadeja D. and Chanda S. “Efficacy of Aqueous and Methanol Extracts of Some Medicinal Plants for Potential Antibacterial Activity" Turk. J. Biol., 2005, 29, 203-210.

Vudhivanich, S. and S. Supanuntorn. 2002. “Potential of Thai herbal extract for growth inhibition of Ralstonia solanacearum, the causal agent of bacterial wilt of tomato. the first International Conference on Tropical and Subtropical Plant Diseases. November 5-8, 2002. Chiang Mai, Thailand. P.161.

Minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) of test herbal extract for microorganisms

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

How to Cite

สุขประเสริฐ จ., & ทรัพย์แตง ส. (2022). การศึกษาผลของตัวทำละลายในการสกัดสมุนไพรที่มีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรีย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 1(1), 99–109. https://doi.org/10.60136/bas.v1.2012.183